ค้นหาข่าว

ลงพื้นที่สำรวจซ้ำ เข้าใจถึงความต้องการของผู้ประสบภัย กระจ่างในแนวทางการช่วยเหลือ

20190313-072-bydatchanee resize

 

1
ก้ามข้ามเส้นทางอันยากลำบาก สู่ศูนย์พักพิงผู้ประสบภัย

 

เพียงฝนตกลงมา ถนนลูกรังก็เต็มไปด้วยโคลนและหลุมบ่อ จึงทำให้รถสะเทือนตลอดการเดินทาง ตัวของผู้โดยสารโคลงเคลงไปตามแรงสะเทือนของรถ ซ้ายทีขวาทีไม่หยุดหย่อนโชคดีที่สะพานหลายแห่งที่อยู่ในระหว่างเส้นทางจากแขวงอัตตะปือสู่เมืองสะหนามไซ ระยะทางประมาณ 30 กว่ากิโลเมตร ซึ่งพบว่าชำรุดทรุดโทรมและอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ จนทำให้น้ำท่วมไม่สามารถข้ามไปได้ในเมื่อครั้งเดินทางมาสำรวจภัยเมื่อสิงหาคมปีที่แล้วนั้น ปัจจุบันถูกซ่อมแซมเป็นสะพานเหล็กที่แข็งแรงและมั่นคง ทำให้รู้สึกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

 

20190313-120-bydatchanee resize

 สะพานหลายแห่งซึ่งเดิมทีชำรุดทรุดโทรมและอยู่ในพื้นที่มต่ำ

จนทำให้น้ำท่วมไม่สามารถข้ามไปได้ ปัจจุบันถูกซ่อมแซมเป็นสะพานเหล็กที่แข็งแรงและมั่นคง ทำให้รู้สึกปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 

หลังจากนั่งรถยนต์เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ในที่สุดจิตอาฉือจี้ก็เดินทางถึงเมืองสะหนามไซ ซึ่งเมื่อครั้งเกิดเหตุเขื่อนแตกแรกเริ่มนั้น ถูกจัดตั้งเป็นศูนย์พักพิงผู้ประสบภัย ในเวลานั้น ไม่ว่าจะเป็นที่ทำการเมืองสะหนามไซ โรงเรียนมัธยมที่อยู่บริเวณใกล้เคียง หรือแม้แต่ข้างถนน ล้วนเต็มไปด้วยเต็นท์ผู้ประสบภัยเรียงรายเป็นแถวยาว ปัจจุบันได้รื้อถอนและกลับสู่สภาพปกติแล้ว
จากการรายงานของจิตอาสาฉือจี้ที่ลงพื้นที่ล่วงหน้าทราบว่า จากเหตุเขื่อนแตกทำให้มีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 19 หมู่บ้าน มี 13 หมู่บ้านได้รับความเสียหายบางส่วน ซึ่งปัจจุบันผู้ประสบภัยกลับเข้าสู่พื้นที่ ฟื้นฟูบ้านเรือนตนเองแล้ว และอีก 6 หมู่บ้านได้รับความเสียหายหนัก จนไม่สามารถฟื้นฟูได้ดังเดิม ภาครัฐจึงได้สร้างศูนย์พักพิงชั่วคราวในรูปแบบบ้านน็อคดาวน์ให้ผู้ประสบภัย 4 แห่ง

20190313-001-bydatchanee resize

ปัจจุบันผู้ประสบภัยได้ย้ายไปอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวแล้ว

ที่ทำการเมืองสะหนามไซ โรงเรียนมัธยมที่อยู่บริเวณใกล้เคียง จึงกลับสู่สภาพปกติดังเดิม

 

และยังทราบอีกว่า จากที่ทำการเมืองสะหนามไซในรัศมีประมาณ 1 กิโลเมตร มีศูนย์พักพิงชั่วคราว 2 แห่ง ได้แก่ 1.ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านหาดยาว รองรับผู้ประสบภัยจากหมู่บ้านบ้านใหม่ จำนวน 133 หมู่บ้าน 593 คน 2.ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านดงบาก รองรับผู้ประสบภัยจาก หมู่บ้านท่าหินและหมู่บ้านคมคุกอง จำนวน 341 ครอบครัว 1,347 คน 

 

20190313-012-bydatchanee resize

จิตอาสาฉือจี้ไม่เพียงหอบนำความรักอันยิ่งใหญ่ไปเยี่ยมเยียนผู้ประสบภัย หากยังเตรียมลูกอม ขนมหลากหลายชนิดไปให้เด็กๆอีกด้วย 

2
ลงพื้นที่สำรวจทีละบ้าน เข้าใจถึงความต้องการผู้ประสบภัยมากยิ่งขึ้น

ก่อนเข้าสู่ศูนย์พักพิงชั่วคราว จิตอาสาฉือจี้ไม่เพียงหอบนำความรักอันยิ่งใหญ่ไปเยี่ยมเยียนผู้ประสบภัย หากยังเตรียมลูกอม ขนมหลากหลายชนิดไปให้เด็กๆอีกด้วย ดังนั้น เมื่อเห็นจิตอาสาฉือจี้ ผู้ซึ่งสวมเครื่องแบบเสื้อน้ำเงิน-กางเกงขาว สองมือเต็มไปด้วยขนมนมเนยต่างๆ เพียงแค่เอ่ยปากทักทายว่า “สะบายดี” เด็กๆก็เดินเข้ามาห้อมล้อมจิตอาสา เมื่อได้รับขนมแล้ว ใบหน้าของพวกเขา ต่างก็เต็มไปด้วยรอยยิ้มแห่งความสุขและไร้เดียงสา 

 

20190313-085-bydatchanee resize

อาสาฉือจี้ทำความรู้จักกับเด็กๆด้วยการแจกขนมที่พวกเขาชื่นชอบ

จิตอาสาฉือจี้เดินเข้าไปในศูนย์พักพิงชั่วคราว สำรวจความเป็นอยู่ผู้ประสบภัยทีละบ้าน เพื่อเข้าใจถึงความต้องการความช่วยเหลือของพวกเขามากยิ่งขึ้น จากการสอบถาม “หล่า” ซึ่งเพิ่งคลอดลูกเพียงไม่กี่วันทำให้ทราบว่า สมาชิกในครอบครัวของเธอมีทั้งหมด 4 คน ย้ายมาอยู่ศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านหาดยาวประมาณ 4-5 เดือนแล้ว แม้ว่าบ้านน็อคดาวน์ซึ่งสร้างด้วยวัสดุที่เป็นเหล็ก ทำให้ตอนกลางวันรู้สึกร้อนอบอ้าว ยากที่จะอยู่อาศัยได้ แต่ว่าก็ยังดีกว่าการอาศัยอยู่ในเต็นท์ผู้ประสบภัยเช่นในตอนแรก หล่าแบ่งปันว่า “มันดีกว่า เพราะมันไม่คับไม่แคบ เป็นบ้านใครบ้านมัน ไม่เหมือนตอนอยู่เต็นท์ซึ่งมันถี่เรียงติดกันไปเลย ถุงขยะใช้แล้วทิ้งลงพื้นเปรอะเปื้อนหมด พอมาอยู่ที่นี่เราก็พอจะรักษาความสะอาดได้บ้างค่ะ”

20190313-064-bydatchanee resize

จิตอาสาฉือจี้เดินเข้าไปในศูนย์พักพิงชั่วคราว สำรวจความเป็นอยู่ผู้ประสบภัยทีละบ้าน

นอกจากนี้ยังมีเงินช่วยเหลือที่ภาครัฐมอบให้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน หล่าแบ่งปันต่ออีกว่า “รัฐให้เงินช่วยเหลือรายวัน วันละ 5,000 กีบต่อคน (20 บาท) และเงินช่วยเหลือรายเดือน เดือนละ 1 แสนกีบต่อคน (400 บาท) พอถึงสิ้นเดือน รัฐก็จะให้ทั้งเงินช่วยเหลือรายวันและเงินช่วยเหลือรายเดือนทีเดียวเลย รวมๆแล้วครอบครัวหนูได้ 3 คน (คนเล็กเพิ่งคลอดยังไม่ได้รับ) ก็ได้ 750,000 กีบ ถ้าตีเป็นเงินบาทก็ประมาณ 3,000 บาทค่ะ”
เพราะยังไม่มีงานทำ เงินช่วยเหลือที่ได้รับจากภาครัฐจึงเป็นรายได้ทางเดียวที่ครอบครัวเธอมีอยู่ ดังนั้น พวกเขาจึงต้องใช้จ่ายอย่างประหยัด 

 

20190313-035-bydatchanee resize

จิตอาสาฉือจี้พูดคุยสอบถามคุณหล่า เพื่อเข้าใจถึงสภาพความเป็นอยู่ของเธอมากยิ่งขึ้น

3
เยี่ยมเยียนดูแลอย่างชิดใกล้ ซาบซึ้งถึงหัวใจผู้ประสบภัย

 

ปัจจุบันทางภาครัฐกำลังจะสร้างบ้านพักถาวรให้ผู้ประสบภัย ซึ่งได้ระบุตำแหน่งพื้นที่ที่จะสร้างเรียบร้อยแล้ว ทว่าก็ยังไม่ทราบเวลาแน่ชัดว่าจะสร้างเสร็จ หรือจะเป็นรูปธรรมเมื่อใด ทำให้ผู้ประสบภัยอาจจะต้องอาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงชั่วคราวอีกหลายปี

 

20190313-066-bydatchanee resize

 ปลูกพืชผักสวนครัวในศูนย์พักพิง เพื่อลดค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อผัก

 

ในระหว่างสำรวจ จึงได้เห็นถึงการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยใหม่ของผู้ประสบภัยอย่างๆหลาย เช่น คนที่ยังมีเรี่ยวแรงดีก็เข้าไปตัดไม้ในป่า เพื่อนำมาต่อเติมกับบ้านพักชั่วคราวของตน บางคนก็ปลูกพืชผักสวนครัวในศูนย์พักพิง เพื่อลดค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อผัก บางครอบครัวที่สถานะทางการเงินค่อนข้างดี ก็ใช้พื้นที่บ้านของตนเปิดร้านขายของชำ สร้างรายได้อีกหนึ่งทาง ผู้สูงอายุบางคนนำดอกฝ้ายมาทำเป็นด้าย สำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อประหยัดและลดค่าใช้จ่าย บางคนก็นำวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น นำไม้ไผ่มาสานเป็นไซดักปลาหรือสานแหจับปลา  บางครอบครัวที่มีรถไถนาเดินตาม ก็ใช้เป็นพาหนะเดินทางไปยังลำน้ำ ที่อยู่ห่างจากศูนย์พักพิงประมาณ 10 กว่ากิโลเมตร เพื่อหาปลาและของป่า ซึ่งไม่เพียงเป็นอาหารเลี้ยงปากท้องคนในครอบครัว หากหาได้มากยังสามารถจำหน่ายแก่ผู้ประสบภัยที่อาศัยในศูนย์พักพิง สร้างรายได้ได้อีกทางหนึ่งอีกด้วย เป็นต้น 

 

20190313-061-bydatchanee resize

บางครอบครัวที่มีรถไถนาเดินตาม ก็ใช้เป็นพาหนะเดินทางไปยังลำน้ำ เพื่อหาปลาและของป่า ซึ่งไม่เพียงเป็นอาหารเลี้ยงปากท้องคนในครอบครัว

หากหาได้มากยังสามารถจำหน่ายแก่ผู้ประสบภัยที่อาศัยในศูนย์พักพิง สร้างรายได้ได้อีกทางหนึ่งอีกด้วย

 

เมื่อเห็นคุณตาเต็มไปด้วยความกังวลใจ จิตอาสาฉือจี้ คุณจุฬารัตน์ สุโธ ก็รู้สึกเจ็บปวดใจไปด้วย จึงไม่ลังเลนำยาหม่องซึ่งมักจะพกติดตัวเวลาไปทำงานนอกพื้นที่มอบให้คุณตา พร้อมทั้งสอนคุณตาทำกัวซาและกายภาพบำบัดฟื้นฟูร่างกาย คุณจุฬีรัตน์ แบ่งปันว่า “อาการของคุณตาคือเขาจะไม่ปวด แต่เขาไม่มีแรง เราก็สอนให้เขาทำกัวซา เห็นมั้ยพอขูดแล้ว ผิวหนังมันจะแดงขึ้น แสดงว่าเขาเริ่มดีขึ้นละ ซึ่งวิธีการนี้คุณตาสามารถนำไปดูแลตัวเองได้ค่ะ” 

 

20190313-047-bydatchanee resize

จิตอาสาฉือจี้ คุณจุฬารัตน์ สุโธ สอนวีธีทำกัวซาและกายภาพบำบัดแก่คุณตาไต

 

จิตอาสาฉือจี้ดูแลอย่างใกล้ชิดเช่นนี้ ทำให้คุณตารู้สึกซาบซึ้งใจจนกลั้นน้ำตาไม่ไหว
คุณตาไต : ดีใจ
จิตอาสา : ทำไมถึงดีใจคะ
คุณตาไต : เห็นลูกเห็นเต้ามา....ก็ดีใจ
คุณตาไตนำคำแนะนำของจิตอาสาลองทำกัวซาและทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเองอย่างกระตือรือร้น และรับปากว่าจะหมั่นทำเรื่อยๆต่อไป เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายของตนเองให้ดียิ่งขึ้น 

 

20190313-050-bydatchanee resize

จิตอาสาฉือจี้ คุณจุฬารัตน์ สุโธ สอนวีธีทำกัวซาและกายภาพบำบัดแก่คุณตาไต

4
ให้กำลังใจผู้ประสบภัย ด้วยภาษามือ “ครอบครัวเดียวกัน”

นอกจากสอบถามความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัยแล้ว จิตอาสายังพูดคุยสอบถามกับผู้ใหญ่บ้านศูนย์พักพิงชั่วคราว ซึ่งทำให้ทราบว่า ปัญหาหลักของผู้ประสบภัยก็คือ การขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภค คุณสมจันทน์ ผู้ใหญ่บ้านศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านดงบาก แบ่งปันว่า “ประชาชนที่อาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงแห่งนี้มีจำนวนมาก จึงอยากขอเสนอหลายๆภาคส่วน ให้มีขุดเจาะน้ำบาดาลที่ใหญ่สมควร เพื่อสามารถบริการน้ำให้ประชาชนดื่มได้ครับ” 

 

20190313-118-bydatchanee resize

คุณสมจันทน์ ผู้ใหญ่บ้านศูนย์พักพิงชั่วคราวบ้านดงบาก แบ่งปันว่า “ประชาชนที่อาศัยอยู่ในศูนย์พักพิงแห่งนี้มีจำนวนมาก

จึงอยากขอเสนอหลายๆภาคส่วน ให้มีขุดเจาะน้ำบาดาลที่ใหญ่สมควร เพื่อสามารถบริการน้ำให้ประชาชนดื่มได้ครับ

 

ก่อนเดินทางกลับ จิตอาสายังสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีกับเด็กๆด้วยภาษามือประกอบเพลง “ครอบครัวเดียวกัน” และเชิญจิตอาสาท้องถิ่นนำเด็กๆร่วมเต้น “บัดสลบ” อันเป็นวัฒนธรรมเต้นรำหมู่ของ สปป.ลาว อีกด้วย คุณวิไล ตรีโรจน์พร นักธุรกิจชาวลาว แบ่งปันความรู้สึกว่า “เหตุเขื่อนแตกที่ผ่านมา ทำให้พวกเขารู้สึกเศร้าเสียใจ ที่ต้องพบเจอเรื่องร้ายๆครั้งใหญ่ในชีวิตเขา เพื่อให้เขาลืมความทรงจำที่ไม่ดีเหล่านี้ และรู้ว่ายังมีคนใจดีเข้ามาหาพวกเขา  เราจึงนำขนมมาแจก พาเขาเต้นสนุกสนานค่ะ” 

 

20190313-100-bydatchanee resize

ก่อนเดินทางกลับ จิตอาสายังสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีกับเด็กๆด้วยภาษามือประกอบเพลง “ครอบครัวเดียวกัน”

คุณจารุภา เตชะศิรินุกูล ซึ่งเดินทางมาช่วยภัยที่ลาวเป็นครั้งที่สองแล้ว ร่วมแบ่งปันถึงสิ่งที่ตนได้รับว่า “ครั้งนี้ได้เรียนรู้ว่า การที่เราให้การช่วยเหลือเขาอย่างต่อเนื่อง เขาได้รับผลตรงนี้ เขาก็มีความสุข เราก็มีความสุขค่ะ”
หลังจากการสำรวจซ้ำครั้งนี้ 22 มีนาคม จิตอาสาฉือจี้จะเดินทางไปรายงานท่านธรรมาจารย์ที่ไต้หวัน เพื่อขอคำชี้แนะและทิศทางการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่อไป

 

เรื่อง ดรรชนี สุระเทพ  ภาพ ดรรชนี สุระเทพ