ค้นหาข่าว

มอบอุปกรณ์ป้องกันโควิด สืบสานวัฏจักรแห่งความดี

 

 

20220615cover2

ฉือจี้มอบชุดป้องกันการติดเชื้อ (PPE,CPE) หน้ากาก N95 ชาสมุนไพรจิ้งซือและผงธัญพืชจิ้งซือ เพื่อสนับสนุนการบริการรับส่งผู้ป่วยโควิด สืบสานวัฏจักรแห่งความดี

 

คว้าโอกาสทำดี ในวิกฤติโควิด

 

“ตอนนั้นพอคนรู้ว่าเป็นโควิดกลัวยิ่งกว่าผี เดินไปไหนก็มีแต่คนกลัว”

 

ช่วงแรกเริ่มของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย เวลานั้นไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยโควิด หรือแม้แต่ผู้ที่ได้รับการรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว มักจะถูกตีตรา ถูกรังเกียจเดียดฉันท์จากสังคม คุณพจนารถ แย้มยิ้ม ผู้ขับแท็กซี่ ซึ่งเคยติดเชื้อโควิดประมาณเดือนมีนาคม พ.ศ.2563 เข้าใจความรู้สึกนี้เป็นอย่างดี


ใช้ชีวิตลำบาก การเดินทางก็ลำบากไม่ต่างกัน สำหรับผู้หายป่วยโควิด หากไม่มีรถส่วนตัว หรือไม่มีญาติไปรับส่ง เมื่อถึงเวลาต้องออกจากโรงพยาบาล ก็ต้องต่อแถวยาว รอคิวขึ้นรถสาธารณะกลับบ้านเป็นเวลานานเลยทีเดียว ดังนั้น เมื่อได้รับการประสานงานจากโรงพยาบาลสนาม ให้ช่วยบริการรับส่งผู้หายป่วยโควิด คุณพจนารถจึงตอบตกลงทันที โดยเริ่มให้บริการรับส่งผู้หายป่วยโควิดกลับบ้าน ประมาณเดือนพฤษภาคม 2563 ต่อมาภายหลังยังชวนเพื่อนๆผู้ขับแท็กซี่มาร่วมให้บริการอีกด้วย โดยมีบุคลากรทางการแพทย์ให้ความรู้การป้องกันโรคโควิด สร้างความมั่นใจให้ในขณะให้บริการ



20220602-070-bydatchanee

คุณพจนารถ แย้มยิ้ม ผู้ขับแท็กซี่ อาศัยวิกฤตโควิด สร้างโอกาสทำความดี ให้บริการรับส่งผู้ป่วยโควิด

 

เบอร์โทรและคิวอาร์โค้ดไลน์ ID ของคุณพจนารถ ถูกติดแปะประชาสัมพันธ์ในโรงพยาบาลหลายแห่ง หรือเพียงพิมพ์คำว่า “แท็กซี่รับส่งผู้ป่วยโควิด” ค้นหาในอินเตอร์เน็ต ก็จะพบเห็นเรื่องราวการให้บริการผู้ป่วยโควิดของคุณพจนารจในสื่อออนไลน์ต่างๆ ทำให้เป็นที่รู้จักและมีผู้ติดต่อมาใช้บริการมากมาย ซึ่งคุณพจนารถได้จัดสรรงานให้กับผู้ขับแท็กซี่ในทีมอีกประมาณ 15-20 คัน โดยปกติให้บริการรับส่งผู้หายป่วยโควิดกลับบ้านทั้งในกรุงเทพและปริมณฑล หรือบางครั้งรับส่งไกลถึงต่างจังหวัด ระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร แต่พวกเขาล้วนยินดี โดยค่าโดยสามารถเลือกจ่ายตามมิเตอร์ หรือเหมาจ่ายตามตกลง

 

เปลี่ยน “ความลำบาก” เป็น “ความปีติใจ”

ต่อมา พ.ศ. 2564 การแพร่ระบาดของโรคโควิดสายพันธุ์เดลต้า ทำให้ยอดผู้ป่วยเพิ่มสูงอย่างต่อเนื่อง รถพยาบาลไม่เพียงพอต่อการให้บริการผู้ป่วย คุณพจนารถและเพื่อนๆผู้ขับแท็กซี่ในทีม จึงพร้อมใจยกระดับการให้บริการ เปลี่ยนรถแท็กซี่ธรรมดา ให้กลายเป็น “Ambulance Taxi” รับส่งผู้ป่วยโควิดและผู้หายป่วยโควิดโดยเฉพาะ ทั้งนี้เพื่อป้องกันตนเอง พวกเขาได้ติดตั้งฉากกั้นห้องผู้โดยสาร ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค สวมชุดป้องกันการติดเชื้อเต็มรูปแบบ ทั้งชุด PPE หน้ากาก N95 เฟซชิลด์ ถุงมือ และพกพาแอลกอฮอล์ไปตลอดการเดินทาง เพื่อใช้ฆ่าเชื้อทำความสะอาดหลังให้บริการรับส่ง ทุกคนล้วนเคร่งครัดในมาตรการป้องกันโรค ไม่ต่างจากบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า

 

“รู้สึกยุ่งยาก รู้สึกอึดอัดไปหมดเลยครับ พอกั้นฉากปุ๊บเราต้องนั่งตรงดิ่งเลย มันก็คับ ขับยากนิดนึง ไหนจะต้องใส่ชุด PPE อีก มันก็ลำบากไปหมดเลยครับ” คุณพจนารจ แบ่งปันความรู้สึกหลังขับรถรับส่งผู้ป่วยโควิดในช่วงแรกๆ

 

20220602-068-bydatchanee

เปลี่ยน “ความลำบาก” เป็น “ความปีติ” คุณพจนารถ ผู้ขับแท็กซี่ ให้บริการรับส่งผู้ป่วยโควิดด้วยความยินดี

 

นานวันผ่านไป คุณพจนารจก็ค่อยๆคุ้นชินกับความลำบาก จนกลายเป็นเรื่องปกติไปเสียแล้ว อีกทั้งร้อยคำขอบคุณ พันคำอวยพรจากผู้ป่วยโควิดที่ใช้บริการ ได้ชะโลมจิตใจของเขา ให้ปฏิบัติหน้าที่อันเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดด้วยความปีติ ที่สำคัญคือ ยังทำให้เขาค่อยๆเรียนรู้การเป็นผู้ให้ และเปลี่ยนคนๆหนึ่ง ซึ่งเคยจดจ่อกับตัวเลขมิเตอร์ ว่าเป็นรายได้ที่ต้องได้รับ แต่ตอนนี้เขากลับมองว่ามันกลายเป็นหน้าที่ ที่เขาทำด้วยความยินดี

 

คุณพจนารถ แบ่งปันความปีติใจที่ได้จากการบริการรับส่งผู้ป่วยโควิดว่า “บางคนที่ไม่มีจริงๆโทรมาหาผม ผมก็วิ่งรับส่งฟรี ก็เหมือนทำด้วยใจ ใครที่ให้ค่าโดยสารมาเราก็โอเค ใครไม่ให้เราก็ไม่ได้เรียกร้อง ไม่เป็นไร ขอให้เขารักษาตัวให้หาย กลับบ้านแล้วก็แล้วกันครับ ”

 

ร่วมสืบสานวัฏจักรแห่งความดี

ระยะเวลา 2 ปี ที่คุณพจนารถให้บริการรับส่งผู้ป่วยโควิด มีผู้ได้รับบริการมากกว่า 3,000 คน ซึ่งสามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วย ลดการแพร่เชื้อระหว่างเดินทาง และแบ่งเบางานรับส่งผู้ป่วยของโรงพยาบาล โดยทางมีโรงพยาบาลและผู้ใจบุญให้การสนับสนุนชุด PPE หน้ากาก N95 แอลกอฮอล์ และน้ำยาทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรค ทว่า โรคระบาดที่กินเวลายาวนาน ทำให้อุปกรณ์ป้องการติดเชื้อเหล่านี้ ค่อยๆร่อยหรอลง


“ลุงคนขับแท็กซี่คนนึง เขาอยู่สมุทรปราการ แกมีอยู่ชุดสุดท้าย แต่แกก็ไม่ยอมบอกผมนะ แกกลัวบอกผม แล้วพอรู้ว่าชุด PPE หมดแล้ว แกจะไม่ได้วิ่งรับส่งผู้ป่วย” คุณพจนารจ แบ่งปัน

 

เมื่อทราบถึงความต้องการของกลุ่มผู้ขับแท็กซี่ ซึ่งใจเปี่ยมด้วยจิตอาสาเหล่านี้แล้ว ฉือจี้จึงมอบชุด PPE หน้ากาก N95 ให้กับคุณพจนารจและเพื่อนผู้ขับแท็กซี่ในทีมรับส่งผู้ป่วยโควิด เพื่อสนับสนุนการทำงาน ร่วมสืบสานวัฏจักรแห่งความดีงาม จรรโลงสังคมให้น่าอยู่ต่อไป อีกทั้งยังมอบชามุนไพรจิ้งซือ และผงธัญพืชจิ้งซือ หวังให้พวกเขารับประทานเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องการติดเชื้อเชื้อโควิดอีกด้วย

 

คุณจางฮุ่ยเจิน จิตอาสาฉือจี้ แบ่งปันว่า “สิ่งเหล่านี้ส่งมาจากไต้หวัน เพื่อนำมาช่วยคนไทย ทั้งคนทั่วไป โรงพยาบาล หรือคนที่ตั้งทีมจิตอาสาดีๆ ที่ใจเต็มไปด้วยความรัก”

 

“ฉือจี้ก็ยื่นมือมาให้เรา มาสานต่อ มีชุด PPE มาให้ มีหน้ากากมาให้ ถ้าถามว่าพวกผมมีกำลังซื้อไหม ก็พอมีกำลังซื้อ แต่คงซื้อได้ไม่เยอะ สู้ได้ไม่นาน เพราะว่าชุดนึง 300-400 บาท ก็แพงอยู่นะครับ” คุณพจนารจ แบ่งปันและกล่าวขอบคุณ

 

20220602-035-bydatchanee
ปัจจุบัน คุณพจนารถยังคงให้บริการรับส่งผู้ป่วยโควิด หากมีผู้ติดต่อใช้บริการ คุณพจนารถก็พร้อมติดตั้งฉากกั้น และเดินทางไปรับส่งผู้ป่วยภายใน 1 ชั่วโมง

 

เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา ยอดผู้ติดเชื้อโควิดรายวันในประเทศไทยลดลง ยอดผู้เรียกใช้บริการแท็กซี่รับส่งผู้ป่วยก็ลดเหลือน้อยมาก ผู้ขับแท็กซี่ในทีมหลายคนทยอยถอดฉากกั้นรถ และกลับไปรับผู้โดยสารทั่วไปตามเดิม แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด และการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคฝีดาษวานรอย่างใกล้ชิด คุณพจนารจและเพื่อนผู้ขับแท็กซี่ในทีม ยังคงเตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา หากเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคขึ้นอีก พวกเขาก็พร้อมนำฉากกั้นมาติดตั้ง สวมใส่ชุดป้องกันการติดเชื้อเต็มรูปแบบ และเดินทางไปรับผู้ป่วยภายใน 1 ชั่วโมง

 

คุณพจนารจ ยังกล่าวทิ้งท้ายว่า “พวกผมก็ยังให้บริการกันอยู่ครับ ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องเขิน ไม่ต้องอาย โทรบอกพวกผมดีกว่า พวกผมมีความรู้ ความสามารถ ที่จะนำพาพี่ๆไปโรงพยาบาลได้ครับ”

 

taxi for covid patients contact
หากต้องการใช้บริการรับส่งผู้ป่วยโควิด สามารถติดต่อคุณพจนารถ ได้ตามข้อมูลที่ภาพด้านบน

 

 


                  เรื่อง  ดรรชนี สุระเทพ      ภาพ  ดรรชนี สุระเทพ, บุษรา สมบัติ

 

 

ฉือจี้สนับสนุนเตียง 50 ชุด จัดตั้งจุดพักคอยผู้ป่วยโควิด

20210804-new

สถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ส่งผลให้ทั้งกำลังคนและทรัพยากรต่างๆ เริ่มไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย รวมถึง "จุดพักคอยผู้ป่วยโควิด(สีเขียว) ตำบลบ้านพลับ" จึงได้ติดต่อมายังมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย เพื่อขอความอนุเคราะห์สนับสนุนเตียงและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องจำนวน 50 ชุด ร่วมกันดูแลผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ให้พักรักษาตัวได้อย่างไร้กังวลและป้องกันการแพร่เชื้อโรค สู่คนในครอบครัวและชุมชนในวงกว้าง


 

สถานการณ์ในพื้นที่น่าเป็นห่วง อบต.ขอความอนุเคราะห์จากฉือจี้

จิตอาสาชุมชน คุณพิมพา ปิจดี บอกเล่าถึงสถานการณ์การระบาดของพื้นที่ในปัจจุบันว่า “เนื่องจากพื้นที่อำเภอบางปะอินนั้นเป็นโรงงานอุตสาหกรรม ถ้าโรงงานยังเปิด ก็จะมีคนไปทำงาน แล้วก็ติดจากที่ทำงานกลับมาติดที่บ้าน นำไปสู่การแพร่กระจายให้คนในครอบครัวและชุมชนต่อไปได้ค่ะ”

เนื่องจากพื้นที่ ตำบลบ้านพลับ อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีประชากรอยู่ประมาณ 2,000 คน แต่จนถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2564 มีผู้ที่ติดเชื้อแล้วทั้งหมดกว่า 70 คน อัตราส่วนดังกล่าวทำให้สถานพยาบาลในพื้นที่ไม่สามารถรองรับไหว และยังมีความเสี่ยงที่จะแพร่กระจายเชื้อสู่ชุมชน ดังนั้นทาง อบต.บ้านพลับจึงได้ตัดสินใจจัดตั้ง “จุดพักคอยผู้ป่วยโควิด(สีเขียว)” ขึ้น ณ โรงเรียนบ้านพลับ (วิสุทธิวังราช)

นับตั้งแต่เกิดสถานการณ์การระบาดระลอกเดือนเมษายน สถานศึกษาส่วนใหญ่ได้อาศัยการเรียนการสอนออนไลน์เป็นหลัก รวมถึงโรงเรียนบ้านพลับ โดยนางสาวปทุม มหาปราบ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านพลับ ได้บอกเล่าถึงมาตรการในการคืนพื้นที่หลังสถานการณ์คลี่คลาย “การคืนพื้นที่จะมีเจ้าหน้าที่มาพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อให้ 3 ครั้ง ทิ้งไว้ครั้งละ 3 วัน แล้วก็มาทำซ้ำๆ ในครั้งสุดท้ายก็จะรอจนกว่าจะครบ 7 วัน จึงจะอนุญาตให้นักเรียนมาเรียนได้ เรามั่นใจในมาตรการนี้ ดังนั้นทางคณะกรรมการศึกษาของโรงเรียนจึงได้ประชุมและมีมติอนุญาตให้ใช้อาคาร สปช. เป็นจุดพักคอยเพื่อช่วยเหลือชุมชนได้ค่ะ"

002

จุดพักคอยผู้ป่วยโควิด ตำบลบ้านพลับ สามารถรองรับผู้ป่วยได้ 50 ราย แบ่งเป็นชาย 20 ราย และหญิง 30 ราย

 

003

ฉือจี้สนับสนุนเตียง ที่นอน หมอน ผ้าห่ม มุ้งและลิ้นชักพลาสติก รวม 50 ชุด ให้กับจุดพักคอยตำบลบ้านพลับ

 

ร่วมแรงร่วมใจ ดูแลผู้ป่วยโควิด
เจ้าหน้าที่นำสังกะสีแผ่นใหญ่ มากั้นแยกพื้นที่จุดพักคอยออกจากส่วนอื่นๆ ของโรงเรียน ด้วยความร่วมแรงร่วมใจกันของทุกคนผู้เกี่ยวข้อง ภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน ทำให้อาคารของโรงเรียน ได้กลายเป็น “จุดพักคอยผู้ป่วยโควิด(สีเขียว)” ในที่สุด

ฉือจี้สนับสนุนเตียง ที่นอน หมอน ผ้าปู ผ้าห่ม ลิ้นชักพลาสติก มุ้งสปริง รวม 50 ชุด แม้มาตรการล็อกดาวน์และเคอร์ฟิว จะส่งผลให้การผลิตและจัดส่งสินค้าต่างๆ ค่อนข้างยากลำบากกว่าปกติ ทว่าด้วยความทุ่มเทพยายาม อุปกรณ์ทุกอย่างก็ทยอยถูกจัดส่งมาถึงจุดพักคอยอย่างทันเวลา

เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพี่น้องมุสลิม ดังนั้นเจ้าหน้าที่จึงต้องจัดโซนต่างๆ ทั้งห้องพัก จุดรับประทานอาหาร จุดพักดื่มกาแฟ จุดทำความสะอาดร่างกายก่อนการละหมาด รวมถึงห้องน้ำ แยกชายหญิงอย่างชัดเจน อีกทั้งการจัดการขยะของจุดพักคอย ก็ต้องแยกจากขยะอื่นๆ ของชุมชนอย่างละเอียดรอบคอบ พร้อมทั้งประสานงานสนับสนุนอาหารวันละสามมื้อ อาหารว่าง กาแฟ โกโก้และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไว้บริการอย่างครบครัน

 

001

นายวัชระ กระแสร์ฉัตร์ นายอำเภอบางปะอิน (คนแรกจากขวา) ตรวจเยี่ยมจุดพักคอยตำบลบ้านพลับ

 

004

 จิตอาสาฉือจี้มอบชุด PPE และหน้ากาก N95 ให้เจ้าหน้าที่ใช้ในจุดพักคอยตำบลบ้านพลับ

 

005

 ทุกภาคส่วนร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อดูแลผู้ป่วยโควิด

 

รวบรวมพลังทุกภาคส่วน ผ่านพ้นวิกฤติไปด้วยกัน
วันที่ 4 สิงหาคม ทั้งนายอำเภอ รองนายก อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต่างมาร่วมขอบคุณซึ่งกันและกัน หน่วยงานท้องถิ่นขอบพระคุณการอนุเคราะห์ของฉือจี้ นอกจากนี้ ฉือจี้ยังได้มอบชุด PPE และหน้ากาก N95 จำนวน 30 ชุด เพื่อใช้กับจุดพักคอยดังกล่าว

นายวัชระ กระแสร์ฉัตร์ นายอำเภอบางปะอิน กล่าวว่า “ต้องขอขอบคุณทุกท่านนะครับ ที่มาร่วมช่วยพี่น้องประชาชนของอำเภอบางปะอิน โดยเฉพาะตำบลบ้านพลับ เพราะในปัจจุบัน การดูแลช่วยเหลือชีวิตคนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดครับ”

คุณกวอโย่ว จิตอาสาฉือจี้ ขอบพระคุณผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน ที่ร่วมบริจาคสนับสนุนเตียงและอุปกรณ์ที่จำเป็นในจุดพักคอยบ้านพลับ “ตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม ทางเราได้รับการประสานจากทาง อบต. ว่า สถานการณ์ที่นี่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง หลายคนต้องพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน ทาง อบต. จึงคิดจะทำจุดพักคอยให้กับผู้ป่วยโควิด-19 แต่ยังขาดเตียงอยู่ ทางฉือจี้เราจึงช่วยเรี่ยไรบอกบุญ หวังว่าการช่วยเหลือครั้งนี้ จะทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแล และหายเป็นปกติสามารถกลับบ้านได้โดยเร็วค่ะ”

ในสถานการณ์ความทุกข์ยาก จิตอาสาฉือจี้เป็นสื่อกลางรวบรวมพลังแห่งความรัก มอบความช่วยเหลือที่ทันท่วงที เพื่อก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

 


   เรื่อง  บุษรา สมบัติ      ภาพ  บุษรา สมบัติ

 

โควิดกระทบความเป็นอยู่ ฉือจี้เคียงข้างผ่านวิกฤต

000

แม้การแพร่ระบาดของโรคโควิดจะทุเลาลง แต่เศรษฐกิจที่พึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลักของไทย ยังคงต้องอาศัยระยะเวลาในการฟื้นฟู ฉือจี้จึงร่วมมือกับหน่วยงานปกครองท้องถิ่นต่างๆ ดำเนินการมอบถุงยังชีพช่วยเหลือประชาชนผู้เดือดร้อนอย่างต่อเนื่อง


 

"ข้าวกล่องเติมรัก" เติมกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์

20210813 cover

 “เราสามารถทำอะไร เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ด่านหน้าได้บ้าง” เพื่อตอบคำถามในใจดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นมา ทุกวันจันทร์-ศุกร์ จิตอาสาฉือจี้จึงบริการส่งปิ่นโตมังสวิรัติ วันละ 300 ชุด บริการอาหารมื้อเที่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อเติมเต็มกำลังใจในช่วงเวลาวิกฤติ จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

 


 

เนื่องจากมาตรการจำกัดการรวมตัว จิตอาสาฉือจี้จึงร่วมกับผู้ประกอบการร้านอาหาร จัดทำปิ่นโตมังสวิรัติ จากนั้นจิตอาสาจึงค่อยแบ่งออกเป็นสามสาย เดินทางนำอาหารมื้อเที่ยง ไปส่งมอบถึงมือบุคลากรทางการแพทย์ ให้ทุกท่านได้รับประทานอาหารดีๆ มีคุณภาพ เพื่อให้มีพลังต่อสู้กับโควิดต่อไป

0001

 จิตอาสาฉือจี้ช่วยกันบรรจุข้าวกล่องมังสวิรัติ เพื่อนำไปส่งมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่โรงพยาบาล

 

0002

 จิตอาสาฉือจี้ช่วยกันขนข้าวกล่องมังสวิรัติ เพื่อนำไปส่งมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่โรงพยาบาล

 

0003

 วันที่ 29-30 กรกรฎาคม 2564 จิตอาสาฉือจี้นำข้าวกล่องมังสวิรัติ ไปส่งมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี

 

คุณอุบล แก้วชมภูนุช ตัวแทนรับมอบข้าวกล่อง โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า “เจ้าหน้าที่ทุกคนก็มีบทบาทในการดูแลรักษาผู้ป่วย การมาแจกข้าวกล่องแบบนี้ก็ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานได้เต็มที่ค่ะ”

จิตอาสาฉือจี้ คุณลิซ่า หวง กล่าวว่า “รู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนในการช่วยนำข้าวกล่องไปส่งให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อขอบคุณทุกท่าน ที่ทำงานเหน็ดเหนื่อยดูแลรักษาผู้ป่วย หวังว่าเมื่อได้รับประทานอาหารมังสวิรัติแล้ว จะเป็นอีกส่วนหนึ่งในการช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง และมีภูมิต้านทานโรคภัยที่ดีค่ะ”

จิตอาสาฉือจี้ คุณจางฮุ่ยหลัน บอกเล่าว่า มีบุคลากรทางการแพทย์หลายท่าน ที่หันมารับประทานมังสวิรัติแล้ว ดังนั้น ข้าวกล่องที่ฉือจี้นำไปมอบให้ในครั้งนี้ ทำให้หลายคนสามารถรับประทานอาหารเที่ยงได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องกังวลเรื่องอาหารการกิน ขณะเดียวกัน ก็ยังได้ชักชวนให้ผู้ป่วยทั่วไป หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยโควิดเอง หันมารับประทานมังสวิรัติ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ เพิ่มมากขึ้น เพื่อสุขภาพร่างกายของทุกคน

 

0004

 วันที่ 2 สิงหาคม 2564 จิตอาสาฉือจี้นำข้าวกล่องมังสวิรัติ ไปส่งมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ที่สถาบันบำราศนราดูร

 

 0005

ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน จิตอาสาฉือจี้นำข้าวกล่องมังสวิรัติวันละ 100 ชุดไปส่งมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ที่โรงพยาบาลราชวิถี

 

0006

ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน จิตอาสาฉือจี้นำข้าวกล่องมังสวิรัติวันละ 100 ชุดไปส่งมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

 

0007

ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน จิตอาสาฉือจี้นำข้าวกล่องมังสวิรัติวันละ 100 ชุดไปส่งมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ

 

เมื่อเผชิญกับวิกฤติโรคระบาด ที่เกิดจากสัตว์สู่คนในครั้งนี้ และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนจึงได้รณรงค์ให้หันมารับประทานมังสวิรัติเพิ่มมากขึ้น ให้ทุกคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก เคารพซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ ร่วมกันสร้างสรรค์ให้สังคมเต็มไปด้วยพลังแห่งความดี จึงจะสามารถก้าวข้ามวิกฤติโรคระบาดคร้งนี้ไปด้วยกันได้

 


 เรื่อง  บุษรา สมบัติ      ภาพ  จิตอาสาฉือจี้

 

 

“เราสามารถทำอะไร เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ด่านหน้าได้บ้าง” เพื่อตอบคำถามในใจดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นมา ทุกวันจันทร์-ศุกร์ จิตอาสาฉือจี้จึงบริการส่งปิ่นโตมังสวิรัติ วันละ 300 ชุด บริการอาหารมื้อเที่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อเติมเต็มกำลังใจในช่วงเวลาวิกฤติ จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19

 

เนื่องจากมาตรการจำกัดการรวมตัว จิตอาสาฉือจี้จึงร่วมกับผู้ประกอบการร้านอาหาร จัดทำปิ่นโตมังสวิรัติ จากนั้นจิตอาสาจึงค่อยแบ่งออกเป็นสามสาย เดินทางนำอาหารมื้อเที่ยง ไปส่งมอบถึงมือบุคลากรทางการแพทย์ ให้ทุกท่านได้รับประทานอาหารดีๆ มีคุณภาพ เพื่อให้มีพลังต่อสู้กับโควิดต่อไป

 

คุณอุบล แก้วชมภูนุช ตัวแทนรับมอบข้าวกล่อง โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า “เจ้าหน้าที่ทุกคนก็มีบทบาทในการดูแลรักษาผู้ป่วย การมาแจกข้าวกล่องแบบนี้ก็ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานได้เต็มที่ค่ะ”

 

จิตอาสาฉือจี้ คุณลิซ่า หวง กล่าวว่า “รู้สึกดีใจที่ได้มีส่วนในการช่วยนำข้าวกล่องไปส่งให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อขอบคุณทุกท่าน ที่ทำงานเหน็ดเหนื่อยดูแลรักษาผู้ป่วย หวังว่าเมื่อได้รับประทานอาหารมังสวิรัติแล้ว จะเป็นอีกส่วนหนึ่งในการช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง และมีภูมิต้านทานโรคภัยที่ดีค่ะ”

 

จิตอาสาฉือจี้ คุณจางฮุ่ยหลัน บอกเล่าว่า มีบุคลากรทางการแพทย์หลายท่าน ที่หันมารับประทานมังสวิรัติแล้ว ดังนั้น ข้าวกล่องที่ฉือจี้นำไปมอบให้ในครั้งนี้ ทำให้หลายคนสามารถรับประทานอาหารเที่ยงได้อย่างสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ต้องกังวลเรื่องอาหารการกิน ขณะเดียวกัน ก็ยังได้ชักชวนให้ผู้ป่วยทั่วไป หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยโควิดเอง หันมารับประทานมังสวิรัติ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ เพิ่มมากขึ้น เพื่อสุขภาพร่างกายของทุกคน

 

เมื่อเผชิญกับวิกฤติโรคระบาด ที่เกิดจากสัตว์สู่คนในครั้งนี้ และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ ท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยนจึงได้รณรงค์ให้หันมารับประทานมังสวิรัติเพิ่มมากขึ้น ให้ทุกคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก เคารพซึ่งกันและกันไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ ร่วมกันสร้างสรรค์ให้สังคมเต็มไปด้วยพลังแห่งความดี จึงจะสามารถก้าวข้ามวิกฤติโรคระบาดคร้งนี้ไปด้วยกันได้

ผลิตภัณฑ์จิ้งซือ ดูแลสุขภาพ สู้ภัยโควิด

 

 

 jingsi product cover3

 

 

ส่งรักข้ามน้ำข้ามทะเล รวมใจโพธิสัตว์ ก้าวผ่านภัยโรคระบาด

ช่วงนี้โควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” ระบาดในประเทศไทย ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสูง จนส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ ทั้งในด้านการควบคุมโรคและการเข้าถึงระบบการรักษา ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทยจึงจัดโครงการ “ฉือจี้มอบชุดยาปันรัก ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว” อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังเพิ่มชาสมุนไพรจิ้งซือ ผงธัญพืชจิ้งซือ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา และบำรุงสุขภาพไปในขณะเดียวกัน



“ชาสมุนไพรจิ้งซือ” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการวิจัยและคิดค้นโดยผู้เชี่ยวชาญของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฉือจี้ไต้หวัน ร่วมกับทีมงานผลิตภัณฑ์จิ้งซือ คัดสรรวัตถุดิบเป็นอย่างดีจากสมุนไพรดั้งเดิม 8 ชนิดของไต้หวัน ได้แก่ โกฐจุฬาลัมพา กอมก้อห้วย(ใบสาบเสือ) แบะตง พลูคาว(หญ้าคาวปลา) ดอกบอลลูน ชะเอมเทศ ใบงาขี้ม่อน และดอกเก๊กฮวย ซึ่งล้วนเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ ไม่ใช้สารกันบูด ไม่ใช้สารแต่งเติมรสชาติหรือแต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ และไม่มีส่วนประกอบจากเนื้อสัตว์

 


herbal tea multigrain
ชุดยาปันรัก ผนวกกับชาสมุนไพรจิ้งซือและผงธัญพืชจิ้งซือ ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาอาการป่วยโรคโควิด และบำรุงสุขภาพไปในขณะเดียวกัน

 

ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ช่วยป้องกันเซลล์หนามของไวรัสไม่ให้เกาะเข้ากับเซลล์ร่างกายมนุษย์ หยุดยั้งไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ร่างกายมนุษย์ และมีส่วนช่วยบรรเทาอาการป่วยโควิด ไม่ให้มีอาการรุนแรง ขอบพระคุณคำชี้แนะจากท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน ทำให้ทีมวิจัยจากศูนย์การแพทย์แผนจีนและแผนปัจจุบันฉือจี้ ร่วมกับทีมงานผลิตภัณฑ์จิ้งซือ ได้คิดค้นและพัฒนาชาสมุนไพรจิ้งซือขึ้นมา เพื่อใช้ดื่มเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยจนถึงปัจจุบัน ได้ถูกส่งไปแล้วมากกว่า 31 ประเทศทั่วโลก โดยเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชาสมุนไพรจิ้งซือ พร้อมทั้งผงธัญพืชจิ้งซือ ได้ถูกจัดส่งมาถึงประเทศไทย จิตอาสาฉือจี้ในเมืองไทย จึงทยอยส่งให้กับผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว ที่ติดต่อขอความช่วยเหลือมายังฉือจี้

 

คุณจางฮุ่ยเจิน จิตอาสาฉือจี้ แบ่งปันว่า “ขอบพระคุณท่านธรรมาจารย์ รวมถึงภิกษุณีที่สมณาราม และโรงพยาบาลของเราที่ให้ความร่วมมือกัน ทำให้พวกเราจิตอาสาฉือจี้ในเมืองไทยสามารถนำสิ่งเหล่านี้ส่งถึงมือผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วราบรื่น เชื่อมั่นว่าพวกเขาจะหายในเร็ววัน”

 

ความรักอันยิ่งใหญ่ ไร้ซึ่งเชื้อชาติ ศาสนา หรือสัญชาติแบ่งกั้น ไม่ว่าจะเป็นประชาชนคนไทย หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานการศึกษา แวดวงธุรกิจ หรือโรงงานต่างๆ ก็สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือมายังฉือจี้ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น ไลน์ เฟซบุ๊ก หรือโทรศัพท์ โดยจิตอาสาจะขอข้อมูลชื่อ ที่อยู่ ทั้งยังสอบถามผู้ขอความช่วยเหลือว่า ประสงค์รับชาสมุนไพรจิ้งซือแบบชาชง หรือแบบเข้มข้นพร้อมดื่ม จากนั้นจึงบรรจุหีบห่อ และดำเนินการจัดส่งผ่านหลากหลายวิธีการ ทั้งส่งพัสดุด่วน ใช้บริการไรเดอร์รับส่งสิ่งของ หรือส่งถึงบ้านด้วยตนเอง ตามความเหมาะสม เพื่อให้ทุกคนได้รับความช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 


packing herbal tea and multigrain
จิตอาสาช่วยแพ็คชาชุดยาปันรัก ชาสมันไพรจิ้งซือและผงธัญพืชจิ้งซือ จากนั้นจัดส่งให้กับผู้ป่วยโควิดตามช่องทางการจัดส่งที่เหมาะสม

 

เนื่องด้วยชาสมุนไพรจิ้งซือช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และมีส่วนช่วยบรรเทาอาการป่วยโควิดไม่ให้รุนแรง อีกทั้งผงธัญพืชจิ้งซือก็เป็นอาหารบำรุงสุขภาพ ด้วยเหตุนี้ จิตอาสาจึงไม่ได้จัดส่งให้เฉพาะผู้ที่ขอรับความช่วยเหลือ หากยังคำนึงคนรอบข้างด้วย เช่น หากมีผู้ป่วยติดต่อขอความช่วยเหลือมายังฉือจี้ จิตอาสาก็จะสอบถามเพิ่มเติมถึงจำนวนสมาชิกในครอบครัว หรือคนใกล้ตัวอยู่กลุ่มเสี่ยงติดโควิดหรือไม่ เป็นต้น และดำเนินการจัดส่งเผื่อแผ่ไปยังคนเหล่านั้นด้วย ซึ่งทำให้นอกจากเพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วยแล้ว ยังทำให้คนรอบข้างได้รับประทานเพื่อบำรุงสุขภาพ เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันโควิดไปในขณะเดียวกันอีกด้วย

 

ชาสมุนไพรจิ้งซือ ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ เคียงข้างผู้ป่วยก้าวผ่านโควิด

ผู้ป่วยต่างรู้สึกดีใจ ที่ได้รับชุดยาปันรัก ชาสมุนไพรจิ้งซือ และผงธัญพืชจิ้งซืออย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งให้ผลการตอบรับที่ดี คุณอดิศร ผู้ป่วยโควิด รู้สึกขอบคุณฉือจี้ที่จัดส่งชุดยาปันรัก ชาสมุนไพรจิ้งซือ และผงธัญพืชจิ้งซือ โดยเขารับประทานยาตามอาการ และดื่มสมุนไพรจิ้งซือแบบเข้มข้น ซึ่งสะดวกพร้อมดื่มในทุกวัน ทำให้อาการดีขึ้นเรื่อยๆ และพบว่าผลตรวจ ATK เป็นลบหลังติดโควิด 7 วัน คุณอดิศรแบ่งปันว่า “ผมฉีกดื่มเป็นซองเลยครับ ดื่มตอนเช้า กลางวัน แล้วก็เย็นด้วยครับ รู้สึกว่าตัวมันโล่ง ไม่มีไอ ไม่มีเสมหะด้วยครับ ”

 

 

คุณมูซ่า ผู้ลี้ภัยชาวปากีสถาน ติดโควิดทั้งครอบครัวพร้อมกับภรรยาและลูก โชคดีอาการไม่รุนแรงมากนัก ซึ่งหลังจากติดต่อขอความช่วยเหลือจากฉือจี้ไม่นาน จิตอาสาก็นำชุดยาปันรัก ชาสมุนไพรจิ้งซือ และผงธัญพืชจิ้งซือมาส่งถึงบ้าน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีประโยชน์ต่อพวกเขาในระหว่างติดเชื้อโควิดเป็นอย่างมาก คุณมูซ่า แบ่งปันว่า “เพียงสองครั้งที่พวกเราดื่มชาสมุนไพร ก็รู้สึกว่าอาการไอ น้ำมูกไหลดีขึ้น อาการป่วยดีขึ้น และเราหายก็ป่วยภายในสองวันครับ”

 

คุณอู๋สูเจิน ใช้ประสบการณ์ของอาชีพพยาบาลในอดีต ดูแลพนักงานในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ทำให้ปีที่ผ่านมา มีผู้ติดโควิดเพียง 2 คนเท่านั้น แต่การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน ที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในปีนี้ ทำให้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา มีพนักงานในโรงงานติดเชื้อโควิดวันละ 3-4 คน ตอนนั้น คุณอู๋สูเจินรู้สึกกังวลใจเป็นอย่างมาก จึงได้พูดคุยและปรึกษากับคุณสกัญญา ริมพนาเวศ ประธานบริหารมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย เมื่อรับทราบปัญหาแล้ว ทางมูลนิธิฯก็เร่งดำเนินการจัดส่งชุดยาปันรัก ชาสมุนไพรจิ้งซือและผงธัญพืช ไปยังโรงงานของคุณอู๋สูเจินทันที

 

คุณอู๋สูเจินนำชาสมุนไพรจิ้งซือต้มให้กับพนักงานดื่มทุกวัน หลังจากดื่มชาสมุนไพรติดต่อกัน 2 สัปดาห์ การระบาดของโรคโควิดในโรงงานก็ค่อยๆลดลงเรื่อยๆ คุณอู๋สูเจิน แบ่งปันว่า “จากพนักงานในโรงงานทั้งหมด 100 กว่าคน มีเพียงแค่คนเดียวเท่านั้นที่ติด โดยเขาได้ติดมาจากลูกสาวของตัวเอง ไม่อย่างนั้น สองสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็คงจะไม่มีใครติดเชื้ออีกแล้ว ขอขอบพระคุณ ชาสมุนไพรจิ้งซือของฉือจี้เป็นอย่างมาก ที่ช่วยเหลือพวกเราในครั้งนี้ค่ะ”

 


wushuzhen industry
ชุดยาปันรัก ชาสมุนไพรจิ้งซือและผงธัญพืชจิ้งซือ ถูกจัดส่งไปยังหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานการศึกษา โรงงานต่างๆ โดยพนักงานดื่มชาสมุนไพรทุกวัน เสริมภูมิคุ้มกัน บำรุงสุขภาพ ป้องกันโรคโควิด

 

เคียงข้างบุคลากรทางการแพทย์ ส่งความห่วงใยรับมือกับโควิด
ในขณะเดียวกัน จิตอาสายังมอบชาสมุนไพรจิ้งซือและผงธัญพืชจิ้งซือ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในคลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้ สื่อถึงคำขอบคุณและคำอวยพรจากฉือจี้ ทั้งยังจัดส่งให้กับโรงพยาบาลโพธาราม เพื่อให้กำลังใจบุคลากรด่านหน้า รับมือกับโรคระบาดครั้งนี้อย่างมั่นใจ


20220319-298-bylek
จิตอาสามอบชาสมุนไพรจิ้งซือและผงธัญพืชจิ้งซือ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ของคลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้ เพื่อสื่อถึงคำขอบคุณและคำอวยพรจากฉือจี้

 

คุณจรินทร์ พวกยะ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลโพธาราม และเป็นสมาชิกผู้บริจาคของฉือจี้มา 3-4 ปีแล้ว คุณจุรินทร์รู้สึกดีใจที่ได้รับผลิตภัณฑ์จิ้งซือ เมื่อดื่มชาสมุนไพรจิ้งซือและผงธัญพืชจิ้งซือไปช่วงเวลาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ก็รู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของสุขภาพร่างกายในทิศทางที่ดีขึ้น รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่าเมื่อตื่นนอน การขับถ่ายก็ดีขึ้น และสัมผัสได้ถึงความตั้งใจของฉือจี้ คุณจุรินทร์ แบ่งปันว่า “ครั้งแรกที่รู้ว่ามันเป็นสมุนไพรหลายชนิด ก็รู้สึกว่าทุกคนคงจะลำบากที่จะหาวัตถุดิบแต่ละชนิดมาผสมกันให้มีคุณค่าขนาดนี้ ”

 

jingsi herbal tea and multigrian photharam

ชาสมุนไพรจิ้งซือและผงธัญพืชจิ้งซือ ถูกจัดส่งไปยังโรงพยาบาลโพธาราม เพื่อให้กำลังใจบุคลากรด่านหน้า รับมือกับโรคระบาดครั้งนี้อย่างมั่นใจ โดยมือจิตอาสาฉือจี้เป็นตัวแทนรับมอบ และนำไปมอบให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในแผนกต่างๆต่อไป

 

คันธพจน์ สมนึกชัยเจริญ เภสัชกรโรงพยาบาลโพธาราม แบ่งปันความรู้สึกหลังจากดื่มชาสมุนไพรจิ้งซือ ว่า “ภายหลังการรับประทานสมุนไพร ก็รู้สึกถึงคุณค่าของความตั้งใจ ทั้งจากธรรมชาติและความรู้สึกของผู้ให้ครับ”

 

คมสัน สระกระโทก แพทย์แผนไทยโรงพยาบาลโพธาราม แบ่งปันความรู้สึกหลังจากดื่มชาสมุนไพรจิ้งซือในระหว่างติดโควิด ว่า “หลังจากกินสมุนไพรอันนี้แล้วก็รู้สึกว่า ร่างกายแข็งแรง และไม่ได้มีผลข้างเคียงจากการเป็นโควิด เช่น หอบเหนื่อย ก็รู้สึกว่าร่างกายผมปกติดีครับ ”

 

นอกจากผู้ป่วยติดเชื้อโควิด กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิดแล้ว จิตอาสายังเน้นกลุ่มเป้าหมายในกลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษา หรือนักเรียนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน โดยเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จิตอาสาได้เดินทางไปยังโรงเรียนต่างๆ เพื่อแนะนำชาสมุนไพรจิ้งซือและผงธัญพืชจิ้งซือแก่คุณครู คาดการณ์ว่าจะสามารถมอบให้โรงเรียนต่างๆในภาคเรียนใหม่นี้ และอีกกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจุบันทางมูลนิธิฯกำลังดำเนินการแจกจ่ายให้กับผู้สูงอายุในชุมชนต่างๆ

 

โดยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน (20 พฤษภาคม) ทางมูลนิธิฯได้มอบชาสมุนไพรจิ้งซื้อแบบชาชง 2,598 ห่อ ชาสมุนไพรจิ้งซือแบบเข้มข้น 2,766 กล่อง และผงธัญพืชจิ้งซือ 3,431 ห่อ

 

 

มอบเตียงพับอเนกประสงค์ สนับสนุนภารกิจสู้ภัยโควิด-19

20210607 cover

จิตอาสาฉือจี้มอบเตียงพับอเนกประสงค์ จำนวน 200 เตียง และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ แก่ที่ว่าการอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อสนับสนุนภารกิจสู้ภัยโควิด-19 โดยมี นายวัชรเดช เกียรติชานน  นายอำเภอพระประแดง และนายโสฬส อันไชยะ สาธารณสุขอำเภอพระประแดง รวมถึงเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเป็นตัวแทนรับมอบ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564


 

มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย มอบเตียงพับอเนกประสงค์ “บุญ-ปัญญา” จำนวน 200 เตียง และเวชภัณฑ์ที่จำเป็น ได้แก่ หน้ากาก N95 จำนวน 100 ชิ้น, ชุด PPE 60 ชุด, เฟซชิล 60 ชิ้น และถุงเท้าพลาสติกกันเชื้อโรค 60 คู่ เพื่อสนับสนุนภารกิจสู้ภัยโควิด-19 รวมถึงมาตราการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่ประชาชนทั่วไป ที่ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อต้นเดือนมิถุนายน 2564 โดยทางอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ได้ตั้งจุดบริการวัคซีนแก่ประชาชนในพื้นที่ 3 แห่ง รวมถึงอีกหนึ่งแห่งที่โรงพยาบาลบางจาก

นายวัชรเดช เกียรติชานน นายอำเภอพระประแดง กล่าวว่า “ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ได้ให้ความร่วมมือ และทำงานร่วมกันอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย นอกจากนี้ เราก็ได้รับความร่วมมือจากองค์กรภาคเอกชนต่างๆ ในพื้นที่ด้วย รวมถึงมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย ก็ได้ร่วมนำเตียงสนามมาให้กับทางอำเภอพระประแดง ซึ่งเราก็จะนำสิ่งของที่ได้รับ ไปใช้ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยส่วนหนึ่งเราจะเอาเตียงสนามนี้ไปให้กับสถานที่ ซึ่งกำหนดเป็นจุดฉีดวัคซีนของอำเภอพระประแดงสามแห่งด้วยครับ

 

 

01

จิตอาสาฉือจี้อธิบายและสาธิตการประกอบ รวมถึงวิธีการใช้เตียงพับอเนกประสงค์ในรูปแบบต่างๆ

 

02

 จิตอาสาฉือจี้อธิบายและสาธิตการประกอบ รวมถึงวิธีการใช้เตียงพับอเนกประสงค์ในรูปแบบต่างๆ

 

 

03

เจ้าหน้าที่ทดสอบความแข็งแรงของเตียงพับอเนกประสงค์

 

 นายโสฬส อันไชยะ สาธารณสุขอำเภอพระประแดง กล่าวว่า ตอนนี้ทางสาธารณสุขพยายามเน้นในเรื่องของการควบคุมป้องกันโรคโควิด-19 การส่งเสริมให้ความรู้กับประชาชน และอีกเรื่องที่สำคัญมากคือ “วัคซีน” สำหรับอำเภอพระประแดงได้กำหนดจุดฉีดวัคซีนให้กับประชาชนใน 3 จุดหลักๆ คือ ศูนย์เฉลิมพระเกียรติเทศบาลเมืองลัดหลวง วัดคันลัดและสถาบันราชประชาสมาสัย “สำหรับเตียงสนามที่มูลนิธิฉือจี้สนับสนุนในครั้งนี้ เรามองแล้วว่า จุดแรกที่เราจะนำมาใช้ก็คือ หน่วยที่เราออกมาตั้งโรงพยาบาลสนามบริการฉีดวัคซีนให้กับพี่น้องประชาชน เพราะในกรณีที่พี่น้องประชาชนบางท่าน ที่อาจจะมีอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีน ก็สามารถมานั่งพักเพื่อให้ทีมแพทย์ EMS ไว้ใช้สำหรับสังเกตุอาการครับ โดยเราก็จะนำไปตั้งทั้งสามจุดในอำเภอพระประแดง ส่วนเตียงนี้ผมว่าอเนกประสงค์ สามารถใช้ได้หลายงาน ไม่ว่าจะเป็นภัยอุทกภัย น้ำท่วมหรืออะไรอย่างนี้ ซึ่งช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับพี่น้องประชาชนได้อย่างแท้จริง”

 

04

นายวัชรเดช เกียรติชานน  นายอำเภอพระประแดง ทดลองนั่งเพื่อดูความแข็งแรงของเตียงพับอเนกประสงค์

  

05

คุณสุกัญญา ริมพนาเวศ ประธานบริหารมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย อธิบายความเป็นมาและคุณสมบัติของเตียงพับอเนกประสงค์แก่นายโสฬส อันไชยะ สาธารณสุขอำเภอพระประแดง(คนที่ 2 จากซ้าย)

 

06

นายวัชรเดช เกียรติชานน  นายอำเภอพระประแดง(คนที่ 2 จากซ้าย) นำเวชภัณฑ์และเตียงสนามไปมอบแก่โรงพยาบาลบางจาก โดยมี นพ.วันฉัตร ชินสุวาเทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางจาก(คนที่ 2 จากขวา) เป็นตัวแทนรับมอบ

 

นพ.วันฉัตร ชินสุวาเทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางจาก กล่าวว่า “ชุดป้องกันเหล่านี้ เป็นเหมือนเสื้อเกราะ ซึ่งทางเรายังจำเป็นต้องใช้อยู่ทุกวัน ส่วนอุปกรณ์อย่างอื่นเช่นเตียงสนามนั้น เราได้จัดสรรไปที่ศูนย์ฉีดวัคซีน เพราะตรงนั้น ถ้าเกิดประชาชนมีปัญหา เราจะได้ให้เขานอนพักได้ รวมถึงเตียงบางส่วนก็จะอยู่ที่โรงพยาบาล เพราะว่าตอนนี้เราเปิดห้องพิเศษเพื่อใช้รองรับผู้ป่วย ซึ่งเดิมทีห้องหนึ่งสามารถนอนได้สองคน แต่ในปัจจุบันจำเป็นต้องจัดให้นอนห้องละ 3-4 คน เตียงตรงนี้ จึงสามารถนำมาช่วย ในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ได้ครับ”


ภาครัฐและภาคเอกชน ต่างร่วมมือกันผนึกกำลังเพื่อสู้ภัยโรคระบาดโควิด-19 โดยหวังว่าจะสามารถคลี่คลายสถานการณ์การระบาดลงได้ในเร็ววัน

 


  

เตียงพับอเนกประสงค์ "บุญ-ปัญญา

ผลงานการวิจัยและพัฒนาของจิ้งซือเหรินเหวิน เพียงดึงขยายออกจะกลายเป็นเตียงเดี่ยว หากดึงขึ้นจะเปลี่ยนเป็นเก้าอี้และสามารถถือพกพาได้นี้ ได้รับรางวัลสุดยอดนวัตกรรมด้านคุณภาพและการออกแบบจาก Red Dot Design Award ประเทศเยอรมันนีเมื่อปี 2557 ทั้งยังได้รับรางวัลพิเศษด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสาธารณกุศลและรางวัลเหรียญทองจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ (Invention & New Product Exposition หรือ INPEX) ณ เมืองพิตต์สเบิร์ก สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2558 ปัจจุบันนำไปใช้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยในประเทศปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เนปาลและพื้นที่ประสบภัยต่างๆ

 

 

00

ออกแบบฉลาดล้ำ ไม่เปลืองพื้นที่

“เตียงพับอเนกประสงค์” ออกแบบได้อย่างฉลาดล้ำ มีน้ำหนักเพียง 15 กิโลกรัม หากดึงขยายออกจะมีความยาว 202.1 เซนติเมตร กว้าง 75 เซนติเมตร สูง 28 เซนติเมตร หากพับเก็บจะกว้าง 13.3 เซนติเมตร ยาว 75 เซนติเมตร สูง 61.3 เซนติเมตร ผู้ใหญ่สามารถถือได้ด้วยมือเดียว พับเก็บง่าย ขนย้ายสะดวก ไม่เกะกะพื้นที่ เมื่อต้องการใช้เพียงแค่ดึง ก็สามารถเป็นเก้าอี้นั่งและเตียงนอนได้ โดยไม่ต้องประกอบชิ้นส่วน ไม่ต้องใช้สกรูหรือเครื่องมือใดๆ และสามารถรองรับน้ำหนักได้มากกว่า 150 กิโลกรัม

 

จากความเมตตา ก่อเกิดเตียงอเนกประสงค์

การวิจัยและพัฒนา “เตียงพับบุญปัญญาอเนกประสงค์” เป็นบุญสัมพันธ์จากเหตุอุทกภัยในประเทศปากีสถาน ปี 2553 ตอนนั้นจิตอาสากลุ่มบรรเทาสาธารณภัยได้รายงานภาพภัยพิบัติ พบว่าเนื่องด้วยบ้านพังเสียหายจากน้ำท่วม ทำให้ทารกหญิงคนหนึ่งซึ่งเพิ่งเกิดมาได้ไม่นาน มีเพียงผ้าผืนบางห่อร่างกาย อาศัยอยู่บนพื้นดินที่มีโคลนชื้นแฉะ ทำให้ท่านธรรมจารย์เจิ้งเอี๋ยนทนต่อภาพความเวทนามิได้ จึงได้ชี้แนะให้จิตอาสาช่วยวิจัยพัฒนาหาหนทางแก้ไข จึงได้เกิดผลิดภัณฑ์ช่วยบรรเทาภัยดังกล่าวขึ้น


การออกแบบเตียงบุญปัญญาอเนกประสงค์” ในช่วงแรกต้องการให้สูงจากพื้น เพื่อไม่ให้ผู้ประสบภัยหรือผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือ ต้องลำบากกับการต้องนอนบนพื้นดินชื้นแฉะ โดยออกแบบให้มีรูรอบด้าน เพื่อให้มีน้ำหนักเบาและระบายอากาศได้ดี นอกจากนี้ เนื่องจากเป็นการจิจัยและพัฒนาจากบุญสัมพันธ์ทารกหญิงคนนั้น ผู้ออกแบบจึงเลือกใช้วัสดุโพลิโพรไพลีน(PP) ซึ่งเป็นวัสดุประเภทเดียวกับผลิตภัณฑ์บรรจุอาหาร ไม่ทำร้ายหรือระคายเคืองผิว


   เรื่อง  บุษรา สมบัติ      ภาพ  วรมน เกียรติธีรชัย

 

ส่งรักเคียงข้างผู้ลี้ภัย เริ่มต้นชีวิตใหม่ในประเทศที่สาม

 

 

20220525omarcover


“ผู้ลี้ภัย” พำนักอาศัยโดยผิดกฎหมาย

แม้มีความสามารถ ก็มิอาจทำงานหาเลี้ยงชีพได้

ซ้ำยังเสี่ยงถูกจับกุมจำคุกได้ตลอดเวลา

ชีวิตความเป็นอยู่ลำบากหนักหนา

มีเพียงความหวังเดียวที่พวกเขารอคอย

นั่นก็คือ “การเริ่มต้นชีวิตใหม่ในประเทศที่สาม”

 

20220405-195-bylek
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยิ่งซ้ำเติมชีวิตผู้ลี้ภัย มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย จึงจัดกิจกรรมมอบสิ่งของบรรเทาความเดือดร้อนขึ้นเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมอบถุงยังชีพ หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ล้างมือ และเงินสงเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยซึ่งมาจาก 10 กว่าประเทศ เป็นจำนวนมากกว่า 1,500 ครอบครัว อีกทั้งยังใส่ใจจัดเตรียมข้าวและแป้ง ให้เลือกรับได้ตามความคุ้นชินของพวกเขาอีกด้วย

 


ไหล่ซึ่งแบกรับความหวังของครอบครัว

“วันหนึ่ง ห่ากระสุนและระเบิดโปรยปรายราวกับสายฝน ทำให้พี่ชายของผมเสียชีวิต ส่วนน้องชายอีกคนได้รับบาดเจ็บ พ่อจึงพาน้องชายรักษาตัวที่ต่างประเทศ นับตั้งแต่วันนั้น พวกเขาก็ไม่ได้กลับมาอีกเลย จนกระทั่งวันนี้ ก็ยังไม่รู้เลยว่า พวกเขาอยู่ที่ไหน เป็นตายร้ายดีอย่างไรบ้าง”

 

“โอมาร์” วัย 31 ปี มาจากโซมาเลีย หนึ่งในประเทศของทวีปแอฟริกา ซึ่งเกิดสงครามกลางเมืองอยู่เนืองๆมาหลายสิบปี ทุกๆครั้งที่เกิดการปะทะ มักจะนำไปสู่ความสูญเสียเสมอ แม้แต่ชีวิตของประชาชนอันบริสุทธิ์ ก็ยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ และสงครามที่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายครานั้น ก็ทำให้เขาสูญเสียคนในครอบครัว บ้านแตกสาแหรกขาดไปคนละทิศละทาง ไม่เพียงเท่านั้น ด้วยความที่เขาเป็นชนกลุ่มน้อย ทำให้ตกเป็นกลุ่มเป้าหมายของกลุ่มติดอาวุธ ดังนั้น เพื่อเอาชีวิตรอดจากการถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ พ.ศ.2558 เขาจึงตัดสินใจหนีจากถิ่นฐานบ้านเกิด พร้อมกับ “ฮัมตา”ผู้เป็นภรรยา น้องชายภรรยา และลูกสาวอีก 3 คน

 

ชาวโซมาเลียที่ลี้ภัยจากบ้านเกิด ส่วนใหญ่จะเดินทางไปยังมาเลเซีย แต่ด้วยค่าครองชีพค่อนข้างสูง พวกเขาจึงลักลอบเข้าประเทศไทยตามชายแดน ผ่านกลุ่มคนลักลอบนำคนเข้าเมืองในเวลาต่อมา ซึ่งหากถูกจับกุมก็จะถูกเนรเทศกลับประเทศ และถูกยึดหนังสือเดินทาง ตอนนั้น โอมาร์เข้าใจผิดว่า “ไทยแลนด์” คือ “ฟินแลนด์” ประเทศในยุโรป จนกระทั่งเดินทางมาถึงประเทศไทย จึงรู้ว่าตนอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

อยู่ประเทศไทยได้เพียง 11 วัน พวกเขาก็ถูกจับในข้อหาลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และไม่มีหนังสือเดินทาง แม้ว่าภายหลังพวกเขาได้รับการประกันตัวจากชาวมุสลิมคนหนึ่ง ทว่า พวกเขายังคงอยู่ในสถานะพำนักอาศัยในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับกุม พวกเขาจะต้องอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ ไม่ออกจากบ้านหากไม่จำเป็น เมื่อออกจากบ้านก็ต้องคอยระวังหน้าระแวงหลัง และไม่สามารถประกอบอาชีพอย่างถูกกฎหมายได้ ดังนั้น การชีวิตในเมืองไทยจึงมิใช่เรื่องง่ายนัก

 

ช่วยเหลือด้วยการทำงาน แปลภาษาช่วยพี่น้องผู้ลี้ภัย

แม้พวกเขาจะได้รับเงินช่วยเหลือจาก BRC (Bangkok Refugee Center;BRC) ในทุกๆเดือน แต่ก็เพียงพอสำหรับค่าเช่าห้องเท่านั้น โอมาร์ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว จึงต้องหาหนทางทำงานหาเลี้ยงครอบครัวภายใต้ข้อจำกัดของสถานะผู้ลี้ภัย โดยเขาทำงานเป็นล่ามแปลภาษาที่ BRC และต่อมายัง ปี พ.ศ.2560 เขาได้มาทำงานเป็นล่ามแปลภาษาในกิจกรรมบริการชุมชน รักษาพยาบาลฟรี อันเป็นจุดเริ่มต้นของบุญสัมพันธ์ระหว่างโอมาร์และฉือจี้

 

20180128-081-bylek
ล่ามแปลภาษาช่วยเป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ในขณะที่ผู้ลี้ภัยรับบริการในกิจกรรมบริการชุมชน รักษาพยาบาลฟรี

 

ระหว่าง พ.ศ. 2558-2561 มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย ได้ดำเนินกิจกรรมบริการชุมชน รักษาพยาบาลฟรี เพื่อให้บริการด้านการแพทย์แก่ผู้ลี้ภัย โดยจัดขึ้นเดือนละหนึ่งในวันอาทิตย์ที่ 4 ของทุกเดือน

 

ผู้ลี้ภัยที่มารับบริการด้านการแพทย์ในกิจกรรมรักษาพยาบาลฟรี มาจากหลากหลายประเทศ ดังนั้นภายในกิจกรรมนอกจากมีบุคลากรทางการแพทย์ จิตอาสา คอยให้บริการผู้ป่วยแล้ว จิตอาสายังอาศัยรูปแบบ “การช่วยเหลือด้วยการทำงาน” ให้ผู้ลี้ภัยที่มีความสามารถด้านภาษา ช่วยเป็นตัวกลางสื่อสารระหว่างแพทย์ พยาบาลและผู้ป่วย โดยให้ค่าตอบแทนสำหรับนำไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน


omar hospital
ดูแลใส่ใจ ราวกับ “ครอบครัวเดียวกัน” พ.ศ. 2560 ฉือจี้ในเมืองไทยช่วยสงเคราะห์ค่าคลอดบุตรให้กับโอมาร์และภรรยา โดยมีคุณกวอเหมยจวิน เป็นตัวแทนจิตอาสาฉือจี้ เดินทางไปเยี่ยมเยียนและอวยพร พร้อมทั้งดำเนินการยื่นเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง

 

คุณกวอเหมยจวิน ผู้ประสานงานกิจกรรมบริการชุมชน รักษาพยาบาลฟรี ในขณะนั้นแบ่งปันว่า “ครอบครัวโอมาร์มีสมาชิก รวม 7 คน ได้แก่ ภรรยา ลูกสาว 3 คน ลูกชายซึ่งเพิ่งคลอดอีก 1 คน ภรรยา และน้องชายภรรยาซึ่งป่วยเป็นโรคดาวน์ซินโดรม จะเห็นว่าเขาแบกรับภาระหนักมาก ดังนั้น เราก็เลยพยายามให้เขามาช่วยงานล่ามแปลภาษาบ่อยๆ ซึ่งตอนนั้นเราจัดกิจกรรมรักษาพยาบาลฟรีอยู่ เราก็จะให้เขามาทำงานล่ามแปลภาษา เพราะเรารู้ว่าจำนวนสมาชิกในครอบครัวเขาเยอะ และลำบากกันมากเลยค่ะ”

 

การทำงานล่ามแปลภาษา ทำให้โอมาร์พอมีรายได้จุนเจือครอบครัว บรรเทาความลำบากขัดสนได้บ้าง ทว่า บททดสอบชีวิตครั้งใหญ่ก็เกิดขึ้นอีกครั้ง พ.ศ.2561 โอมาร์ถูกจับกุมไปกักขังที่ IDC (Immigration Detention Center) ตอนนั้นเขาเป็นห่วงครอบครัวมาก เพราะเมื่อเขาถูกจับ ภรรยาจะต้องรับภาระทุกอย่าง ทั้งเลี้ยงดูลูกสาวทั้งสามที่ยังอยู่ในวัยเด็กซุกซน ลูกชายที่ยังอยู่ในวัยทารก และดูแลน้องชายซึ่งไม่ได้ปกติเหมือนคนทั่วไป เมื่อขาดสามีผู้เป็นเสาหลักแล้ว ภรรยาจะรับมือกับความลำบากเพียงลำพังได้อย่างไร ยากนักที่จะจินตนาการได้

 

ดังนั้น 1 วันก่อนจะถูกจับกุมเข้าสู่ห้องขังของ IDC โอมาร์จึงติดต่อมายังคุณกวอเหมยจวิน พร้อมทั้งฝากฝังให้ช่วยดูแลครอบครัวของเขา เมื่อได้ฟังเรื่องราวของคุณโอมาร์แล้ว คุณกวอเหมยจวินจึงรีบประสานไปยังคุณสุชน แซ่เฮง คุณพงษ์พจน์ พัชรภักดีกำธร และคุณสุนันทา แซ่เส ซึ่งเป็นจิตอาสาฉือจี้ที่ดูแลพื้นที่นั้นๆ ให้ดำเนินการช่วยเหลือต่อไป   สำหรับโอมาร์นั้น หลังแจ้งเรื่องกับคุณ-กวอเหมยจวิน ผ่านไปแค่วันเดียว ก็ไม่สามารถติดต่อเขาได้แล้ว


omarwife and children2
ในช่วงเวลาที่โอมาร์ถูกคุมขังที่ IDC จิตอาสาฉือจี้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือ รับดูแลระยะยาว โดยในแต่ละเดือนจิตอาสาฉือจี้จะเดินทางไปเยี่ยมเยียน พร้อมทั้งมอบสิ่งของและเงินสงเคราะห์ให้กับพวกเขา เพื่อให้ฮัมตา (ผู้ที่ยืน) มีกำลังใจดูแลครอบครัว

 

จิตอาสารับไม้ต่อเป็นอย่างดี เดินทางไปเยี่ยมบ้านสำรวจความเป็นอยู่ในวันถัดไป พร้อมให้ความช่วยเหลือดูแลระยะยาวอย่างเร่งด่วน คุณพงษ์พจน์ พัชรภักดีกำธร แบ่งปันว่า “เราได้รับการเสนอเคสคุณฮัมตา ชาวโซมาเลีย เพราะว่าสามีเธอถูกจับกุม ถูกกักขังในIDC เธอจึงต้องดูแลลูก 4 คน และน้องชายซึ่งป่วยเป็นดาวน์ซิมโดรมเพียงคนเดียว ฉือจี้จึงให้ความช่วยเหลือเธอ โดยแต่ละเดือนจะมอบข้าวสาร นมผงและเงินสงเคราะห์ครับ”

 

การช่วยเหลือของฉือจี้อย่างทันท่วงที ทำให้ฮัมตา ภรรยาของโอมาร์ รู้สึกซาบซึ่งใจเป็นอย่างยิ่ง “ฉือจี้มาช่วยเหลือพวกเราในวันนั้น มันเป็นวันที่สวยงามที่สุดในชีวิตเลยค่ะ ฉันดีใจมากๆ รู้สึกว่าเหมือนกับว่า ฉันได้เกิดใหม่อีกครั้ง”


มุ่งเดินทางไกล สู่ชีวิตใหม่ที่งดงาม

ตุลาคม 2563 จากการช่วยเหลือจากองค์กรการกุศลแห่งหนึ่ง ทำให้โอมาร์ได้รับการปล่อยตัวออกมา ระยะเวลา 2 ปีที่เขาถูกคุมขังใน IDC เขาและครอบครัวไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้เลย เมื่อได้รับอิสระและพบว่าครอบครัวอยู่ดีมีสุขภายใต้การดูแลของฉือจี้ โอมาร์ก็รู้สึกซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่ง เขาแบ่งปันความรู้สึกว่า “ฉือจี้จะอยู่ในใจของพวกเราตลอดไป ไม่มีวันลืมเลยครับ”

 

โอมาร์และครอบครัว อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลา 7 ปี ปีนี้พวกเขาผ่านการพิจารณาจากสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) และถูกจัดสรรให้ไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ประเทศแคนาดา เมื่อได้รับข่าวดีเช่นนี้แล้ว จิตอาสาฉือจี้จึงเดินทางไปแสดงความยินดี พร้อมทั้งเรี่ยไรเครื่องนุ่งห่มกันหนาวจากผู้ใจบุญไปมอบให้กับพวกเขา เพื่อเป็นอีกหนึ่งในน้ำใจที่แสดงให้เห็นว่า แม้พวกเขาจะอยู่เมืองหนาวในแดนไกล แต่ความรักของฉือจี้จะทำให้พวกเขาอบอุ่นเสมอ


omarfamily
จิตอาสาเดินทางไปแสดงความยินดีกับครอบครัวโอมาร์ ซึ่งกำลังจะเดินทางไปอาศัยที่แคนาดา พร้อมทั้งอวยพรให้กับการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของพวกเขา

 

3-4 ปีที่ได้ให้ความช่วยเหลือดูแลลครอบครัวโอมาร์ ก็ทำให้คุณพงษ์พจน์รู้สึกปลาบปลื้มใจ เพราะด้วยสถานะผู้ลี้ภัย ทำให้พวกเขาทำงานเลี้ยงชีพได้อย่างถูกกฎหมาย ชีวิตความเป็นอยู่จึงยากลำบาก “เมื่อพวกเขามีโอกาสได้ไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ในประเทศที่สาม ได้ใช้ชีวิตใหม่อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผมรู้สึกว่า มันเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่คุ้มค่ามากๆครับ” ส่วนโอมาร์ ก็แบ่งปันความรู้สึกว่า “เมื่อผมไปอยู่แคนาดาแล้ว ผมก็จะตั้งใจทำงานครับ และหวังว่าจะได้มีโอกาสช่วยเหลือผู้อื่น เหมือนกับฉือจี้ทำครับ”

 

send medicine to omar

โควิดไม่อาจขวางกั้นความรักของฉือจี้ จิตอาสาอวยพรอยู่ห่างๆอย่างห่วงๆ ขอให้โอมาร์และครอบครัวหายป่วยในเร็ววัน

 

เดิมทีครอบครัวของโอมาร์จะเดินทางไปแคนาดาในวันที่ 24 มีนาคม 2565 ทว่า พวกเขากลับตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด จึงต้องเลื่อนการเดินทางออกไปเป็นเดือนพฤษภาคม และในระหว่างนี้ จิตอาสาฉือจี้ได้นำชุดยาปันรัก ผงธัญพืช ชาสมุนไพรจิ้งซือ ไปมอบให้พวกเขาใช้รักษาอาการ ทั้งยังจัดสรรให้พวกเขาพบแพทย์ในคลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้ ผ่านการวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า พวกเขาจะฟื้นฟูร่างกายได้ในเร็ววัน ซึ่งปัจจุบัน พวกเขามีอาการดีขึ้น และมีผลตรวจเป็นลบแล้ว

 

ฉือจี้ให้ความช่วยเหลือครอบครัวโอมาร์ ตั้งแต่ มกราคม 2561 ถึง มกราคม 2565 แม้ปัจจุบันจะยุติการให้ความช่วยเหลือ และพวกเขากำลังเดินทางไปเริ่มต้นชีวิตใหม่ในแดนไกลแล้ว ทว่า บุญสัมพันธ์อันดีนี้ยังคงอยู่ตลอดไป

 

 


                  เรื่อง  ดรรชนี สุระเทพ      ภาพ  พิณญ์ธิชา จันทร์สุขศรี,รัตนโชติ ประมวลทรัพย์,สิงหราช ชวนชม

 

 

มอบถุงยังชีพ ดูแลผู้ลี้ภัย

Banner

สถานการณ์การระบาดที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เหมือนเป็นการซ้ำเติม ให้กับบรรดาผู้ลี้ภัยที่อยู่ในมุมมืดของสังคม จิตอาสาฉือจี้จึงรีบดำเนินการ จัดเตรียมถุงยังชีพ เพื่อนำไปส่งมอบถึงมือของพวกเขาตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม เป็นต้นมา


 

ถุงยังชีพฉือจี้อันหนักอึ้ง ถุงแล้วถุงเล่าถูกขนส่งขึ้นรถบรรทุก เพื่อออกเดินทางจากสำนักงานฉือจี้ โดยแบ่งออกเป็นสามเส้นทาง ไปถึงมือผู้ลี้ภัยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาความหิวโหยให้พวกเขาทุกคน

จิตอาสาฉือจี้ คุณจางฮุ่ยเจินกล่าวว่า “วันนี้เราจะมอบถุงยังชีพ 205 ถุง ที่เหลือก็จะแจกพรุ่งนี้ และวันพุธหน้าอีก ซึ่งทั้งเดือนสิงหาคมและกันยายน เราก็จะทยอยมอบไปเรื่อยๆ คิดว่าจะสามารถช่วยผู้ลี้ภัยได้ประมาณ 1,000 กว่าครอบครัวค่ะ

หลังจากจิตอาสาแต่ละกลุ่ม สรุปเส้นทางการเดินทางลงตัว ก็ไม่ลืมที่จะกำชับการดูแลความปลอดภัยของตัวเอง จากนั้นรถกระบะที่บรรทุกสิ่งของเต็มคันก็ค่อยๆ ออกเดินทางสู่ถนนใหญ่ ก่อนจะเลี้ยวไปตามตรอกซอกซอยใหญ่น้อย เพื่อนำถุงยังชีพไปส่งมอบถึงมือผู้ลี้ภัย

001

 จิตอาสาช่วยกันลำเลียงถุงยังชีพฉือจี้ไปขึ้นรถ เพื่อเตรียมนำไปมอบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบ

 

002

จิตอาสาฉือจี้วางแผนเส้นทางการเดินทางไปมอบถุงยังชีพ


ด้วยการนำทางของบรรดาพี่น้องผู้ลี้ภัย ทำให้จิตอาสาฉือจี้สามารถลำเลียงขนส่งไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างราบรื่น ก่อนที่ทุกคนจะร่วมแรงร่วมใจกันขนถุงยังชีพ ไปส่งถึงหน้าที่พักของผู้ลี้ภัย ซึ่งกำลังรอรับความช่วยเหลืออยู่

คุณเซลวากุมาร์ หนึ่งในผู้ลี้ภัย กล่าวด้วยความเบาใจ หลังจากได้รับถุงยังชีพฉือจี้ว่า “ไม่ว่าจะเป็นตำรวจหรือโควิด ล้วนเป็นปัญหาที่พวกเราผู้ลี้ภัยต้องหวาดกลัว แต่ฉือจี้ได้ช่วยนำอาหารเหล่านี้มาส่งมอบถึงหน้าประตูบ้าน ทำให้พวกเราต่างก็ดีใจและตื้นตันใจอย่างมาก ทั้งหมดเป็นสิ่งของที่จำเป็นสำหรับเรา ทำให้เรามีอาหารกินตลอดทั้งเดือน ไม่ต้องกลัวความหิวโหยครับ”

คุณอัลยูเซฟ หนึ่งในผู้ลี้ภัยที่ได้รับถุงยังชีพฉือจี้ ก็กล่าวด้วยความดีใจว่า “ขอขอบคุณองค์กรพุทธศาสนาอย่างฉือจี้ ที่ยอมเหน็ด เหนื่อยนำอาหารและสิ่งของทั้งหมดนี้มามอบช่วยเหลือพวกเรา”

 

003

จิตอาสาช่วยกันลำเลียงถุงยังชีพฉือจี้ลงจากรถ เพื่อเตรียมมอบช่วยเหลือผู้เดือดร้อน

 

004

ถุงยังชีพฉือจี้แทนความห่วงใย ดูแลให้ทุกคนผ่านพ้นช่วงวิกฤตินี้ไปได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปากท้อง

  

ผู้ลี้ภัยอย่างคุณโมฮัมเหม็ดเองก็เล่าถึงความยากลำบากของตนเองและครอบครัว ขณะที่สถานการณ์การระบาดของโรคยังทวีความรุนแรงอยู่ว่า “เพราะโควิดระบาด ทำให้เราไม่สามารถออกไปไหนได้เลย แต่ฉือจี้กลับยินดีเข้ามาช่วยเหลือชุมชนของพวกเรา มอบสิ่งของที่จำเป็นให้กับพวกเรา ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างมากครับ”

จิตอาสาฉือจี้ลำเลียงถุงยังชีพจำนวนมากไปส่งถึงหน้าที่พักของบรรดาผู้ลี้ภัย จากนั้นพวกเขาก็จะช่วยเหลือดูแลกันเอง ด้วยการขนไปส่งมอบถึงมือของผู้ลี้ภัยที่ยื่นเรื่องขอความช่วยเหลือมาก่อนหน้านี้ แม้โรคระบาดจะจำกัดระยะห่างระหว่างกัน ทว่าในช่วงเวลานี้ ความรักและความห่วงใยต่อกันและกัน จะยังคงไม่เคยเลือนหายไปไหน


   เรื่อง  บุษรา สมบัติ     ภาพ  ณัฐธยาน์ ธนัทกิตติพงศ์   สิงหราช ชวนชม  

 

 

ฉือจี้ดูแลช่วยเหลือ ลุงขับแท็กซี่โรคภัยรุมเร้า

20220418

รายได้ที่ขาดหายไปจากสถานการณ์โควิด-19 ขณะเดียวกันโรคภัยก็เข้ามารุมเร้า ทำให้สภาพร่างกายของคุณบุญธรรมวัย 62 ปี ยิ่งอ่อนล้าไร้เรี่ยวแรง ทั้งที่เมื่อต้นปียังสามารถเดินทางมารับเงินสงเคราะห์ได้ด้วยตัวเอง แต่ผ่านไปเพียงสองเดือน กลับไม่สามารถไปไหนมาไหนเองได้อีกเลย


 

Untitled-1 

เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพ รถแท็กซี่ของคุณบุญธรรมจึงถูกจอดทิ้งไว้หน้าบ้านนานกว่าสองปี 

 

Untitled-2

คุณเกรียงไกร แก้วเกตุ ประธานสมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ไทย(ซ้าย) เดินทางไปเยี่ยมคุณบุญธรรมและประสานขอความช่วยเหลือมายังฉือจี้

 

คุณนวลจันทร์ ภรรยาของคุณบุญธรรม เล่าย้อนเหตุการณ์ความทุกข์ยากที่ผ่านมาของครอบครัวให้ฟังว่า “ตั้งแต่ ปี 2562 สามีก็เริ่มป่วย แล้วพอมีมีโควิดเข้ามา ร่างกายที่อ่อนแอของเขาจึงค่อนข้างเสี่ยงกับโรคภัย เลยขอให้หยุดออกไปขับรถ หลังจากนั้นหมอก็ตรวจพบโรคประจำตัวอย่างต่อเนื่อง สุขภาพนับวันเลยยิ่งทรุดโทรมลงค่ะ”

 

มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย ดำเนินโครงการมอบถุงยังชีพ ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 อย่างต่อเนื่อง จากการประสานงานของ “สมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ไทย” ทำให้ขยายความช่วยเหลือไปยังพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ด้วยการมอบถุงยังชีพเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 ขณะเดียวกัน ยังได้มอบเงินสงเคราะห์กรณีฉุกเฉิน ให้แก่คุณบุญธรรม ซึ่งเจ็บป่วยจนไม่สามารถทำงานหารายได้จุนเจือครอบครัวได้มาเป็นเวลาเกือบสองปีแล้ว

Untitled-3

มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย มอบเงินสงเคราะห์กรณีฉุกเฉิน ให้แก่คุณบุญธรรม

 

เมื่อเห็นสิ่งของภายในถุงยังชีพ ที่จิตอาสาฉือจี้มอบให้ นอกจากข้าวสารอาหารแห้งที่ช่วยเหลือครอบครัวให้ไม่ต้องกังวลกับความหิวโหยได้นานนับเดือนแล้ว สิ่งที่ “น้องโบ” หลานสาววัย 10 ขวบ ดูจะถูกใจมากที่สุด ก็คงจะเป็น น้ำผลไม้กับขนมข้าวอบกรอบ เพราะภาระค่าใช้จ่ายที่รัดตัว ทำให้สิ่งของธรรมดาสำหรับเด็ก ทั่วไปเหล่านี้ กลายเป็นของฟุ่มเฟือยสำหรับเด็กหญิงตัวน้อย

 

รถแท็กซี่ซึ่งเป็นเครื่องมือทำมาหากิน จอดทิ้งไว้อยู่หน้าบ้านมานานนับปี ภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต และค่ารักษาอันแสนหนักอึ้ง ล้วนตกลงบนบ่าของคุณนวลจันทร์ผู้เป็นภรรยา ที่ทำงานรับจ้างเป็นแม่บ้าน แต่เพียงผู้เดียว บ้านหลังเดิมที่อยู่ก็ผุพังและกำลังจะถูกรื้อถอน ประกอบกับเพื่อสุขอนามัยในการพักรักษาตัวของสามี คุณนวลจันทร์จึงต้องรีบพาคุณบุญธรรม และหลานสาววัย 10 ขวบ ย้ายไปหาห้องเช่าอยู่


ปลายเดือนมกราคม จิตอาสาฉือจี้เป็นตัวแทนนำเงินช่วยเหลือฉุกเฉินไปมอบให้กับคุณบุญธรรม เพื่อช่วยแบ่งเบาความเดือดร้อนของครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นค่าเดินทางไปพบหมอตามนัด หรือตามจำเป็นเมื่ออาการทรุดหนัก รวมถึงเป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการมัดจำห้องเช่า

Untitled-4

จิตอาสาฉือจี้ เดินทางไปเยี่ยมเยียนคุณบุญธรรมที่บ้าน เพื่อสำรวจการให้ความช่วยเหลือระยะยาว

 

Untitled-5

จิตอาสาฉือจี้ สอบถามสภาพความเป็นอยู่ในปัจจุบันของคุณบุญธรรม

 

Untitled-6

คุณสุกัญญา ริมพนาเวศ ประธานบริหารมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย มอบเงินสงเคราะห์ให้คุณบุญธรรมและครอบครัว

 

ต่อมาในเดือนมีนาคม เมื่อจิตอาสาฉือจี้เดินทางไปมอบถุงยังชีพ ช่วยเหลือผู้ขับรถแท็กซี่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่จังหวัดขอนแก่นอีกครั้ง จึงได้แวะไปเยี่ยมเยียนดูแลคุณบุญธรรมและครอบครัวที่บ้าน พร้อมทั้งตกลงรับเป็นเคสที่จะให้การดูแลระยะยาวต่อเนื่องทุกเดือนต่อไป

 

คุณนวลจันทร์ ภรรยาคุณบุญธรรม กล่าวด้วยความตื้นตันใจว่า “ขอบคุณมูลนิธิและทุกคนเป็นอย่างมากค่ะ ที่มาให้ความช่วยเหลือ ความช่วยเหลือตรงนี้เป็นกำลังใจสำคัญจริงๆ เพราะทำให้เราไม่รู้สึกโดดเดี่ยว”

 

แต่ใครจะไปคาดคิดว่า การบอกลาครั้งนั้น จะเป็นการจากลากันตลอดไป เพราะเพียงแค่สองสัปดาห์ต่อมา คุณบุญธรรมก็เสียชีวิตลงอย่างกะทันหัน จิตอาสาดูแลเคียงข้าง จนถึงวาระสุดท้าย ด้วยการมอบเงินช่วยเหลือฌาปนกิจ แบ่งเบาภาระของครอบครัวที่ยังอยู่ข้างหลัง

Untitled-7

เมื่อถึงวาระสุดท้ายของคุณบุญธรรม จิตอาสาฉือจี้ยังคงดูแลอยู่เคียงข้าง ด้วยการมอบเงินช่วยเหลือฌาปนกิจ



   เรื่อง  บุษรา สมบัติ     ภาพ  ราตรี ญาติมาก   สมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ไทย    พิณญ์ธิชา จันทร์สุขศรี

 

มอบสิ่งของช่วยผู้ยากไร้ ในสถานการณ์โควิด-19

20210521 cover

จากการระบาดของโควิด-19 ระลอกเมษายน 2564 รัฐบาลจึงใช้มาตรการต่างๆ เพื่อพยายามป้องกันการระบาด ส่งผลให้กรุงเทพมหานครและจังหวัดใกล้เคียง เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ทว่าภารกิจการดูแลช่วยเหลือผู้ยากไร้ ของจิตอาสาฉือจี้ยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่เคยหยุดพัก


 

ในสถานการณ์เช่นนี้ ความหวาดกลัวต่อการติดเชื้อ ทำให้นับวันผู้คนต่างก็ยิ่งห่างเหินใส่กัน ทว่าความอบอุ่นที่จิตอาสาฉือจี้มอบให้ กลับเป็นที่พึ่งพิงให้ผู้ที่ตกทุกข์ได้ยาก สามารถยืนหยัดสู้ชีวิตต่อไป

คุณฐาปนี ซึ่งยังชีพด้วยการเก็บของเก่าขาย เล่าถึงสถานการณ์ที่ตนเองต้องประสบพบเจอในช่วงนี้ว่า “การระบาดระลอกนี้หนักหนามาก ผู้คนต่างก็หมางเมินใส่กัน เขากลัวเรา เราก็กลัวเขา นี่คือสภาพที่พบเจอในแต่ละวันค่ะ” 

001

คุณฐาปนีเดินทางมารับถุงยังชีพฉือจี้ เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในสถานการณ์โควิด-19 ระบาด

 

คุณสีนนท์ หนึ่งในคนขับรถแท็กซี่ที่มารับถุงยังชีพฉือจี้เล่าถึงความลำบากว่า “รายได้สาหัสสากรรจ์เหมือนกันครับ ทั้งๆ ที่วิ่งรถตลอดทั้งวัน แต่รายได้ก็แทบจะไม่พอค่าเช่า ไม่มีกำไรเลยครับผม” แม้อายุจะล่วงเลยมาถึง 69 ปีแล้ว และออกมาขับรถตั้งแต่บ่าย 2-3 โมง กว่าจะได้กลับบ้านพักผ่อนก็ 5 ทุ่มถึงเที่ยงคืน แต่รายได้ก็แทบไม่พอกับค่าเช่ารถวันละ 500 บาท ครั้งนี้ลูกสาวจึงช่วยเป็นธุระติดต่อขอรับถุงยังชีพจากฉือจี้ให้ หวังว่าจะช่วยบรรเทาความหิวโหยของตนเอง ภรรยาและหลานๆ ได้สักช่วงระยะเวลาหนึ่ง

คุณอัจฉรา ซึ่งเป็นบุตรสาวของคุณสีนนท์เล่าว่า ครอบครัวตนเองก็ลำบาก เนื่องจากต้องดูแลลูกที่ป่วยเป็นโรคไต ทำให้ไม่สามารถออกไปทำงานได้ ทั้งครอบครัวจึงต้องพึ่งรายได้ของสามี เพียงเดือนละ 9,000 บาท เมื่อก่อนยังพอมีค่าโอทีมาช่วยแบ่งเบาบ้าง แต่ตอนนี้ไม่สามารถทำงานล่วงเวลาได้ ทำให้รายรับลดลง แม้จะมีหน่วยงานภาครัฐแวะเวียนมาแจกของบ้าง แต่ตนเองก็ไม่เคยได้รับความช่วยเหลือ

จนกระทั่งเห็นข้อมูลทางโซเชียลมีเดียของฉือจี้ จึงประสานงานขอความช่วยเหลือมาโดยอธิบายว่า “เวลามีการแจกของ เขาจะมีคูปองให้ แต่เขาจะให้เฉพาะคนที่มีบ้านเลขที่ แต่เราแค่เช่าห้องอยู่ จึงไม่เคยได้รับความช่วยเหลือ ดังนั้นวันนี้ได้รับถุงยังชีพฉือจี้ ทำให้รู้สึกดีใจมากค่ะ เพราะทักมาแค่วันเดียว ฉือจี้ก็ตอบตกลงให้มารับเลย" 

002

คุณสีนนท์และคุณอัจฉรา ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 จนรายได้ครอบครัวลดลงเดินทางมาขอรับถุงยังชีพฉือจี้ 

 

003

เพื่อหลีกเลี่ยงการรวมตัวของคนจำนวนมาก จิตอาสาจึงทยอยช่วยกันบรรจุถุงยังชีพ เตรียมมอบช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19

 

ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา เพื่อหลีกเลี่ยงการรวมตัวของคนจำนวนมาก จิตอาสาจึงได้ทยอยช่วยกันบรรจุถุงยังชีพ ซึ่งประกอบด้วยข้าวสาร น้ำมัน น้ำตาล ผงน้ำเต้าหู้ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมข้าวอบกรอบ แปรงสีฟันและสบู่ เพื่อเตรียมมอบให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบต่อไปในวันข้างหน้า

เพื่อปฏิบัติตามมาตรการของภาครัฐ หลีกเลี่ยงการรวมตัวของคนจำนวนมาก ดังนั้นรูปแบบการมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ยากไร้ในแต่ละเดือนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยน จิตอาสาฉือจี้ทุกคนต้องอาศัยปัญญาในการขับเคลื่อนงาน โดยแบ่งกลุ่มออกไปตั้งจุดมอบสิ่งของและเงินสงเคราะห์ตามชุมชนต่างๆ 

004

หลังเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 จิตอาสาฉือจี้แบ่งกลุ่มไปมอบสิ่งของตามพื้นที่ต่างๆ

 

จิตอาสาฉือจี้ คุณเฉินซิ่วเจีย อธิบายว่า “ปกติเราจะบริการรถโดยสาร เพื่อรับส่งผู้ยากไร้ให้เดินทางมาที่สำนักงานฉือจี้ของเรา ทว่าตั้งแต่โควิดระบาดเมื่อปีที่แล้ว เราก็เลยออกไปแจกตามจุดต่างๆ แทนค่ะ”

คุณแก้วตา หนึ่งในครอบครัวที่ฉือจี้ให้การดูแลระยะยาวเล่าว่า “ปกติเราขายของ ก็มีรายได้น้อยอยู่แล้วนะ เมื่อได้รับสิ่งของและเงินช่วยเหลือจากฉือจี้ จึงช่วยประหยัดเงินซื้อข้าวสารได้ ถ้าเราไม่ได้ตรงนี้เราจะลำบากมาก ตอนโควิดระบาดรอบแรก ถึงขั้นที่เราต้องกินมาม่าอย่างเดียวนานเป็นเดือนเลยค่ะ”

เพื่อหลีกเลี่ยงการรวมตัวของคนจำนวนมาก จิตอาสาฉือจี้ในแต่ละพื้นที่ จึงทยอยแบ่งกลุ่มนำสิ่งของไปส่งมอบแก่ครอบครัวผู้ยากไร้ นำความห่วงใยยืนหยัดเคียงข้างให้พวกเขา ก้าวข้ามช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปให้ได้


   เรื่อง   บุษรา สมบัติ     ภาพ  พิณญ์ธิชา จันทร์สุขศรี   ณัฐธยาน์ ธนัทกิตติพงศ์

คลินิกฉือจี้ดูแลสุขภาพ พร้อมมาตรการป้องกันโรค

20220227 cover

เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ.2564 เป็นต้นมา คลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้ จึงได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเป็นแบบออนไลน์ด้วยวิธีการ “เทเลเมดิซีน” ก่อนจะกลับมาเปิดให้บริการออนไซต์อย่างเป็นทางการอีกครั้ง ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2565 ด้วยมาตรการป้องกันโรคที่รัดกุม ทุกคนต้องผ่านการตรวจ ATK และมีผลเป็นลบ รวมถึงใช้การนัดหมายล่วงหน้า แบ่งช่วงเวลาเข้ารับบริการ เพื่อกระจายจำนวนผู้ป่วย ไม่ให้เกิดการหนาแน่น

รวมจิตศรัทธา สรงน้ำพระออนไลน์

 

20210509cover

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้รัฐบาลประกาศคุมเข้มจังหวัดพื้นที่สีแดงทั้ง 6 จังหวัด โดยหลักคือ ห้ามการดําเนินการหรือจัดกิจกรรมหรือที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค ซึ่งหมายรวมถึงกิจกรรมสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม หรืองานเฉลิมฉลองประจำปีต่างๆ เป็นต้น

มอบถุงยังชีพแท็กซี่ แบ่งปันคติคำสอน นำพาใจผู้คนบริสุทธิ์

 

20220122-27cover

 

“บริเวณกระจกด้านหลังหรือด้านหน้าจะมีการติดสติ๊กเกอร์ ซึ่งเป็นคติคำสอน เพื่อเป็นการเตือนสติเราระหว่างใช้รถ ใช้ถนน หรือผู้คนพบเห็นได้อ่านแล้ว จะได้เตือนสติให้ฉุกคิด และให้กำลังใจทุกคน ต่อสู้ไป”

ตัวแทนผู้ขับแท็กซี่ประชาสัมพันธ์ผ่านไมโครโฟนในระหว่างที่พี่น้องผู้ขับแท็กซี่กำลังต่อแถวเข้ารับถุงยังชีพ เพื่อให้ทุกคนร่วมแบ่งปัน “วาทะจิ้งซือ” อันเป็นคำสอนของท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน ผู้ก่อตั้งมูลนิธิพุทธฉือจี้ ซึ่งได้เรียนรู้จากการบำเพ็ญเพียร ผ่านการติดสติ๊กเกอร์บนรถแท็กซี่ โดยทุกคนสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ชะล้างจิตใจตนเองให้บริสุทธิ์ เป็นแรงกระเพื่อมอันดีสรรค์สร้างสังคมให้น่าอยู่


ถุงยังชีพบรรเทาปัญหาปากท้อง “วาทะจิ้งซือ” ช่วยจรรโลงใจ
ผู้ขับแท็กซี่ล้วนยินดีให้จิตอาสานำสติ๊กเกอร์วาทะจิ้งซือติดบนรถ เพราะทุกคนต่างเห็นว่าเป็นคติคำสอนที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ยากลำบากเช่นนี้

 

20220127-045-bydatchanee
จิตอาสาติดสติ๊กเกอร์วาทะจิ้งซือบนรถแท็กซี่ เพื่อแบ่งปันคติคำสอนจากท่านธรรมาจารย์ ชะล้างจิตใจผู้คนให้บริสุทธิ์

 

คุณสุวรรณา ผู้ขับแท็กซี่ แบ่งปันว่า “คติคำสอนจิ้งซืออันนี้เอาไว้เตือนสติคุณ มองเห็นปุ๊บ ก็รู้สึกว่ามีสิ่งที่เตือนใจ คิดได้ว่าเราจะต้องทำอะไรต่อไป เราจะต้องปฏิบัติตัวยังไงในอนาคต และก็ทำวันนี้ให้ดีที่สุดค่ะ”


คุณอุบล ผู้ขับแท็กซี่ แบ่งปันว่า “เศรษฐกิจอย่างนี้ คนเราก็เครียดในการหาเงินอยู่แล้ว ได้อ่าน ได้ศึกษาคติคำสอน ก็น่าจะช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจได้ค่ะ”

 

คุณวิทยา ผู้ขับแท็กซี่ ได้รับถุงยังชีพ ผ่านการติดตั้งกระปุกออมบุญ และติดสติ๊กเกอร์บนกระจกรถด้านหลังไปแล้วในช่วงเช้าของวันจัดกิจกรรม จากนั้นจึงกลับไปขับแท็กซี่รับส่งผู้โดยสารต่อ เพราะชื่นชอบวาทะจิ้งซือ คุณวิทยาจึงกลับมาอีกครั้งในตอนบ่าย เพื่อขอให้จิตอาสาติดวาทะจิ้งซืออีกอันในกระจกรถด้านหน้า


คุณวิทยาอ่านวาทะจิ้งซือ และแบ่งปันความรู้สึกว่า “ผู้ที่มีใจกว้างและเห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ คือ ผู้มีความสุขที่สุด จริงครับ เรารักชีวิตเราไหม เราก็รัก สัตว์เขาก็รักชีวิตของเขา เราก็ควรที่จะมีเมตตาจิตต่อสัตว์ต่างๆครับ”


คุณจางฮุ่ยเจิน จิตอาสาฉือจี้ เน้นย้ำถึงจุดประสงค์ของการแบ่งปันวาทะจิ้งซือว่า “วาทะจิ้งซือสามารถทำให้จิตใจเราสงบ เวลาที่เราขับรถบนท้องถนน หรือรู้สึกหงุดหงิดใจ เมื่อเห็นวาทะจิ้งซือที่เราติดบนรถแท็กซี่ ก็จะทำให้จิตใจเราสงบลง นี่ก็คือเป้าหมายของการชะล้างจิตใจผู้คนให้บริสุทธิ์ค่ะ ”

 

20220122-083-bydatchanee
คุณวิทยา ผู้ขับแท็กซี่ ติดสติ๊กเกอร์วาทะจิ้งซือทั้งด้านหน้าและด้านหลังกระจกรถ เพื่อเป็นคติเตือนใจตัวเอง และชำระล้างจิตใจผู้คนให้บริสุทธิ์ไปในขณะเดียวกัน

 

ร่วมเป็นสะพานบุญ รวมน้ำใจจากผู้คน ช่วยเหลือสังคม

ในระหว่างมอบถุงยังชีพนั้น จิตอาสายังติดตั้งกระปุกออมบุญให้รถแท็กซี่ และแบ่งปันแนวคิดการสั่งสมความดีในกระปุกออมบุญ ทั้งยังเชิญชวนผู้ขับแท็กซี่ร่วมเป็น “สะพานบุญ” บอกบุญกับผู้โดยสาร เชิญชวนผู้คนบริจาคน้ำใจตนช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากต่อไป

 

“หนึ่งบาทไม่น้อยค่ะ ถ้าลูกค้าหยอดใส่กระปุกออมบุญอันนี้ เราก็ยินดีค่ะ ขอเชิญชวนทุกคนร่วมบุญกันนะคะ” จิตอาสาชาวไต้หวัน พูดเชิญชวนด้วยภาษาไทย ถ้อยคำอาจจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์เหมือนกับเจ้าของภาษาเท่าใดนัก แต่ก็เข้าใจถึงความหมายที่สื่อว่า ไม่ว่าจะเป็นเงินจำนวนน้อยหรือมากล้วนสำคัญ สามารถรวมกันเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ได้

 

20220127-222-bylek
ในขณะติดตั้งกระปุกออมบุญในรถแท็กซี่ จิตอาสาก็แบ่งปันแนวคิดสั่งสมความดีผ่านกระปุกออมบุญ และเชิญชวนผู้ขับแท็กซี่ร่วมออมเงินน้อย สร้างบุญใหญ่

 

20220122-021-bylek
ผู้ขับแท็กซี่ล้วนยินดีร่วมทำหน้าที่เป็นสะพานบุญ ช่วยบอกบุญเชิญชวนผู้โดยสารร่วมทำความดีผ่านการหยอดน้ำใจในกระปุกออมบุญ

 

ผู้ขับแท็กซี่ล้วนยินดีเป็นสะพานบุญ ช่วยทำหน้าที่บอกต่อ เชิญชวญผู้คนร่วมทำความดีผ่านกระปุกออมบุญ นายจันทร์ หวนสันเทียะ ประธานชุมนุมสหกรณ์บริการเดินรถแห่งประเทศไทย จำกัด เชิญชวนผู้คนร่วมออมเงินน้อย สร้างบุญใหญ่ ว่า “ขอเชิญชวนผู้ใจบุญทุกท่าน เติมกระปุกใจบุญ เพื่อจะได้ให้ฉือจี้นำไปขับเคลื่อน แจกจ่ายคนที่ยากไร้ต่อไป”

 

20220122-218-bylek
ส่งมอบถุงยังชีพและข้าวสาร ส่งต่อคำอวยพรจากฉือจี้

 

นี่คือเรื่องราวจากกิจกรรมมอบถุงยังชีพให้กับผู้ขับแท็กซี่ โดย 22 มกราคม ที่ผ่านมา จิตอาสาได้มอบถุงยังชีพและข้าวสารให้กับผู้ขับแท็กซี่ที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์มิตรแท้แท็กซี่ ต่อมา 27 มกราคม จิตอาสาเดินทางไปยัง จ.ขอนแก่น ซึ่งมีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 400 กว่ากิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 7 ชั่วโมง พร้อมด้วยถุงยังชีพและข้าวสาร เพื่อไปส่งถึงมือผู้ขับแท็กซี่ในพื้นที่

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า น้ำใจของฉือจี้จะสามารถบรรเทาความเดือดร้อน เพิ่มพูนความสุข แบ่งเบาปัญหาเรื่องปากท้องได้ ซึ่งกิจกรรมมอบถุงยังชีพให้ผู้ขับแท็กซี่ทั้ง 2 รอบดังกล่าว มีผู้ได้รับความช่วยเหลือ รวม 430 คน

 

 


                  เรื่อง  ดรรชนี สุระเทพ      ภาพ  พิณญ์ธิชา จันทร์สุขศรี,บุษรา สมบัติ,ดรรชนี สุระเทพ

 

 

บริการจัดส่งยารักษา บรรเทาทุกข์ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

 

20210424cover

 

“เมษายน” เดือนแห่งเทศกาลสงกรานต์ปีใหม่ไทย ในช่วงเวลานี้ความสนุกสนานครึกครื้นถูกแทนที่ด้วยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยเย็นวันที่ 8 เมษายน จิตอาสาฉือจี้แผนกงานพยาบาลได้ทราบว่า มีประชาชนเดินทางไปตรวจเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาลเป็นจำนวนมาก ดังนั้น 9 จึงเร่งจัดการประชุมกับบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อร่วมประเมินสถานการณ์โรคระบาด และนำมาตรการป้องกันการติดเชื้อต่างๆมาปรับใช้ในคลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้ ซึ่งมีมติจากที่ประชุมว่า จะเร่งดำเนินการสะสางผู้ป่วยที่มีนัดหมายพบแพทย์ในวันที่ 10 เมษายน และรวบรวมรายชื่อผู้ป่วยโรคเรื้อรังจากระบบเวชระเบียนของคลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้

ยื่นมือช่วยเหลือ เคียงข้างผู้ลี้ภัยผ่านวิกฤติ

 

20211208-10cover

 

มอบสิ่งของบรรเทาทุกข์ เคียงข้างผู้ลี้ภัยก้าวผ่านวิกฤติ
8-10 ธันวาคม 2564 มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย จัดกิจกรรมมอบถุงยังชีพและเงินสงเคราะห์ให้กับผู้ลี้ภัย ทั้งในและนอกสถานที่ รวม 4 สถานที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และอวยพรเนื่องในเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงในเร็วๆนี้

 

20211208-01-bybudsara
ล่ามแปลภาษาช่วยเน้นย้ำให้ผู้ลี้ภัยเว้นระยะห่างทางสังคม และให้ทุกคนวัดอุณหภูมิร่างกาย รับแอลกอฮอล์ล้างมือฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้าสู่สถานที่จัดกิจกรรม


ทุกสถานที่ที่ฉือจี้จัดกิจกรรม ล้วนมีผู้ลี้ภัยเดินทางมารอรับความช่วยเหลือก่อนเวลานัดหมายเสมอ พร้อมกับใจที่เปี่ยมด้วยความหวัง และฉือจี้ยังคงปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด โดยให้ทุกคนวัดอุณหภูมิร่างกาย รับแอลกอฮอล์ล้างมือฆ่าเชื้อโรค พร้อมทั้งกำชับให้ทุกคนสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อหรือติดเชื้อโควิด

 

20211208-008-bydatchanee
เจ้าหน้าที่ค้นหาผู้มีสิทธิ์ได้รับเงินสงเคราะห์และถุงยังชีพด้วยหมายเลขบนบัตร UNHCR หรือหมายเลขหนังสือเดินทาง

 

โดยก่อนที่จะมีการจัดกิจกรรมดังกล่าว จิตอาสาได้ดำเนินการรวบรวมรายชื่อผู้ลี้ภัยและบันทึกลงในระบบเรียบร้อยแล้ว ดังนั้น ในวันนัดหมายรับเงินสงเคราะห์และถุงยังชีพ ผู้ลี้ภัยก็เพียงยื่นบัตร UNHCR หรือหนังสือเดินทางให้เจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ก็จะดำเนินการค้นหารายชื่อผู้มีสิทธิ์ด้วยหมายเลขบนบัตร UNHCR หรือหมายเลขของหนังสือเดินทาง หากพบว่า “มีรายชื่อ” ก็สามารถรับเงินสงเคราะห์และถุงยังชีพได้ตามลำดับ หากพบว่า “ไม่มีรายชื่อ” ก็ค้นหาข้อผิดพลาดหรือปัญหาเพิ่มเติมกับเจ้าหน้าที่ล่ามแปลภาษาที่จุดอำนวยการ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความแออัดในจุดบริการต่างๆ และทำให้กิจกรรมราบรื่นมากยิ่งขึ้น

 

ยื่นมือให้ความช่วยเหลือ มอบ “แสงสว่าง” นำพาชีวิตผู้ลี้ภัย
“การให้ความช่วยเหลือ” เปรียบเหมือนดั่ง “แสงสว่าง” ซึ่งไม่เพียงนำพาความสว่าง หากยังทำให้เรารู้สึกได้ถึงความอบอุ่น

 

20211208-19-bybudsara
จิตอาสามอบเงินสงเคราะห์ให้กับผู้ลี้ภัย พร้อมทั้งกล่าวคำอวรพรด้วยความปรารถนา

 

คุณรูเทนโด ผู้ลี้ภัยชาวซิมบับเว อพยพมาอาศัยในประเทศไทยเป็นเวลา 2 ปีแล้ว ครอบครัวของเธอเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ มีสมาชิกทั้งหมด 9 คน เป็นผู้ใหญ่ 4 คน และเด็ก 5 คน ด้วยสถานะผู้ลี้ภัย เธอจึงไม่สามารถทำงาน ไม่มีรายได้ ทำได้เพียงรอรับความช่วยเหลือจากองค์กรการกุศลต่างๆ ครั้งนี้เธอรู้สึกดีใจมากที่ได้รับการช่วยเหลือจากฉือจี้ คุณรูเทนโด แบ่งปันความรู้สึกว่า “คุณรู้ไหมว่า มันยากนะที่ผู้ลี้ภัยอย่างเราๆจะได้รับการช่วยเหลือเรื่องอาหารการกิน และก็ยากที่จะมีโอกาสในการทำงาน ฉันคิดว่าฉือจี้ช่วยเหลือพวกเรามากมายจริงๆค่ะ”


คุณกาลามาลักสมี ผู้ลี้ภัยชาวศรีลังกา ซึ่งเมื่อได้รับเงินสงเคราะห์และถุงยังชีพแล้ว เธอก็ยุ่งอยู่กับการจัดสิ่งของเพื่อสะดวกต่อการขนกลับบ้าน เมื่อพบเจอกับจิตอาสา เธอก็เงยหน้าขึ้นมาทักทายและสนทนา หลังจากพูดคุยกับเธอแล้วจึงทราบว่า คุณกาลามาลักสมี เป็นหนึ่งในครอบครัวผู้ยากไร้ที่ฉือจี้ให้การช่วยเหลือระยะยาว ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 แม้ว่าจะได้รับเงินสงเคราะห์จากฉือจี้ทุกๆเดือน ทว่า ด้วยบทบาทของคุณแม่เลี้ยงเดี่ยว ซึ่งต้องเลี้ยงดูลูกสองคน ไม่มีงาน ไม่มีรายได้ใดๆ ทำให้การใช้ชีวิตมิใช่เรื่องง่ายนัก โดยเฉพาะช่วงเวลาที่สถานการณ์แพร่ระบาดหนักของโรคโควิด “ชีวิตลำบากมากๆเลยค่ะ ปัญหาด้านสุขภาพก็มี ปัญหาค่าเช่าห้องก็มี ลำบากจริงค่ะ” คุณกาลามาลักสมี แบ่งปันช่วงเวลาที่ยากลำบากด้วยน้ำตาคลอเบ้า


ปัญหาต่างๆที่ถาโถม ทำให้คุณกาลามาลักสมีรู้สึกเครียดไม่น้อย ทว่า เมื่อได้มาสถานธรรมจิ้งซือ เธอก็รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น คุณกาลามาลักสมี แบ่งปันความรู้สึกว่า “วันนี้รู้สึกดีใจมากๆค่ะ ขอบคุณในทุกความช่วยเหลือที่ฉือจี้มอบให้ เดิมทีฉันรู้สึกทุกข์ใจมาก แต่ตอนนี้เมื่อได้มาฉือจี้แล้ว ฉันก็รู้สึกดีขึ้นค่ะ”


มอบน้ำใจ ช่วยเหลือผู้ลี้ภัย “อิ่มท้อง” และ “อุ่นใจ”

ภายในถุงยังชีพของฉือจี้ประกอบไปด้วย ข้าวสารหรือแป้ง น้ำมัน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซอสปรุงรส น้ำผลไม้ สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน เป็นต้น ซึ่งเป็นข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน

 

20211208-477-bylek
จิตอาสาด้านหนึ่งมอบถุงยังชีพให้กับผู้ลี้ภัย ส่วนจิตอาสาอีกด้านหนึ่งก็พนมไหว้กล่าวคำอวยพร

 

20211208-10-combination 

จิตอาสามอบถุงยังชีพให้กับผู้ลี้ภัย พร้อมทั้งอวยพรด้วยความจริงใจ


คุณบลินห์ ผู้ลี้ภัยชาวเวียดนาม มีสมาชิกในครอบครัว 4 คน ได้แก่ สามี ลูก 2 คนและตัวเธอเอง เธอและครอบครัวอาศัยอยู่ในต่างถิ่นฐานบ้านเกิดด้วยความลำบาก เคราะห์ซ้ำกรรมซัดสามียังป่วยเป็นโรคนิ่ว ซึ่งเคยไปพบแพทย์แล้ว และแพทย์ได้แนะนำให้รับการผ่าตัดรักษา ทว่า ด้วยสถานะผู้ลี้ภัย ไม่มีสวัสดิการใดๆรองรับค่ารักษาพยาบาล หากต้องผ่าตัดพวกเขาก็ต้องจ่ายค่ารักษาเอง เพราะไม่มีเงินมากพอ สามีจึงต้องทนทุกข์กับความเจ็บป่วย อย่างไรก็ตาม สามีก็ยังคงทำงานรับจ้างทั่วไป เพื่อหาเงินมาจุนเจือสี่ชีวิตในครอบครัว ซึ่งรายได้ก็ไม่แน่นอน เนื่องจากสามีได้ทำงานเพียงสัปดาห์ละ 2-3 วัน โดยจะมีคนมาเรียกให้ไปทำงานก่อสร้างหรือกวาดถนน แต่บางครั้งก็ตกงานเป็นเวลานานหลายวัน เช่นในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่มีใครมาเรียกให้ไปทำงานเลย แล้วเช่นนี้จะมีเงินเข้ากระเป๋าได้อย่างไรล่ะ

จิตอาสาจึงสอบถามคุณบลินห์ว่า “ไม่มีเงินอย่างนี้ คุณบลินห์และครอบครัวใช้ชีวิตกันอย่างไรล่ะ” คุณบลินห์ตอบด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า “เราก็ได้ข้าวสาร อาหารแห้งที่ฉือจี้เคยแจกก่อนหน้านี้ประทังชีวิตไปค่ะ” เมื่อได้รับการช่วยเหลือจากฉือจี้อีกครั้ง คุณบลินห์ก็รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง เปิดดูสิ่งของภายในถุงยังชีพด้วยความดีใจ ราวกับว่ากำลังแกะกล่องของขวัญที่รอคอย “ดีใจค่ะ วันนี้ขอบคุณมากที่ฉือจี้ให้ตังค์ ให้ข้าวสาร และก็ให้บะหมี่ ฯลฯ ขอบคุณมากค่ะ” คุณบลินห์แบ่งปันความรู้สึก

 

มอบเงินสงคราะห์ ช่วยผู้ลี้ภัยอยู่อาศัยด้วยความอุ่นใจ

ครั้งแรกกับการมอบเงินสงเคราะห์ให้กับผู้ลี้ภัย ฉือจี้ก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะสามารถแบ่งเบาภาระ แบ่งเบาความทุกข์กังวล และสร้างความอุ่นใจให้พวกเขามากยิ่งขึ้น

 

20211208-110-bylek
จิตอาสาอธิบายถึงเนื้อหาและขั้นตอนกิจกรรมมอบสิ่งของบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ลี้ภัยกับตัวแทนของสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย

 

20211208-141-bylek
ตัวแทนของสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย (ขวา) มอบถุงยังชีพให้กับผู้ลี้ภัย เพือร่วมเป็นประจักษ์พยานในความรักอันยิ่งใหญ่

 

คุณเยิม ผู้ลี้ภัยชาวเวียดนาม ลี้ภัยมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยนานถึง 14 ปีแล้ว จึงค่อนข้างคุ้นเคยกับประเทศไทยเป็นอย่างดี และสื่อสารภาษาไทยอย่างคล่องแคล่ว คุณเยิมทำงานรับจ้างทั่วไป โดยบางครั้งก็ทำงานก่อสร้าง บางครั้งก็ทำงานเป็นล่ามภาษาให้กับองค์กรการกุศลที่ต้องการสื่อสารกับผู้ลี้ภัยชาวเวียดนาม เป็นต้น รายได้ไม่มั่นคง โดยเฉพาะช่วงโควิดระบาดหนัก คนไทยในพื้นที่ต่างกลัวว่าชาวต่างชาติจะนำเชื้อโรคมาแพร่ระบาด จึงทำให้ช่วงเวลานั้น งานก่อสร้างไม่รับชาวต่างด้าวทำงาน ดังนั้น เขาจึงตกงาน ไม่มีรายได้ จนต้องค้างจ่ายค่าเช่าห้อง


ตอนนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดเริ่มดีขึ้น คุณเยิมมีงานทำบ้างแล้ว แต่มีรายได้เพียงพอแค่สำหรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของสมาชิกในครอบครัว 3 คนเท่านั้น ส่วนค่าเช่าห้องก็ยังคงค้างจ่ายเช่นเดิม ดังนั้น กิจกรรมมอบเงินสงเคราะห์และถุงยังชีพของฉือจี้ จึงทำให้คุณเยิมรู้สึกคลายความกังวลและความทุกข์ในใจ โดยคุณเยิมบอกว่าจะนำเงินที่ได้รับไปจ่ายค่าห้องที่ค้างจ่าย และกล่าวขอบคุณฉือจี้ว่า “ฉือจี้มาช่วยแบบนี้ เราก็ดีใจมาก เพราะทำให้เรามีของกิน และมีเงินใช้ด้วยอ่ะครับ”

 

จุดประกายความดีงามด้วยความรัก
การให้ความช่วยเหลือด้วยความจริงใจเช่นนี้ ไม่เพียงทำให้ผู้ได้รับความช่วยเหลือรู้สึกซาบซึ้งใจ หากยังจุดประกายความดีงามภายในจิตใจของพวกเขาได้ไม่น้อย

 

20211210-098-bylek
นอกจากจัดกิจกรรมที่สถานธรรมจิ้งซือแล้ว จิตอาสายังลงพื้นที่จัดกิจกรรมมอบสิ่งของบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ลี้ภัยในชุมชนต่างๆ



20211210-054-bylek
จิตอาสาลงพื้นที่สู่ชุมชน เพื่อนำเงินสงเคราะห์และถุงยังชีพไปมอบถึงมือผู้ลี้ภัยด้วยตัวเอง


ซาบีฮา สาววัยวัย 17 ผู้ลี้ภัยชาวศรีลังกา แม้จะใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในต่างถิ่นฐานบ้านเกิด แต่เธอก็มีความฝันอยากเป็นแพทย์ ภายใต้การช่วยเหลือของ BRC ทำให้เธอสามารถเรียนในโรงเรียนรัฐได้ ซึ่งตอนนี้เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สามารถฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ เพื่อสานฝันของตัวเอง ซาบีฮายังเรียนภาษาอังกฤษออนไลน์ด้วยตัวเอง เพื่อเป็นทักษะสำหรับใช้เรียนแพทย์ได้ในอนาคต


ซาบีฮาและครอบครัวอพยพมาอาศัยในประเทศไทย 7 ปีแล้ว แต่พ่อ แม่และพี่ชาย ถูกจับกุมและถูกผลักดันกลับประเทศเมื่อหลายปีก่อน ตอนนี้จึงมีเพียงพี่ชาย พี่สาว และเธอ รวม 3 คน ยังอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยปกติพวกเขามีรายได้จากการรับจ้างทั่วไป โดยบางครั้งจะมีคนจ้างไปช่วยงานทาสี ทว่า ในช่วงเวลาที่โควิดระบาดหนัก ไม่มีงาน ไม่มีรายได้ใดๆเลย แต่โชคดีที่ยังมีถุงยังชีพของฉือจี้ ทำให้พวกเขามีข้าวสาร อาหารแห้ง เพียงพอให้อิ่มท้อง และยังมีผู้ใจบุญคอยหยิบยื่นความช่วยเหลืออยู่เสมอ ทำให้พวกเขาสามารถผ่านวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้มาได้


ชีวิตผู้ลี้ภัยที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากต่างๆนานา มีผู้ใจบุญให้ความช่วยเหลืออยู่เสมอ และมีฉือจี้คอยเคียงข้าง ทำให้สาวน้อยซาบีฮารู้สึกซาบซึ้งใจยิ่งนัก และเธอก็หวังว่าสักวันหนึ่งจะสามารถตอบแทนสังคมได้ ซาบีฮา แบ่งปันความรู้สึกว่า “ตอนที่ลำบากฉือจี้มาช่วยหนู หนูขอบคุณมากๆนะคะ ตอนนี้หนูพอที่จะดูแลตัวเองได้ หนูสัญญาว่า ต่อไปหนูโตแล้ว หนูจะช่วยเหลือคนที่ไม่มีอาหาร หรือคนไม่มีบ้านค่ะ ”


20211209-017-bydatchanee
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเงินสงเคราะห์และถุงยังชีพที่ฉือจี้มอบให้ จะสามารถเคียงข้างผู้ลี้ภัยก้าวผ่านความลำบากได้อย่างอุ่นใจมากขึ้น

20211208-112-bylek
เมื่อได้รับเงินสงเคราะห์และถุงยังชีพแล้ว ผู้ลี้ภัยก็เดินทางกลับบ้านอย่างมีความสุข

 

เงินสงเคราะห์และถุงยังชีพแต่ละชุดส่งมอบถึงมือผู้ลี้ภัยทีละคน พร้อมกับคำอวยพรด้วยความปรารถนาดีของจิตอาสา ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า น้ำใจของฉือจี้จะเป็นดั่ง “แสงสว่าง” นำทางผู้ลี้ภัยเดินออกจากความมืดมน หลุดพ้นจากความลำบากขัดสนทั้งปวง สู่ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น

 

 


                  เรื่อง  ดรรชนี สุระเทพ      ภาพ  พิณญ์ธิชา จันทร์สุขศรี,บุษรา สมบัติ,ดรรชนี สุระเทพ

 

 

 

 

ช่วยทำความสะอาดบ้านพัก ดูแลความเป็นอยู่ผู้ยากไร้

 

20210410 cover

จิตอาสาฉือจี้นำอุปกรณ์ทำความสะอาด และเครื่องนอนที่จัดซื้อมาใหม่ เดินทางไปยังบ้านของคุณนิวัตร์ เพื่อช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่พักอาศัย พร้อมทั้งเติมเต็มกำลังใจ ให้ยืนหยัดสู้กับโรคทางกายที่ยังรุมเร้าต่อไป

จากการมอบถุงยังชีพแท็กซี่ สู่การช่วยเหลือด้านรักษาพยาบาล

 



20211116cover


จากการมอบถุงยังชีพสู่การให้ความช่วยเหลือด้านการกุศลและด้านการรักษาพยาบาล ดังนั้น กิจกรรมมอบถุงยังชีพให้กับผู้ขับแท็กซี่ เมื่อ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา จึงไม่เพียงเห็นถึงภาพการมอบถุงยังชีพ หากยังเห็นความรักอันยิ่งใหญ่ของฉือจี้ ขยายแผ่กว้างมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ให้กำลังใจพวกเขาฟื้นฟูชีวิตจากพิษโรคระบาดโควิด-19


                  

 

20211116-056-bydatchanee
กิจกรรมมอบถุงยังชีพให้กับผู้ขับแท็กซี่ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ในขณะที่จิตอาสามอบถุงยังชีพนั้น ยังเชิญชวนผู้ขับแท็กซี่ร่วมทำความดี สะสมน้ำใจวันละเล็กละน้อยในกระปุกออมบุญ

 

20211116-013-bydatchanee

จิตอาสาติดตั้งกระปุกออมบุญในรถแท็กซี่ เพื่อให้จุดประกายกุศลจิตและเชิญชวนผู้คนมาร่วมทำความดีผ่านกระปุกออมบุญ

 

20211116-069-bydatchanee

การช่วยเหลือของฉือจี้มิใช่เพียงการมอบสิ่งของเท่านั้น หากยังมอบเงินช่วยเหลือฉุกเฉินให้กับผู้ขับแท็กซี่ที่เจ็บป่วย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่พวกเขา

 

20211116-093-bydatchanee

ผู้ขับแท็กซี่นำกระปุกออมบุญคืนสู่เหย้า บริจาคน้ำใจที่สั่งสมวันละเล็กวันละน้อยให้ฉือจี้ นำไปช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป

 

ขยาย “ความรักอันยิ่งใหญ่” สู่การให้ความช่วยเหลือครอบคลุมทุกด้าน

คุณบุญเลิศ ผู้ขับแท็กซี่ วัย 46 ปี ประกอบอาชีพขับแท็กซี่มานานถึง 20 กว่าปีแล้ว และเป็นหนึ่งผู้ได้รับผลกระทบหนักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในช่วงที่โควิดระบาดหนักนั้น จำนวนผู้โดยสารต่างชาติลดลงเหลือศูนย์ ในขณะที่ผู้โดยสารชาวไทยก็เดินทางออกจากบ้านน้อยลง แต่ละวันค่าใช้จ่ายแทบจะมากกว่ารายได้ ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ ลำบากหนักหนายากเกินบรรยาย


ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน ประเทศไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำโดยไม่ต้องกักตัว สร้างความหวังให้ผู้ขับแท็กซี่ไม่น้อย ทว่า อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตาในระยะนี้ ก็ทำให้คุณบุญเลิศรู้สึกกังวลถึงความปลอดภัยในขณะขับขี่ “อาการที่เป็นมันก็มีอุปสรรคในการทำงาน เพราะเราต้องใช้สายตา ต้องขับรถตั้งแต่เช้า ตอนเช้าก็มองไม่ค่อยชัด พอสายๆแดดส่องก็น้ำตาก็ไหล มันมองไม่ค่อยชัดครับ”

 

boonlert2
อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตาในระยะนี้ ก็ทำให้คุณบุญเลิศรู้สึกกังวลถึงความปลอดภัยในขณะขับขี่


แม้ว่าคุณบุญเลิศอยากจะไปโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาสักเพียงใด ทว่า ภาพความแออัดในโรงพยาบาลรัฐ ซึ่งมีผู้ป่วยรอรับบริการเป็นจำนวนมาก อีกทั้งต้องใช้เวลาเกือบทั้งวันกว่าจะแล้วเสร็จ ทำให้คุณบุญเลิศลังเลใจ เพราะหากไปพบแพทย์ ก็เท่ากับรายได้จากการขับแท็กซี่หายไป 1 วัน


กิจกรรมมอบถุงยังชีพให้กับผู้ขับแท็กซี่ เมื่อ 28-29 ตุลาคม ที่ผ่านมา ทำให้คุณบุญเลิศได้รู้จักฉือจี้ และจากการบอกเล่าของประธานสมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ไทย ยังทำให้ทราบว่า มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย เปิดให้บริการ “คลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้” โดยเปิดให้ลงทะเบียนจองคิวออนไลน์ เพื่อลดความแออัดของผู้ป่วยที่มารับบริการ และลดระยะเวลารอแพบแพทย์ ดังนั้น คุณบุญเลิศจึงขอความช่วยเหลือมายังฉือจี้ เมื่อจิตอาสาทราบแล้ว จึงเร่งดำเนินการให้คุณบุญเลิศดำเนินการลงทะเบียนจองคิวออนไลน์ เมื่อถึงวันนัดหมาย คุณบุญเลิศเพียงจอดรถข้างทาง พักให้บริการขับแท็กซี่ชั่วคราว และพบแพทย์ผ่านการวีดีโอคอนเฟอเรนซ์

 

20211031-02-bysingharat

คุณบุญเลิศรับบริการรักษาผ่านการวีดีโอคอนเฟอเรนซ์

 


“ตอนนี้คือพยายามเลี่ยงไม่ให้โดนแสงเดดกับโดนลมตีเยอะๆ เดี๋ยวมันจะยิ่งอักเสบนะครับ เดี๋ยวหมอให้ยาหยอดตาแก้ระคายเคืองไปก่อนนะครับ” แพทย์รับฟังคุณบุญเลิศบอกเล่าอาการ พร้อมทั้งบริการตรวจวินิจฉัยและให้คำแนะนำด้วยความใส่ใจ


“แพทย์ได้วินิจฉัยว่า คุณบุญเลิศมีอาการในลักษณะเยื่อตาแห้ง ก็เลยจ่ายยาหยอดตา หรือน้ำตาเทียมให้ค่ะ” คุณมรินธรณ์ เสมรอด เจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ เล่าถึงอาการของคุณบุญเลิศ

 

จากการมอบถุงยังชีพ สู่การ “รักษาโรค รักษาใจ”

นอกจากนี้ แพทย์ยังเขียนใบส่งตัว เพื่อส่งตัวให้คุณบุญเลิศไปตรวจตาอย่างละเอียดที่โรงพยาบาลราชวิถี หลังผ่านการตรวจอย่างละเอียดจากจักษุแพทย์แล้วพบว่า คุณบุญเลิศมีอาการเป็นต้อหินในระยะเริ่มต้น และแพทย์แนะนำให้หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด ลมพัดตาโดยตรง ลดการจ้องโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ เพื่อไม่กระตุ้นให้อาการของโรครุนแรงไปมากกว่านี้

 

20211102-007-bydatchanee
เจ้าหน้าที่มอบใบส่งตัวให้กับคุณบุญเลิศ เพื่อนำไปรับการตรวจตาอย่างละเอียดที่โรงพยาบาลราชวิถี


boonlert
หลังผ่านการตรวจอย่างละเอียดจากจักษุแพทย์แล้วพบว่า คุณบุญเลิศมีอาการเป็นต้อหินในระยะเริ่มต้น และแพทย์แนะนำให้ดูแลดวงตา เพื่อไม่กระตุ้นให้อาการของโรครุนแรงไปมากกว่านี้


คุณบุญเลิศปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด ทั้งหยอดตาด้วยน้ำตาเทียมและดูแลดวงตาเป็นอย่างดี สองสัปดาห์ต่อมา อาการก็เริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้คุณบุญเลิศรู้สึกสบายใจในขณะขับขี่มากยิ่งขึ้น หลังจากได้รับถุงยังชีพ และได้รับการช่วยเหลือด้านการรักษาพยาบาล ซึ่งทุกขั้นตอนล้วนมีจิตอาสาให้การช่วยเหลือและเคียงข้างด้วยความใส่ใจ ทำให้คุณบุญเลิศรู้สึกประทับใจ และแบ่งปันความรู้สึกว่า “ถึงจะเป็นสิ่งเล็กๆน้อย แต่ว่าผมก็ปลื้มใจนะ รู้สึกดีใจที่ยังมีมูลนิธิฯดูแลเหมือนกับครอบครัวเดียวกัน”


“ผู้ให้” ย่อมมีความสุขมากกว่าผู้รับ

ทุกครั้งของการสตาร์ทรถมิใช่แค่เพียงการขับแท็กซี่เลี้ยงชีพได้เริ่มต้นแล้วเท่านั้น หากยังหมายถึงวัฏจักรแห่งความดีได้หมุนเวียนไปไม่มีสิ้นสุด คุณบุญเลิศแบ่งปันความรู้สึกว่า “แต่ก่อนเราก็หยอดเงินใส่กระปุกออมสินของตัวเราเอง แต่เดี๋ยวนี้เราก็หยอดใส่กระปุกออมบุญของฉือจี้ คือตื่นเช้ามาก็หยอดก่อน 15 บาท 20 บาท พอช่วงสายๆ ถ้ามีผู้โดยสารให้เศษเหรียญ 5 บาท 7 บาท ผมก็หยอดใส่ไปด้วยครับ”

 

20211102-009-bydatchanee
คุณบุญเลิศนำกระปุกออมบุญติดไว้ในรถเสมอ เพื่อเป็นสะพานบุญ เชิญชวนผู้โดยสารร่วมบริจาคน้ำใจ สั่งสมความดีในทุกๆวัน

 

20211116-078-bydatchanee
คุณบุญเลิศ (ซ้าย 1)ดูแลดวงตาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด และอาการก็ค่อยๆดีขึ้น โดยคุณบุญเลิศยังสละเวลา มาร่วมเป็นจิตอาสาในกิจกรรมมอบถุงยังชีพอีกด้วย

 

คุณบุญเลิศเห็นด้วยกับแนวคิดการออมบุญ จึงนำกระปุกออมบุญวางไว้ในรถเสมอ เพื่อเป็นสะพานบุญและเชิญชวนผู้โดยสารร่วมบริจาคน้ำใจ สั่งสมวันละเล็กวันละน้อย คุณบุญเลิศ ยังบอกอีกว่า หากกระปุกออมบุญเต็มแล้ว เขาจะนำมาบริจาคสมทบกองทุนของฉือจี้ หวังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากต่อไป

 

 


                  เรื่อง  ดรรชนี สุระเทพ      ภาพ  พิณญ์ธิชา จันทร์สุขศรี,บุษรา สมบัติ,ดรรชนี สุระเทพ

 

 

 

ภาคธุรกิจบริจาคผ้าอ้อม จิตอาสาฉือจี้ส่งมอบถึงมือผู้ยากไร้

 

01

พนักงานบริษัท ฟูเบิร์ก อินดัสเตรียล(ประเทศไทย)จำกัด ประสานงานมายังมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในเมืองไทย แสดงความจำนงในการร่วมทำความดีตอบแทนสังคม ก้าวเข้าสู่ชุมชน ดูแลผู้ตกทุกข์ได้ยาก

มอบถุงยังชีพ ช่วยแท็กซี่ “อิ่มท้อง อุ่นใจ”

 

20211028-29cover2

28-29 ตุลาคม ที่ผ่านมา มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย จัดกิจกรรมมอบถุงยังชีพให้กับผู้ขับแท็กซี่ ที่ลงทะเบียนผ่านสมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ไทย ด้วยรูปแบบ Drive Thru เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 


              

 

มอบถุงยังชีพรูปแบบ Drive Thru อำนวยความสะดวกแก่ผู้ขับแท็กซี่

“ลดกระจก ยื่นบัตรประชาชน สแกนบัตร ตรวจสอบรายชื่อเสร็จแล้ว เพียงเท่านี้ก็สามารถรับถุงยังชีพได้” นี่คือการมอบถุงยังชีพให้กับผู้ขับแท็กซี่ในรูปแบบ Drive Thru ที่มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย จัดขึ้นเมื่อ 28-29 ตุลาคม 2564 ซึ่งจะเห็นว่ามีขั้นตอนไม่ซับซ้อน รวดเร็ว ราบรื่น ไม่รบกวนเวลาอันมีค่า ใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งนาที ผู้ขับแท็กซี่ก็สามารถรับถุงยังชีพกลับบ้านได้แล้ว

 

20211011-002-bytar
11 ตุลาคม 2564 จิตอาสาและเจ้าหน้าที่จากทางสมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ไทย ร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับกิจกรรมมอบถุงยังชีพให้กับผู้ขับแท็กซี่

 

เหตุผลของการจัดกิจกรรมมอบถุงยังชีพด้วยรูปแบบ Drive Thru คือ เนื่องจากผู้ขับแท็กซี่พักอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจายอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ไม่สะดวกต่อการนัดหมายรวมตัวในเวลาเดียวกันได้ จิตอาสาจึงนำข้อมูลของผู้ขับแท็กซี่ที่ลงทะเบียนผ่าน “สมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ไทย” มาจัดทำในระบบให้เรียบร้อยก่อนวันมอบถุงยังชีพ และเมื่อถึงวันมอบถุงยังชีพ ผู้ขับแท็กซี่เพียงแค่ยื่นบัตรประชาชนหรือใบขับขี่ จิตอาสาก็จะดำเนินการสแกนตรวจสอบข้อมูล หากข้อมูลตรงกับที่ลงทะเบียนไว้ก็สามารถรับถุงยังชีพได้เลย อีกทั้งเพื่อเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ขับแท็กซี่ จึงดำเนินการโดยพนักงานมูลนิธิฯผ่านคอมพิวเตอร์ที่จัดเตรียมไว้หน้างานโดยเฉพาะ


20211028-059-bylek
เจ้าหน้าที่ของสมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ไทย ช่วยบริการแอลกออล์ล้างมือแก่ผู้ขับแท็กซี่ก่อนเข้าสู่พื้นที่ของมูลนิธิฯ และช่วยโบกรถอำนวยความสะดวกด้านการจราจร เพื่อให้แท็กซี่เข้าออกอย่างปลอดภัยและราบรื่น


20211028-073-bylek
ขั้นตอนการมอบถุงยังชีพด้วยรูปแบบ Drive Thru ทั้งง่ายและรวดเร็ว เพียงแค่ลดกระจก ยื่นบัตรประชาชน สแกนบัตร ตรวจสอบรายชื่อเสร็จแล้ว ก็สามารถรับถุงยังชีพได้

 

คุณจางฮุ่ยเจิน จิตอาสาฉือจี้ แบ่งปันว่า “สำหรับรูปแบบการมอบถุงยังชีพครั้งนี้คือ เราอิงความสะดวกของผู้ขับแท็กซี่เป็นหลัก เพราะว่าพวกเขาต้องทำงานหาเลี้ยงชีพ จึงไม่สามารถนัดหมายรวมตัวในเวลาเดียวกันได้ โดยใน 28-29 ตุลาคม เราก็ได้จัดกิจกรรมทั้งวัน หากผู้ขับแท็กซี่สะดวกช่วงเวลาไหน หรือขับผ่านละแวกนี้ ก็ถือโอกาสแวะมารับถุงยังชีพได้เลยค่ะ”


คุณชัจกมล ผู้ขับแท็กซี่ แบ่งปันความรู้สึกหลังจากเดินทางมารับถุงยังชีพว่า “ดีมากเลยค่ะที่ไม่ต้องลงจากรถ เราก็วิ่งรถไปตามผังกิจกรรม น้องพนักงานก็เช็คบัตร เช็คความถูกต้องของข้อมูล เสร็จแล้วก็รับถุงยังชีพมา ซึ่งสะดวกมากเลย ช่วยประหยัดเวลา รวดเร็ว รับถุงยังชีพเสร็จ เราก็ไปทำมาหากินต่อค่ะ ”

 

ถุงยังชีพฉือจี้ มอบกำลังให้ผู้ขับแท็กซี่ "อิ่มท้อง อุ่นใจ"

จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ทำให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศลดน้อยลง อีกทั้งมาตรการล็อกดาวน์ ก็ทำให้บริษัทต่างๆมีนโยบายให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน ประชาชนจึงออกจากบ้านน้อยลง ซึ่งด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้ผู้ขับแท็กซี่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลตกงานเป็นจำนวนมาก เมื่อไม่มีผู้โดยสาร ไม่มีรายได้ ย่อมส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่อัตคัดขัดสน


ทว่า อย่างไรก็ตาม ผู้ขับแท็กซี่ยังคงแบกรับภาระค่าเช่าบ้าน ค่าเติมแก๊ส ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันต่างๆ ในสถานการณ์ที่รายจ่ายสูง รายได้ต่ำสวนทางกันเช่นนี้ ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ขับแท็กซี่จึงตกอยู่ในความยากลำบาก บางคนไม่มีเงินเช่าห้องพัก จึงต้องอาศัยพักนอนตามปั๊มน้ำมัน กินนอนอยู่บนรถ หรือบางคนอาจลำบากถึงขนาดต้องกินหนึ่งมื้อ แล้วอดไปอีกหลายมื้อ นี่ล้วนเป็นความลำบากที่พวกเขาต้องประสบพบเจออยู่บ่อยครั้งในช่วงนี้

 


20211029-123-bylek
สิ่งของยังชีพจากฉือจี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถทำให้ผู้ขับแท็กซี่ “อิ่มท้อง อุ่นใจ”

 

ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย จึงจัดกิจกรรมมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ขับแท็กซี่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นแก่พวกเขา โดยครั้งนี้ยังปรับเปลี่ยนสิ่งของยังชีพต่างๆให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ขับแท็กซี่ คุณสุกัญญา ริมพนาเวศ ประธานบริหารมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย แบ่งปันว่า “ทุกคนก็ทราบกันดีอยู่แล้ว่า ช่วงนี้ผู้ขับแท็กซี่ลำบากหน่อย ฉะนั้น สิ่งของที่เรามอบให้ก็เลยเพิ่มขึ้นมา ซึ่งแต่ก่อนเราให้ข้าวสาร 10 กิโลกรัม ครั้งนี้เปลี่ยนเป็นให้ 15 กิโลกรัมค่ะ”

 

ข้าวสาร 15 กิโลกรัม อาหารแห้ง ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ และหน้ากากอนามัย ล้วนเต็มไปด้วยความรักและคำอวยพรจากฉือจี้ หวังให้ผู้ได้รับอิ่มทองและรู้สึกอุ่นใจมากยิ่งขึ้น คุณเข็มพร ผู้ขับแท็กซี่ แบ่งปันความรู้สึกว่า “แท็กซี่นี่ตอนนี้ลำบากและก็แย่มากเลย มีโครงการมอบถุงยังชีพอย่างนี้ขึ้นมา พวกเราแท็กซี่ทุกคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากมากๆ ก็พอรู้สึกผ่อนคลายได้บ้าง”

 

20211028-recieve-combo
ผู้ขับแท็กซี่รับถุงยังชีพกลับบ้านอย่างมีความสุข

 

คุณเกรียงไกร แก้วเกตุ ประธานสมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ไทย ซึ่งคอยเคียงข้างและให้กำลังใจพี่น้องผู้ขับแท็กซี่ตลอดทั้งกิจกรรม เมื่อเห็นทุกคนมีความสุขที่ได้รับถุงยังชีพจากฉือจี้ คุณเกรียงไกรก็พลอยรู้สึกอิ่มเอมใจไปด้วย พร้อมทั้งเอ่ยชื่นชมและขอบคุณฉือจี้ที่ช่วยเหลือพี่น้องผู้ขับแท็กซี่ด้วยความใส่ใจ คุณเกรียงไกรแบ่งปันว่า “พอมีการแจกถุงยังชีพตรงนี้ขึ้นมา รู้มั้ยครับนี่คือทางรอดของผู้ขับแท็กซี่ อย่างน้อยๆเขาอยู่ได้หนึ่งเดือนเลยนะครับ ทุกคนซึ้งในน้ำใจของมูลนิธิฯ ผมก็อยากจะบอกว่า ขอบคุณมากๆที่ช่วยพี่น้องผู้ขับแท็กซี่ครับ”

 


อาศัยโอกาสอันดี แบ่งปันกระปุกออมบุญ

“บริจาควันละบาทลงในกระปุกออมบุญในตอนออกจากบ้าน หรือเริ่มขับรถตอนเช้า พร้อมกับอธิษฐานว่า คิดดี พูดดี ทำดีแล้วก็หยอดหนึ่งบาท หลังจากผ่านไปประมาณหนึ่งเดือนแล้ว ไม่ว่าเงินในกระปุกจะมากน้อยเท่าไหร่ก็ไม่เป็นไร ถ้ามาแถวๆนี้ก็แวะเข้ามา แล้วก็เอามามอบให้กับเรา เราจะออกใบเสร็จบริจาคเงินให้ เราคนไทยช่วยคนไทย สร้างบุญสัมพันธ์ด้วยกันครับ” ในขณะที่จิตอาสากลุ่มหนึ่งช่วยขนถุงยังชีพวางท้ายรถ จิตอาสาอีกกลุ่มหนึ่งก็พูดคุยทักทายกับผู้ขับแท็กซี่ด้วยท่าทางเป็นมิตร แนะนำกระปุกออมบุญโดยสังเขป พร้อมทั้งเชิญชวนให้พวกเขาร่วมสั่งสมความดีผ่านกระปุกออมบุญที่ฉือจี้มอบให้


20211028-093-bydatchanee
จิตอาสาทำงานแบ่งหน้าที่งาน โดยในขณะที่จิตอาสากลุ่มหนึ่งช่วยขนถุงยังชีพวางท้ายรถ จิตอาสาอีกกลุ่มหนึ่งก็พูดคุยทักทายกับผู้ขับแท็กซี่ด้วยท่าทางเป็นมิตร แนะนำกระปุกออมบุญโดยสังเขป

20211028-108-bydatchanee
จิตอาสาเชิญชวนผู้ขับแท็กซี่ร่วมสั่งสมความดี ผ่านกระปุกออมบุญของฉือจี้

20211028-128-bylek
จิตอาสาและผู้ขับแท็กซี่ไหว้ขอบคุณซึ่งกันและกัน

 

 


ซึ่งผู้ขับแท็กซี่ให้การตอบรับเป็นอย่างดี หลายคนรับปากว่าจะแวะเวียนนำเงินในกระปุกออมบุญมาบริจาคให้ฉือจี้ เพื่อส่งน้ำใจไปช่วยเหลือคนที่ตกทุกข์ได้ยากต่อไป อย่างเช่น คุณวิไล ผู้ขับแท็กซี่ ซึ่งบอกเล่าว่า เขาจะนำกระปุกออมบุญติดไว้บนรถ และแนะนำบอกต่อบุญให้ผู้โดยสารร่วม “ออมบุญน้อย สร้างบุญใหญ่” ด้วยกัน คุณวิไล แบ่งปันว่า “ในมุมมองของผม ผมว่าแนวคิดกระปุกออมบุญนี้ดีครับ ถึงแม้ว่าจะเป็นเสี้ยวหนึ่งของเงินก็ตาม และถ้าผู้โดยสารเต็มใจหยอดเงินบริจาคด้วยก็ดีครับ จากคนละนิดละหน่อยก็จะกลายเป็นเงินเยอะ สามารถต่อชีวิตคนไปได้อีกครับ”

 

20211028-027-bydatchanee
คุณวิไล ผู้ขับแท็กซี่ เห็นด้วยกับแนวคิดกระปุกออมบุญ ทั้งยังบอกอีกว่า จะนำกระปุกออมบุญติดไว้ในรถ และเชิญชวนผู้โดยสารร่วม “ออมเงินน้อย สร้างบุญใหญ่”

 

สำหรับการมอบถุงยังชีพให้กับผู้ขับแท็กซี่ครั้งแรกนี้ มีผู้มารับถุงยังชีพ 560 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้ขับแท็กซี่ส่วนบุคคล มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย ขอขอบพระคุณทางสมาพันธ์แรงงานแท็กซี่ไทยอย่างยิ่ง ที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งร่วมประชุมหารือ วางแผนแนวทางของกิจกรรม สร้างแบบลงทะเบียนรับถุงยังชีพผ่าน Google Form ทั้งรวบรวมรายชื่อและข้อมูลของผู้ขับแท็กซี่ที่ลงทะเบียนให้กับฉือจี้ โดยกิจกรรมนี้ยังคงดำเนินต่อไป เพื่อหวังให้สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ขับแท็กซี่ได้อย่างทั่วถึง แบ่งเบาภาระในครอบครัว และอวยพรให้พวกเขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น



20211028-everyonetogether-combo
จิตอาสาต่างอาศัยโอกาสอันดีมาร่วมกิจกรรม ทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างสุดกำลัง



20211029-137-bylek
ขอบพระคุณในความร่วมมือแรงใจของทุกท่าน ทำให้กิจกรรมมอบถุงยังชีพให้กับผู้ขับแท็กซี่ครั้งแรกนี้ สำเร็จลุล่วงอย่างราบรื่น

 

 


                  เรื่อง  ดรรชนี สุระเทพ      ภาพ  พิณญ์ธิชา จันทร์สุขศรี,ดรรชนี สุระเทพ,รัตนโชติ ประมวลทรัพย์

 

 

 

ช่วยบรรเทาความหิวโหย ในสถานการณ์โควิด-19

20210325 cover

จิตอาสาฉือจี้ ในพื้นที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ต่างระดมความรัก รวบรวมปัจจัย เพื่อจัดซื้อสิ่งของที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต ไปมอบช่วยเหลือครอบครัวเด็กนักเรียนที่ไร้สัญชาติ ซึ่งอาศัยอยู่ในสวนส้มแห่งหนึ่ง เพื่อให้พวกเขาสามารถใช้ช่วงเวลาวันหยุดขึ้นปีใหม่ไทย หรือวันสงกรานต์ได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปากท้อง


 

โควิดกระทบรายได้ ซ้ำเติมชีวิตทุกข์ยาก

ครอบครัวส่วนหนึ่งซึ่งไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน อาศัยอยู่ในบ้านพักคนงานในไร่ส้ม กลางวันบรรดาผู้ปกครองก็ง่วนอยู่กับการทำงาน ซึ่งได้ค่าแรงประมาณ 200-300 บาท/วัน ทว่าตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ขึ้นเป็นต้นมา รายได้ของพวกเขาก็ได้รับผลกระทบ ถึงขั้นที่บางคนได้รับค่าจ้างเพียงเดือนละ 500 บาท ถือเป็นการซ้ำเติมความยากลำบากของพวกเขา แม้หน่วยงานภาครัฐจะพยายามออกมาตรการมอบเงินเยียวยา แต่เพราะทุคนล้วนไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ทำให้ไม่เคยได้รับการช่วยเหลือใดๆ

 

ลูกๆ ของพวกเขาล้วนเรียนหนังสือที่โรงเรียนบ้านสันทรายคองน้อย เด็กๆ จะกินข้าวเช้าจากที่บ้าน ก่อนจะไปฝากท้องมื้อเที่ยงที่โรงเรียน ส่วนมื้อเย็นหลายครั้งที่ไม่มีอะไรให้กิน ก็จะไปขอความเมตตาจากชาวบ้านที่อาศัยอยู่ละแวกใกล้เคียง

001

จิตอาสาฉือจี้และผู้มีจิตศรัทธาช่วยกันจัดเตรียมสิ่งของเพื่อมอบช่วยเหลือครอบครัวนักเรียน

 

002

จิตอาสาฉือจี้และผู้มีจิตศรัทธาช่วยกันจัดเตรียมสิ่งของเพื่อมอบช่วยเหลือครอบครัวนักเรียน

 

ระดมความรัก จากทุกคนในสังคม

หลังจากคุณเมตตา แซ่ชิว จิตอาสาฉือจี้ทราบเรื่อง จึงปรึกษาร่วมกับเพื่อนๆ จิตอาสาในพื้นที่ ซึ่งเห็นพ้องต้องกันว่า จะร่วมเรี่ยไรระดมปัจจัย เพื่อนำหยาดหยดความรักจากทุกคน ไปมอบช่วยเหลือพวกเขาเหล่านี้

 

คุณเมตตาได้ทำ “ตังเมสไตล์ไต้หวัน” จำหน่ายเพื่อการกุศล นำรายได้ทั้งหมดโดยไม่หักค่าใช้จ่าย บริจาคสมทบกิจกรรมครั้งนี้ ด้านจิตอาสาฉือจี้อีกคน คือ คุณอังคณา คุณคำ ซึ่งเพิ่งได้รับเงินชดเชย “เราชนะ” จำนวน 7,000 บาทจากภาครัฐ ก็มอบเงินทั้งหมด สนับสนุนโครงการนี้ เพื่อนำไปช่วยเหลือคนที่ยากลำบากยิ่งกว่าตนเองต่อไป ด้านครู นักเรียนและบุคลากรโรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่ เมื่ออทราบข่าวดังกล่าว ก็ให้การสนับสนุนเป็นไข่ไก่จำนวนทั้งหมดทันที

003

จิตอาสาฉือจี้มอบข้าวสารอาหารแห้งช่วยเหลือนักเรียนและครอบครัวซึ่งไร้สัญชาติ

 

004

นักเรียนและครอบครัวซึ่งไร้สัญชาติ นำสิ่งของที่ผู้มีจิตศรัทธาและฉือจี้ร่วมกันมอบให้ เดินทางกลับบ้านด้วยความดีใจ

มอบข้าวสารอาหารแห้ง เป็นของขวัญวันปีใหม่

ภายในระยะเวลาสั้นๆ ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ สิ่งของทั้งหมดซึ่งประกอบด้วย ข้าวสาร 15 กิโลกรัม น้ำมัน 2 ขวด เกลือ 3 ถุง น้ำตาล 1 กิโลกรัม ซีอิ๊ว 1 ขวด ไข่ไก่ 30 ฟอง และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 2 แพ็ค ก็พร้อมสรรพ วันที่ 25 มีนาคม 2564 ซึ่งเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ของโรงเรียน ทว่าเพื่อฉวยโอกาสก่อนที่โรงเรียนจะปิดเทอมในช่วงสงกรานต์ ทุกคนจึงนำสิ่งของทั้งหมด ไปมอบให้กับเด็กๆ สวนส้มและครอบครัวของพวกเขา

จิตอาสาฉือจี้ คุณเมตตา เล่าถึงความคาดหวังของตัวเองว่า “เราอยากมอบสิ่งของเหล่านี้ให้กับทุกคนก่อนวันสงกรานต์ จะได้ไม่ต้องลำบากหาเงินไปซื้อเอง และเพื่อเป็นการอวยพ รเนื่องในโอกาสวันปีใหม่ไทยด้วยค่ะ”

หลังจากผู้มีจิตเมตตาในพื้นที่ทราบข่าวกิจกรรมในครั้งนี้ ยังได้รวบ รวมเสื้อผ้ามือสอง มาให้บรรดาผู้ปกครองและเด็กนักเรียน คัดเลือกชุดที่คิดว่าเข้าตัวเองไปใส่อีกด้วย

005

ขอบพระคุณการเสียสละด้วยความรักของทุกท่าน

คุณครูรัชนี จากโรงเรียนสันทรายคองน้อย ได้บอกเล่าความรู้สึกของตนเองที่ดีใจแทนเด็กๆ และผู้ปกครองว่า “จากการที่ทั้งเทอมหนึ่งและเทอมสอง คุณครูประจำชั้นของแต่ละห้องได้ไปเยี่ยมบ้าน ก็จะได้เห็นถึงความลำบากและขาดแคลนของพวกเขา วันนี้ดีใจแทนเด็กๆ และผู้ปกครองอย่างมาก ขอบคุณมากๆ ค่ะ”

หวังว่าสิ่งของต่างๆ ที่ฉือจี้มอบให้ จะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการซื้อหาอาหารของพวกเขา และไม่ต้องกังวลกับความหิวโหยในช่วงนี้

 


   เรื่อง   บุษรา สมบัติ     ภาพ  อังคณา คุณคำ  

 

 

 

มอบถุงยังชีพช่วยอุทกภัย ให้กำลังใจชาวลำสนธิก้าวผ่านวิกฤติ

 

 

20211014cover
จิตอาสาโค้งลำตัว 90 องศา กล่าวคำอวยพรและขอบคุณที่ให้โอกาสฉือจี้ช่วยเหลือดูแลพี่น้องผู้ประสบภัย ในระหว่างการลงพื้นที่มอบถุงยังชีพและเยี่ยมเยียนให้กำลังใจชาว อ.ลำสนธิ

 


                                                                                                                                              

 

จากอิทธิพลพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” จึงเกิดฝนตกหนักต่อเนื่องหลายวัน จนทำให้มีน้ำท่วมใน 5 ตำบลของ อ.ลำสนธิ จ.ลพบุรี อุทกภัยครั้งนี้ ถือเป็นอุทกภัยพื้นที่แรกๆของประเทศไทยในปีนี้ พี่น้องผู้ประสบภัยถึงกับกล่าวว่า หากนับตั้งแต่บรรพบุรุษปู่ย่าตายาย เป็นระยะเวลาประมาณ 70 ปีกว่าที่ผ่านมา ยังไม่เคยพบเจอกับน้ำท่วมหนักเช่นในปีนี้


โดย 25 กันยายนที่ผ่านมา น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ของ อ.ลำสนธิ กระแสน้ำไหลเร็วและแรงมาก จนสามารถพัดพารถยนต์ไปได้ ชาวบ้านบางส่วนต้องหนีขึ้นไปอยู่บนหลังคา เพื่อรอให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยช่วยเหลือไปพักอาศัยในพื้นที่ปลอดภัย


ความรักไม่เคยเลือนหาย

ด้วยมิอาจทนเห็นพี่น้องผู้ประสบภัยพบเจอเคราะห์ซ้ำกรรมซัด ทั้งภัยจากโรคระบาดและอุทกภัยหนัก 5 ตุลาคม ที่ผ่านมา มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย จึงมอบถุงยังชีพช่วยเหลือบรรเทาภัยให้กับพี่น้องชาว อ.ชัยบาดาล และ อ.บ้านหมี่ ทั้งยังติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติในพื้นที่ ทำให้ทราบว่า พี่น้องชาว อ.ลำสนธิ ยังเดือดร้อน จิตอาสาจึงเร่งประสานให้ความช่วยเหลือ



20211014-009-bynatthaya
ทุกคนร่วมแรงร่วมใจกัน ตั้งแถวยาวส่งต่อถุงยังชีพไปจัดวางในหอประชุมที่ว่าการอำเภอลำสนธิ


14 ตุลาคม 2564 จิตอาสาออกเเดินทางจากกรุงเทพฯ มุ่งหน้าไปยัง อ. ลำสนธิ จ.ลพบุรี ซึ่งมีระยะทางประมาณ 230 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 3 ชั่วโมงครึ่ง เมื่อเดินทางไปถึง เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐของ อ.ลำสนธิ ทั้งในส่วนของหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจิตอาสาฉือจี้ ต่างร่วมแรงร่วมใจจัดเตรียมกิจกรรม ตั้งแถวส่งต่อถุงยังชีพแต่ละถุงไปจัดวาง ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง ถุงยังชีพจำนวน 1,700 ชุด ก็ถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยในหอประชุมของที่ว่าการอำเภอลำสนธิ

 

20211014-297-bylek
พิธีมอบถุงยังชีพ โดยมีนายอำเภอลำสนธิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นตัวแทนรับมอบ และถ่ายภาพร่วมกันเพื่อเป็นประจักษ์พยานในความรักอันยิ่งใหญ่ของฉือจี้


ช่วงเวลาของพิธีมอบถุงยังชีพอันอวลไปด้วยความปีตินั้น คุณสุกัญญา ริมพนาเวศ ประธานบริหารมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย เป็นตัวแทนจิตอาสาฉือจี้อ่านสาส์นแสดงความห่วงใยจากท่านธรรมาจารย์ และขอบคุณทางอำเภอลำสนธิ ที่มอบโอกาสอันล้ำค่า ให้ฉือจี้ได้ดูแลช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบภัย คุณสุกัญญา กล่าวว่า “ครั้งก่อน วันที่ 5 ตุลาคม เราก็ไปมอบถุงยังชีพสองที่ คือ อ.ชัยบาดาลและ อ.บ้านหมี่ วันหลังเรารู้ที่นี่ก็ประสบภัยหนัก เราก็เลยมาอีกครั้ง วันนี้เรามาที่ อ.ลำสนธิ เราได้เตรียมถุงยังชีพมามอบให้ สิ่งของอาจจะไม่เยอะ แต่เราเต็มใจ มาส่งกำลังใจให้พี่น้องผู้ประสบภัยที่นี่ค่ะ”


อุทกภัยครั้งนี้สร้างความเสียหายหนักหนานัก วันนี้ถุงยังชีพที่ฉือจี้นำมามอบให้ จึงเป็นเสมือนความห่วงใย ให้กำลังใจพี่น้องผู้ประสบภัยฟื้นฟูชีวิต คุณมานพ จันทร์ปิยวงศ์ นายอำเภอลำสนธิ แบ่งปันว่า “วันนี้ฉือจี้ได้นำถุงยังชีพมามอบให้พี่น้องชาวลำสนธิที่ประสบภัย ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนมาก ซึ่งเรียกได้ว่า เท่ากับจำนวนครัวเรือนของผู้ประสบภัยเลยก็ว่าได้ครับ ”


แบ่งกลุ่มลงพื้นที่ ส่งถุงยังชีพถึงบ้าน เยี่ยมเยียนพี่น้องผู้ประสบภัย

หลังพิธีมอบถุงยังชีพแล้วเสร็จ จิตอาสาแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อแยกย้ายลงชุมชนเยี่ยมเยียนและมอบถุงยังชีพให้กับพี่น้องผู้ประสบภัย จำนวน 80 ครอบครัว ในพื้นที่ ต. ลำสนธิ ต.หนองรี และ ต.กุดตาเพชร โดยมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐนำทางจิตอาสา


20211014-333-bylek
จิตอาสาถือสิ่งของยังชีพลงพื้นที่สู่ชุมชน เพื่อมอบถุงยังชีพและเยี่ยมเยียนพี่น้องผู้ประสบภัยทีละครอบครัว

20211014-461-bylek
ปัจจุบันน้ำลดแล้ว ทว่า ร่องรอยความเสียหายจากอุทกภัยครั้งนี้ยังคงชัดเจน

 

วิวสองข้างทางสวยงามตานัก ปุยเมฆขาวล่องลอยในผืนฟ้าสีคราม โดยมีทิวเขาสูงเป็นพื้นหลังมองเห็นแต่ไกลๆ เบื้องล่างถัดลงมามีฝูงวัวเล็มหญ้าในทุ่งกว้างเขียวขจี ทำให้รู้สึกถึงกลิ่นไอของชีวิตอันเรียบง่านในชนบท ทว่า ภายใต้ทัศนีย์ภาพที่สวยงามสบายตานั้น ซ่อนแฝงไปด้วยร่องรอยของภัยพิบัติ ทั้งพื้นที่ทางการเกษตร บ้านเรือนของพี่น้องประชาชน ยังคงเห็นถึงความเสียหายที่อุทกภัยทิ้งร่องรอยไว้ “เครื่องซักผ้าและตู้เย็นเอาไปซ่อมอยู่ ส่วนเตารีด ก็เป็นสภาพนี้ค่ะ” พี่น้องผู้ประสบภัยคนหนึ่งบอกเล่าถึงความเสียหาย พร้อมชี้ไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งตอนนี้เลอะเปื้อนไปด้วยโคลน พังเสียหายไม่สามารถใช้การได้

 

20211014-343-bylek
จิตอาสานำสิ่งของยังชีพส่งถึงบ้านพี่น้องผู้ประสบภัยทีละครอบครัว

 

20211014-029-byworamon
จิตอาสามอบถุงยังชีพให้กับพี่น้องผู้ประสบภัย พร้อมทั้งกล่าวคำอวยพรและให้กำลังใจ

 

จิตอาสาพูดคุยสอบถาม รับฟังทุกข์สุข และในขณะที่มอบถุงยังชีพ ก็ไม่ลืมอวยพรพี่น้องผู้ประสบภัย “นี่คือถุงยังชีพจากฉือจี้นะครับ เป็นน้ำใจเล็กๆน้อยๆ เราขอเป็นกำลังใจให้นะ สู้ สู้” เมื่อได้รับกำลังใจจากจิตอาสาที่เดินทางมาไกลจากกรุงเทพฯ ก็ทำให้พี่น้องผู้ประสบภัยรู้สึกซาบซึ้งใจ “ดีใจมากเลยค่ะ แบบไม่รู้ว่าจะหาคำไหนมาพูด” คุณยุพิน แบ่งปันความรู้สึกด้วยน้ำตาคลอเบ้า


ถุงยังชีพฉือจี้ เคียงข้างผู้ประสบภัยฟื้นฟูชีวิตความเป็นอยู่

แม้ช่วงเวลาของอุทกภัยอันเลวร้ายจะผ่านไปครึ่งเดือน ปัจจุบันน้ำลดหมดแล้ว ทว่า ความเสียหายที่เกิดจากภัยธรรมชาติครั้งนี้ อาจต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง จึงจะทำให้พี่น้องประชาชนกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติดังเดิม

 

20211014-087-bynatthaya
ในขณะที่มอบถุงยังชีพนั้น จิตอาสาพูดคุยกับพี่น้องผู้ประสบภัยด้วยความเป็นกันเอง รับฟังทุกข์สุขของพวกเขาด้วยความใส่ใจ


จิตอาสาเดินไปถึงบ้านปูนชั้นเดียวหลังหนึ่ง พบว่า ข้างบ้านมีตู้ไม้สองหลังซึ่งเปรอะเปื้อนโคลนและมีสภาพพังเสียหาย ข้างๆคือเศษซากปรักหักพังกองใหญ่ เมื่อเดินเข้าไปในบ้านพบรูปภาพจำนวนหนึ่ง ที่ผึ่งตากไว้ในฝาตะแกรงพัดลม ซึ่งวางไว้บนกองถ่านเล็กๆอีกที คาดว่าเพื่อให้ถ่านดูดความชื้นจากรูปภาพที่ตากไว้ “ภาพพวกนี้เป็นภาพเก่าเมื่อหลายสิบปีก่อน มันถูกน้ำท่วมเปียกน้ำ ยายก็เลยเอามาตากไว้จ๊ะ” คุณยายโอน เจ้าของบ้านวัย 72 ปี ซึ่งกำลังนั่งพักเหนื่อยจากการทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลด ออกมาต้อนรับจิตอาสาด้วยความดีใจ พร้อมทั้งนำสำรวจความเสียหายจากอุทกภัย


คุณยายโอน อาศัยอยู่กันสองคนตายาย ด้วยทั้งสองอายุมาก ร่างกายจึงโรยราไปตามอายุ ไม่สามารถทำงานหาเลี้ยงชีพด้วยตนเอง จึงได้แต่อาศัยเงินจากบัตรประชารัฐ และเงินจากลูกหลานซึ่งนานๆครั้งส่งให้ประทังชีวิต เมื่อได้ยินประกาศว่ามีน้ำป่าไหล่หลาก คุณยายก็ขนข้าวของเครื่องใช้ไว้บนโต๊ะ และคิดว่าน้ำคงท่วมไม่ถึง เพราะหลายๆปีที่ผ่านมา น้ำท่วมสูงสุดถึงแค่ระดับเข่า คาดไม่ถึงว่าน้ำจะท่วมสูงถึงครึ่งบ้าน ด้วยน้ำท่วมสูงและกระแสน้ำแรง ทำให้สองตายายไม่สามารถอยู่ในบ้านต่อไปได้ จึงหนีตายไปอาศัยอยู่ที่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หลังน้ำลดกลับมาสำรวจความเสียหายพบว่า ตู้ไม้พังเสียหาย ไม่สามารถนำกลับมาใช้ต่อได้ เครื่องใช้ไฟฟ้าพังเสียหาย ข้าวของบางส่วนไหลหายไปกับกระแสน้ำ บ้านเต็มไปด้วยคราบโคลน เศษกิ่งไม้ ซากปรักหักพังเต็มบ้าน



20211014-161-bydatchanee
สิ่งของยังชีพจากฉือจี้ ทำให้คุณยายโอนฟื้นฟูชีวิตหลังน้ำลดได้อย่างอุ่นใจมากยิ่งขึ้น


คุณยายโอนทยอยทำความสะอาด เก็บกวาดบ้านมาประมาณ 1 สัปดาห์แล้ว แต่ยังไม่เรียบร้อยดีนัก เมื่อมีจิตอาสานำสิ่งของยังชีพอันเปี่ยมด้วยความรักจากผู้คนทั่วทุกสารทิศมามอบให้ ภายในถุงยังชีพมีทั้งสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวัน ชุดยารักษาโรคเบื้องต้น และอุปกรณ์ทำความสะอาด คุณยายโอนก็รู้สึกดีใจ หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง “อย่างแปรงถูพื้นก็ดีเลย จะได้เอาไปขัดล้าง ผงซักฟอกถุงเล็กที่ใช้อยู่ก็กำลังจะหมด ได้ถุงใหญ่มาก็ใช้ได้หลายวัน ข้าวสาร บะหมี่ เกลือ น้ำตาล ที่ได้มาก็ทำให้ยายไม่ต้องไปซื้อเขา เพราะเงินก็ไม่ค่อยมี”

 

20211014-159-bynatthaya
จิตอาสาปลอบโยนให้กำลังใจพี่น้องผู้ประสบภัยในระหว่างมอบถุงยังชีพ

 

แพทย์อาสาฉือจี้ร่วมบรรเทาภัย ดูแลห่วงใยพี่น้องประชาชน

ในขณะเยี่ยมเยียนพี่น้องผู้ประสบภัย คุณมรินทร์ธรณ์ เสมรอด พยาบาล สมาคมแพทย์อาสาฉือจี้ ใช้ประสบการณ์ของบทบาทบุคลากรทางการแพทย์ แสดงความห่วงใยพี่น้องผู้ประสบภัย หยิบชุดยารักษาโรคเบื้องต้นในถุงยังชีพ อธิบายรายการยาต่างๆแก่คุณยายคนหนึ่งว่า “อันนี้เป็นยาที่ใช้ติดในบ้าน เผื่อจำเป็น เผื่อฉุกเฉิน มันจะมีชุดทำแผล เผื่อมีแผล ถ้าสงสัยอะไรขอให้ยายถามคนที่อ่านหนังสือได้นะคะ และมียาลดไข้ ยาแก้แพ้ ส่วนอันนี้คือยาทาแก้คัน คารามายด์แก้คัน กับยาทาน้ำกัดเท้าค่ะ”

 

20211014-007-byworamon
คุณมรินทร์ธรณ์ เสมรอด พยาบาล สมาคมแพทย์อาสาฉือจี้ ใช้ประสบการณ์ของบทบาทบุคลากรทางการแพทย์ แสดงความห่วงใยพี่น้องผู้ประสบภัย อธิบายรายการยาต่างๆแก่พวกเขาด้วยความใส่ใจ

 

คุณวรรณ หนึ่งในพี่น้องผู้ประสบภัย อาศัยอยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ มีทั้งลูก หลาน ผู้พิการ และผู้สูงอายุ รวมกัน 9 คน เธอและสามีมีอาชีพรับจ้างทั่วไป ตอนน้ำหลากท่วมสูงระดับคอ เนื่องด้วยบ้านของเธอเป็นบ้านชั้นเดียว จึงต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้านและรีบอพยพไปอยู่ที่บ้านของผู้ใหญ่บ้าน รอจนกระทั่งถึงตอนเช้า จึงมีเรือมาช่วยนำเธอและครอบครัวอพยพไปยังพื้นที่ปลอดภัย หลังน้ำลดกลับมาสำรวจบ้าน ปรากฎว่าเหลือแค่บ้านเปล่าโล่งๆ ข้าวของเครื่องใช้พัดลอยไปกับกระแสน้ำหมด จึงต้องไปตามหาเก็บข้าวของตามที่ต่างๆ เท่าที่จะทำได้


เมื่อทราบว่าฉือจี้เป็นสะพานบุญนำน้ำใจจากคนทั่วโลกมาให้ คุณวรรณก็รู้สึกดีใจและแบ่งปันความรู้สึกว่า “รู้สึกดีใจที่คนไทยและคนต่างประเทศไม่ทอดทิ้งให้เดียวดาย และสิ่งของที่นำมามอบให้มันก็ประโยชน์หลายอย่าง เพราะว่าบ้านเราก็มีทั้งคนแก่และเด็ก เช่นถ้าเด็กน้อยก็มีอาการเท้าเปื่อย ก็สามารถรักษาได้เบื้องต้น จะได้ไม่ต้องลำบากไปไกลถึงโรงพยาบาล เพราะเราก็ไม่มีเงินมากพอที่จะจ้างรถพาไปหาหมอได้”


20211014-053-bynatthaya
เมื่อเห็นว่าเด็กน้อยมีแผล คุณเฉินซิ่วเจีย (ซ้าย 1) จึงแจ้งกับผู้ประสบภัยว่า ในถุงยังชีพยังมีชุดยารักษาโรคเบื้องต้น สามารถนำออกมาใช้ได้

 

20211014-107-bydatchanee
พี่น้องผู้ประสบภัยชูนิ้วหัวแม่มือ สื่อความหมายว่า “ขอบคุณฉือจี้”

 

จากการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพี่น้องผู้ประสบภัย หลายคนต่างพูดว่า อุทกภัยหนักสุดในประวัติศาสตร์ของ จ. ลพบุรีครั้งนี้ ถือเป็นบทเรียนครั้งยิ่งใหญ่ ย้ำเตือนให้พวกเขาอยู่ในความไม่ประมาท และความเสียหายจากอุทกภัยครั้งนี้ ก็ทำให้พวกเขาเรียนรู้การปล่อยวางมากยิ่งขึ้น จิตอาสาฉือจี้ขออาศัยโอกาสมอบถุงยังชีพครั้งนี้ ให้กำลังใจพี่น้องผู้ประสบภัยก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ในเร็ววัน

 

 

 


                  เรื่อง  ดรรชนี สุระเทพ      ภาพ  พิณญ์ธิชา จันทร์สุขศรี,ดรรชนี สุระเทพ,ณัฐธยาน์ ธนัทกิตติพงศ์,วรมน เกียรติธีรชัย

 

 

ทลายอุปสรรคโรคระบาดด้วยเมตตาจิต มอบถุงยังชีพให้ผู้เดือดร้อน

 

202103-04cover

        เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย รัฐบาลจึงมีข้อกำหนดงดจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมาก ทำให้การมอบถุงยังชีพของมูลนิธิพุทธฉือจี้ในประเทศไทย ต้องเลื่อนออกไป ไม่สามารถดำเนินการตามกำหนดการที่วางไว้ ซึ่งการแพร่ระบาดระลอกใหม่ที่นับวันยิ่งทวีความรุนแรง และไม่สามารถทราบได้ว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงเมื่อใดนี้ จิตอาสาจึงต้องเร่งประสานหน่วยงานภาครัฐ โดยหวังว่าจะสามารถให้ความช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้ในเร็ววัน

ฉือจี้ส่งน้ำใจ ช่วยเหลืออุทกภัยลพบุรี

 

20211005cover

“สู้ๆนะครับ ไม่นานก็ผ่านไป” จิตอาสาให้กำลังใจและอวยพรพี่น้องผู้ประสบภัยในขณะที่พวกเขาพายเรือมารับถุงยังชีพ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สิ่งของยังชีพเหล่านี้ จะสามารถบรรเทาความทุกข์ยากลำบาก สถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายและเข้าสู่ภาวะปกติในเร็ววัน ทุกคนผ่านวิกฤติภัยพิบัติครั้งนี้อย่างปลอดภัย


 

อุทกภัยไร้ปรานี ฉือจี้เปี่ยมด้วยความรัก

จากอิทธพลพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” ช่วงปลายเดือนกันยายน ทำให้มีฝนตกหนักในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ “ลพบุรี” เป็นหนึ่งในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ น้ำท่วมหนักสุดในรอบ 10 ปี

 

20211001-015-bytar

1 ตุลาคม ระดมกำลังจิตอาสาช่วยงานบรรจุสิ่งของลงในถุงยังชีพ

 

เมื่อทราบว่าชาวลพบุรีกำลังได้รับความเดือดร้อน จิตอาสาฉือจี้จึงเร่งติดต่อหน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น เพื่อประสานงานเกี่ยวกับแนวทางและขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือ ในขณะเดียวกันก็ระดมกำลังจิตอาสา ช่วยบรรจุถุงยังชีพจำนวน 1,000 ชุด ให้แล้วเสร็จอย่างเร่งด่วน หลังผ่านการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐใน จ.ลพบุรีเรียบร้อยแล้ว 5 ตุลาคม จิตอาสาฉือจี้ออกเดินทางไปยัง จ.ลพบุรี ซึ่งมีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 150 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ 2 ชั่วโมง นำถุงยังชีพจำนวน 1,000 ชุด ไปมอบให้พี่น้องผู้ประสบภัยใน อ.ชัยบาดาล และ อ.บ้านหมี่ อำเภอละ 500 ชุด

 

20211005-221-bylek
หมู่บ้านในพื้นที่ ต.เกาะรัง อ.ชัยบาดาล น้ำที่เคยท่วมขังลดลงจนเข้าสู่สถานการณ์ปกติแล้ว เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่นช่วยนำทางจิตอาสาฉือจี้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพี่น้องผู้ประสบภัย

 

ด้วยความร่วมมือและความช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐในท้องถิ่น ทำให้จิตอาสาไม่เพียงสามารถนำถุงยังชีพไปส่งมอบในศูนย์อำนวยการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในจุดต่างๆได้อย่างราบรื่น หากยังทำให้จิตอาสามีโอกาสลงพื้นที่เยี่ยมเยียนพี่น้องผู้ประสบภัย เพื่อเข้าใจถึงความลำบากของพวกเขาได้มากยิ่งขึ้น

 

ที่ ต.เกาะรัง อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี น้ำที่เคยท่วมบ้านเรือนประชาชนภายในหมู่บ้าน ตอนนี้ลดลงจนเข้าสู่สถานการณ์ปกติแล้ว เหลือเพียงแต่พื้นที่ทางการเกษตรที่ยังมีน้ำท่วมขังอยู่

 

20211005-corn

ชาวบ้านนำข้าวโพดที่สามารถเก็บเกี่ยวได้หลังน้ำท่วม ตากแดดผึ่งลมให้แห้ง หวังนำไปจำหน่ายพอมีรายได้ฟี้นฟูชีวิตหลังน้ำลด

 

“มันเกี่ยวไม่ทัน น้ำมาไวมาก ได้มาแค่ 4 ต้นจาก 10 ไร่ ที่เหลือมันยังเอาขึ้นไม่ได้ น้ำยังท่วมฝักมันอยู่ มันไม่ได้แล้ว เริ่มเน่าแล้ว” คุณจำนง วัย 64 ปี บอกเล่าถึงความเสียหายของไร่ข้าวโพดด้วยสีหน้าเศร้า


คุณจำนงปลูกข้าวโพดเลี้ยงชีพ ปกติแล้ว ข้าวโพด 10 ไร่จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 7 ตัน เดิมทีวางแผนไว้ว่าจะเริ่มเก็บเกี่ยวในวันที่ 30 กันยายน ทว่า 27 กันยายน มวลน้ำมหาศาลไหลท่วมหมู่บ้านและไร่ข้าวโพด คุณจำนงจึงต้องพายเรือเร่งเก็บเกี่ยวข้าวโพดที่ถูกท่วมอยู่ใต้น้ำ และนำมาตากแห้งเพื่อรอนำไปจำหน่ายต่อไป

 

ปลอบโยนจิตใจ ซาบซึ้งใจผู้ประสบภัย


แม้ภายหมู่บ้านต่างๆในพื้นที่ ต.เกาะรัง น้ำลดลงจนชาวบ้านสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่พวกเขายังคงไม่ลืมถึงความโหดร้ายของมวลน้ำที่ไหลทะลักเข้าท่วมหมู่บ้านในช่วงเวลานั้น

 

20211005-217-bylek

จิตอาสามอบถุงยังชีพให้กับพี่น้องผู้ประสบภัย พร้อมทั้งอธิบายถึงรายการสิ่งของต่างๆในถุงยังชีพ

 

 

20211005-197-bylek

จิตอาสาให้กำลังใจพี่น้องผู้ประสบภัย ด้วยคำว่า “สู้ สู้ๆ”

 

คุณหัน ซึ่งอาศัยอยู่ใน ต.เกาะรัง มานานถึง 53 ปีแล้ว ไม่เคยพบเจอกับน้ำท่วมที่รุนแรงเช่นนี้มาก่อน บอกเล่าเหตุการณ์น้ำท่วมในวันนั้นว่า “แต่ก่อนก็เคยท่วมนะ แต่ท่วมถึงแค่ท้ายหมู่บ้าน ไม่นานก็ลด แต่ครั้งนี้มันท่วม 2 วัน 2 คืน เราก็ไม่เคยเห็น”


ในขณะที่เล่าเหตุการณ์ จิตอาสาสัมผัสได้ว่า คุณหันยังคงตระหนกตกใจและหวาดกลัวอยู่ จึงพูดคุยปลอบโยนจิตใจ พร้อมทั้งมอบพวงกุญแจสิริมงคลอันมีความหมายว่า “ปลอดภัย” เพื่อสื่อถึงคำอวยพรจากชาวฉือจี้ เมื่อได้รับการปลอบโยนด้วยความใส่ใจจากจิตอาสาแล้ว คุณหันก็รู้สึกซาบซึ้งใจจนกลั้นน้ำตาไม่อยู่ จับมือจิตอาสาไว้แน่น พร้อมทั้งพูดว่า “ขอบคุณนะ”

 

 

20211005-001-byworamon

เมื่อได้รับการปลอบโยนด้วยความใส่ใจจากจิตอาสาแล้ว คุณหันก็รู้สึกซาบซึ้งใจจนกลั้นน้ำตาไม่อยู่ จับมือจิตอาสาไว้แน่น พร้อมทั้งพูดว่า “ขอบคุณนะ”

 

คุณสุมาลี ไพรเขียว เจ้าหน้าที่ อบต.เกาะรัง ซึ่งช่วยนำทางจิตอาสาลงพื้นที่ รู้สึกประทับใจที่จิตอาสาฉือจี้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนชาวบ้าน คุณสุมาลีเล่าว่า เมื่อเห็นบ้านเรือนและบ้านเรือนของชาวบ้านถูกน้ำท่วม ก็รู้สึกเสียใจจนต้องหลั่งน้ำตา แต่ด้วยบทบาทของเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ แม้จะเศร้าเสียใจเพียงใด แต่ในเวลานั้นทำได้เพียงทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด โดยช่วยทำอาหารกล่องแจกพี่น้องผู้ประสบภัยทุกวัน วันละ 3 มื้อ วันนี้เห็นชาวบ้านยิ้มได้ เพราะมีฉือจี้ยื่นมือมาให้ความช่วยเหลือ คุณสุมาลีก็รู้สึกดีใจและแบ่งปันความรู้สึกว่า “ดีใจค่ะและก็ขอบคุณแทนชาวบ้านที่เดือดร้อนทุกคนเลยค่ะ เพราะว่า ตอนที่ประสบปัญหาคือมันหนักมาก เราเก็บอะไรไม่ทันจริงๆ รู้สึกดีใจที่มีหน่วยงานต่างๆเข้ามาช่วยเหลือ ดีใจมากค่ะ ”

 

เมื่อผู้ประสบภัยก้าวออกมาขอความช่วยเหลือไม่ได้ เราต้องก้าวเข้าไปให้ความช่วยเหลือ

 

ที่ ต.พุคา อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ยังคงมีน้ำท่วมขัง พื้นที่ทางการเกษตรกลายเป็นผืนน้ำกว้างราวกับมหาสมุทร น้ำท่วมลึกประมาณ 3 เมตร ส่วนในพื้นที่บ้านเรือนของประชาชน ถนนหนทางกลายเป็นคลองน้ำ น้ำท่วมลึกประมาณ 1.5 เมตร ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านจึงต้องใช้เรือสัญจรไปมา


20211005-166-bydatchanee

จิตอาสาต้องนั่งเรือเข้าไปเยี่ยมเยียนพี่น้องผู้ประสบภัย



ในขั้นตอนการลงพื้นที่เยี่ยมเยียนชาวบ้านนั้น จิตอาสาได้นั่งเรือนำสิ่งของไปยังจุดมอบถุงยังชีพที่อยู่ภายในหมู่บ้าน เมื่อทราบว่ามีจิตอาสาฉือจี้จากกรุงเทพฯเดินทางนำความช่วยเหลือมามอบให้ ชาวบ้านก็ทยอยพายเรือมารับสิ่งของ สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกมารับสิ่งของในจุดที่กำหนดไว้ จิตอาสาก็นั่งเรือนำสิ่งของไปมอบให้ถึงมือที่บ้านของพวกเขา

 

20211005-140-bydatchanee

พี่น้องผู้ประสบภัยทยอยพายเรือมารับถุงยังชีพ โดยมีจิตอาสาช่วยขนถุงยังชีพไปส่งถึงเรือ

 

ถุงยังชีพแต่ละชุด นอกจากสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันแล้ว ครั้งนี้ยังมีความแตกต่างจากครั้งก่อนๆ โดยจิตอาสารู้สึกเห็นอกเห็นผู้ประสบภัย ที่จะต้องเผชิญกับปัญหาสุขอนามัยหลังน้ำลด จึงนำยารักษาโรคและอุปกรณ์ทำความสะอาด เพิ่มเข้าไปในถุงยังชีพอีกด้วย


ดังนั้น รายการสิ่งของในถุงยังชีพฉือจี้ มีดังนี้
1.สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ข้าวสาร บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป น้ำมัน ซีอิ๊ว น้ำตาลทราย เกลือ น้ำผลไม้ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน
2.ยารักษาโรค ได้แก่ ยาแก้แพ้ ยาลดไข้ ยาแก้น้ำกัดเท้า ยาแก้ผื่นคัน น้ำยาล้างแผล แอลกอฮอล์ล้างแผล สำลี พลาสเตอร์ปิดแผล
3.อุปกรณ์ทำความสะอาด ได้แก่ ถังน้ำ แปรงขัดพื้น สก็อตไบรท์ ผงซักฟอก

 


20211005-177-bydatchanee

ถุงยังชีพฉือจี้ที่เต็มไปด้วยสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ยารักษาโรคและอุปกรณ์ทำความสะอาด มีประโยชน์กับพี่น้องผู้ประสบภัยในช่วงน้ำท่วมเป็นอย่างมาก


เมื่อได้รับถุงยังชีพจากฉือจี้ ที่เต็มไปด้วยสิ่งของต่างๆครอบคลุมทุกด้านเช่นนี้ ทำให้พี่น้องผู้ประสบภัยรู้สึกดีใจ เพราะว่าสิ่งของยังชีพที่ฉือจี้มอบให้ล้วนมีประโยชน์ ใช้ได้จริงในช่วงที่ต้องเผชิญกับน้ำท่วม คุณศรี แบ่งปันความรู้สึกว่า “แค่นี้ก็บรรเทาไปได้เป็นเดือนแล้ว มีค่าที่สุดๆก็สิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน ส่วนอุปกรณ์ทำความสะอาดก็มีประโยชน์ ตอนนี้น้ำท่วม แต่พอน้ำลด เราก็จะได้นำไปล้าง ไปขัดถูได้ค่ะ”

 

ลงพื้นที่ประสบภัย เข้าใจความทุกข์คนเดือดร้อน

คุณเอเลน เฉิน จิตอาสาฉือจี้ซึ่งอาศัยอยู่ใน จ.พระนครศรีอยุธยา อาศัยการร่วมกิจกรรมช่วยเหลืออุทกภัย จ.ลพบุรี เรียนรู้ประสบการณ์ เพื่อเตรียมการสำหรับรับมือกับอุทกภัยที่อาจจะเกิดขึ้น คุณเอเลน เฉิน แบ่งปันว่า “ที่จริงแล้ว ถัดจากลพบุรีลงไปก็คืออยุธยา มวลน้ำจากลพบุรีก็จะไหลลงสู่อยุธยา ลพบุรีมีระยะทางห่างจากอยุธยาประมาณ 50 กิโลเมตร เห็นลพบุรีน้ำท่วมหนักอย่างนี้แล้ว ผมก็เชื่อว่าอยุธยาก็น่าจะท่วมหนักเหมือนกันครับ แม้ว่าอยุธยาจะเป็นพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก แต่ขอเพียงแค่เป็นพื้นที่ประสบภัยและประชาชนต้องการความช่วยเหลือ หากเป็นไปได้ เราก็หวังว่าจะสามารถเข้าไปให้กำลังใจ ช่วยเหลือพวกเขาให้ผ่านภัยพิบัติไปในเร็ววันครับ”

 

20211005-003-bychenkuan

จิตอาสาจากหมู่บ้านหรรษา กรุงเทพฯ หวนนึกถึงตอนที่ตนประสบกับน้ำท่วมครั้งใหญ่ เมื่อปี 2554 จึงใช้ประสบการณ์เคยพบพาน ปลอบโยนและให้กำลังใจพี่น้องผู้ประสบภัยใน จ. ลพบุรี

 

หลังลงพื้นที่ประสบภัยแล้ว จิตอาสาก็เข้าใจถึงความต้องการของพี่น้องผู้ประสบภัยมากยิ่งขึ้น คุณสุกัญญา ริมพนาเวศ ประธานบริหารมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย แบ่งปันว่า “สำหรับถุงยังชีพ เราก็นำมามอบให้พี่น้องผู้ประสบภัยที่ จ. ลพบุรี เบื้องต้น 1,000 ชุด แต่ฉันคิดว่าเราคงต้องให้การช่วยเหลือต่อไป จากที่สอบถามชาวบ้านก็ได้คำตอบว่า สิ่งที่พวกเขาต้องการที่สุดก็คือ ห้องสุขาเคลื่อนที่ ซึ่งเราจะนำกลับไปพิจารณาอีกครั้งว่า เราจะสามารถให้ความช่วยเหลือได้หรือไม่ อย่างไรบ้าง เพราะตอนนี้ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาก็ลำบากมาก น้ำ ไฟ ก็ใช้ไม่ได้ค่ะ”


20211005-004-byming

เนื่องจากน้ำท่วมชั้นล่างของบ้าน ผู้ประสบภัยจึงต้องย้ายไปอาศัยอยู่บนชั้นบน ดังนั้น เมื่อมีจิตอาสานำสิ่งของไปมอบ พี่น้องผู้ประสบภัยก็จะใช้เชือกดึงถังน้ำซึ่งบรรจุสิ่งของขึ้นไปบนบ้าน

 

 


   เรื่อง  ดรรชนี สุระเทพ      ภาพ  รัตนโชติ ประมวลทรัพย์,พิณญ์ธิชา จันทร์สุขศรี,ดรรชนี สุระเทพ,วีระชัย ทาบุญสม,วรมน เกียรติธีรชัย,เอเลน เฉิน

 

 

 

ถักหมวกไหมพรม ส่งความอบอุ่นสู่พี่น้องภาคเหนือ

 

20210204knittingwoolhattonorthernthailand

 

        จากโครงการมอบถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ได้รับความเดือดร้อนจากโรคโควิด-19 ทำให้มีประชาชนจำนวนหนึ่งยินดีร่วมเป็นทำงานเป็นจิตอาสากับฉือจี้ ซึ่งผู้ใจบุญเหล่านี้ไม่เพียงมาร่วมกิจกรรมมอบสิ่งของให้กับพี่น้องประชาชน หากแต่ในวันปกติ ยังมาร่วมเป็นจิตอาสาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ช่วยคัดแยกขยะรีไซเคิล เรียนรู้การปกปักษ์รักษ์โลกที่มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทยเป็นประจำ และในเวลาว่างก็ไม่ปล่อยเวลาผ่านเลยไปโดยไร้ประโยชน์ โดยมักจะนำขยะรีไซเคิลมาประดิษฐ์เป็นผลงานสุดสร้างสรรค์อยู่เสมอ

บริการตรวจ ATK ผู้ลี้ภัย รวมพลังป้องกันควบคุมโรคโควิด-19

banner

“กลุ่มผู้ลี้ภัยในเขตเมือง” ซึ่งอาศัยอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการใดๆ ของไทยได้ ดังนั้น ในสถานการณ์ที่โรคโควิด-19 ยังคงระบาดอย่างกว้างขวาง จึงถือว่าเป็นการซ้ำเติมชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขา ทว่า ทุกคนก็ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ดังนั้น เพื่อขยายโอกาสในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ลดการแพร่ระบาดสู่สังคมไทยในวงกว้าง “คลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้” จึงได้จัดบริการตรวจโควิดด้วยเครื่อง Antigen Test Kit หรือ ATK ให้กับผู้ลี้ภัยในเขตเมือง ผ่านการลงทะเบียนนัดหมายล่วงหน้าสัปดาห์ละครั้ง (จำกัด 100ราย/ครั้ง)


 

ระดมความคิด เตรียมการอย่างรัดกุม
จากมาตรการผ่อนคลายล็อคดาวน์ ที่จะเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นมา เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและลดผลกระทบต่อภาคธุรกิจบางส่วน ซึ่งจะทำให้ผู้คนออกมาข้างนอกกันมากขึ้น ทว่าในสถานการณ์ที่จำนวนผู้ติดเชื้อยังคงไม่ลดลงอย่างนี้ ส่งผลให้ประชาชนยังคงเต็มไปด้วยความหวาดระแวงและหวั่นวิตก ดังนั้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมป้องกันและควบคุมโรค คลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้จึงได้เริ่มเตรียมโครงการตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วย ATK ให้กับผู้ลี้ภัยในเขตเมืองขึ้น ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมเป็นต้นมา จากนั้นในวันที่ 7 กันยายน 2564 จิตอาสาและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องจึงได้ร่วมประชุมเตรียมความพร้อมกันอีกครั้ง พร้อมทั้งไม่ลืมที่จะกำชับถึงมาตรการป้องกันที่ต้องรัดกุมขั้นสูงสุด โดยจิตอาสาฉือจี้ คุณจางฮุ่ยเจิน กล่าวกำชับในที่ประชุมว่า

 

"เนื่องจากตอนนี้ ในกลุ่มผู้ลี้ภัยก็เริ่มมีผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ดังนั้น วันนี้เราจึงมาประชุมหารือกัน

เกี่ยวกับบริการตรวจ ATK ให้ผู้ลี้ภัย รวมถึงสิ่งที่ต้องระมัดระวัง และหากเจอผู้ป่วยที่ผลตรวจเป็นบวก 

เราจะมอบ ชุดยาปันรัก เพื่อให้พวกเขาสามารถรักษาตัวแบบ Home Isolation ที่บ้านต่อได้"       

 

001

เจ้าหน้าที่บริการฉีดเจลแอลกอฮอล์ให้ผู้เข้ารับบริการตรวจโควิด-19 ด้วย ATK ทุกคน

 

002

 เจ้าหน้าที่มอบหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ให้กับผู้เข้ารับบริการตรวจโควิด-19 ด้วย ATK ทุกคน

 

003

 บรรยากาศการตรวจโควิด-19 ด้วย ATK ให้กับผู้ที่ลงทะเบียนออนไลน์

 

ยกการ์ดสูง ปลอดภัยไว้ก่อน

"ทุกวันนี้โรคโควิด-19 กลายเป็นปัญหาที่ขยายไปทั่วทุกมุมโลก พวกเราในฐานะผู้ลี้ภัย

ไม่เคยได้รับโอกาสเข้ารับบริการในมาตรการป้องกันของหน่วยงานใดๆ จึงขอบคุณฉือจี้เป็นอย่างมาก

ที่เห็นความสำคัญของผู้ลี้ภัยทุกคน ถือเป็นการเสียสละอันยิ่งใหญ่จริงๆ ครับ"     

หนึ่งในผู้ลี้ภัยที่มารับบริการตรวจ ATK ในวันที่ 9 กันยายน บอกเล่าความรู้สึกของตนเอง  จากโครงการดังกล่าวนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อ เนื่องจากการรวมตัวของคนจำนวนมาก เจ้าหน้าที่จึงได้อาศัยการลงทะเบียนออนไลน์ พร้อมทั้งนัดหมายให้ผู้ลี้ภัย เดินทางมายังจุดตรวจ จำกัดชั่วโมงละไม่เกิน 10 คน

หลังจากเข้ามาถึงจุดตรวจ ทุกคนต้องผ่านการตรวจวัดอุณหภูมิและพ่นแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ จากนั้นยังต้องสวมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมไว้ให้ และจำกัดให้อยู่เพียงภายในพื้นที่เต็นท์สำหรับตรวจ ATK เท่านั้น หลังจากตรวจสอบรายชื่อ รับบัตรคิวแล้ว เจ้าหน้าที่จึงดำเนินการตรวจพร้อมกันทีละ 2 คิว เมื่อให้บริการแต่ละชุดเสร็จ ก็จะพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อตามทุกครั้ง

หลังจากรอผล 30 นาที ผู้ที่ผลตรวจเป็นลบ จะได้รับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์และเจลแอลกอฮอล์ขวดใหญ่ รวมถึงค่ารถเดินทางกลับ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ จากการโดยสารขนส่งสาธารณะที่แออัด คุณสุกัญญา ริมพนาเวศ ประธานบริหารมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย กล่าวอธิบายว่า

"การตรวจ ATK ครั้งนี้ เราได้เตรียมหน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ไว้ให้เพื่อปกป้องดูแลสุขภาพ

ของทุกคน นอกจากนี้ยังได้มอบค่าเดินทาง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อระหว่างเดินทาง

ส่วนผู้ที่มีผลตรวจเป็นบวก เราก็ยังได้เตรียมชุดยาปันรัก สำหรับผู้ป่วยเบื้องต้นไว้ให้ด้วยค่ะ"        

 

004

เจ้าหน้าที่ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดทุกชั่วโมง

 

005

 จิตอาสาฉือจี้มอบหน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์และค่าเดินทางให้ผู้ลี้ภัยที่เข้ารับการตรวจโควิด-19 ด้วย ATK

 

006

เจ้าหน้าที่มอบชุดยาปันรักให้กับผู้ป่วย ร่วมดูแลสุขภาพและติดตามอาการ

 

007

สองวันหลังการตรวจโควิดด้วย ATK วันที่ 11 กันยายน 2564 แพทย์จาก "คลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้" ติดตามอาการของผู้ป่วยด้วยวิธีเทเลเมดิซีน โดยมีล่ามเป็นสื่อกลางช่วยแปลภาษา

 

แพทย์ติดตามอาการ ดูแลด้วยความใส่ใจ
สำหรับผู้ที่มีผลตรวจเป็นบวก เจ้าหน้าที่ได้จัดเตรียม “ชุดยาปันรัก” ซึ่งข้างในบรรจุด้วย ยาพาราเซตามอล ยาขับเสมหะ ยาฟ้าทะลายโจร ผงเกลือแร่ วิตามินซีและยาอมแก้เจ็บคอ หลังจากนั้นก็จะมีเจ้าหน้าที่และแพทย์คอยติดตามอาการ เพื่อให้พวกเขาเข้ารับการรักษาแบบ Home Isolation อย่างถูกวิธี ลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ภายนอก และสามารถกลับมามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงได้โดยเร็วที่สุด

ซึ่งในการตรวจ ATK ให้ผู้ลี้ภัยครั้งแรกนี้ เจ้าหน้าที่ทุกคนล้วน “สวมชุดและอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย” เต็มรูปแบบ ยกการ์ดสูงเพื่อป้องกันตัวเอง ขณะเดียวกันก็ร่วมแรงร่วมใจดูแลผู้อื่น รวมมีผู้เข้ารับบริการตรวจ ATK ทั้งสิ้น 59 ราย


   เรื่อง  บุษรา สมบัติ     ภาพ  รัตนโชติ ประมวลทรัพย์  

 

 

คลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้ ดูแลรักษาสุขภาพอย่างเท่าเทียม

20210130cover 

นับตั้งแต่ พ.ศ.2558 เป็นต้นมา ฉือจี้ออกหน่วยตรวจรักษาโรคฟรี แก่ผู้ป่วยยากไร้เป็นประจำทุกเดือน ตลอดระยะเวลาหกปี ให้การดูแลสุขภาพทั้งทางกายและทางใจ โดยไม่แบ่งแยกสัญชาติ เผ่าพันธ์ุและศาสนา ไปมากกว่า 31,000 ราย แต่หลังจาก “คลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้” ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2564 เป็นต้นไป จะให้บริการตรวจรักษาทุกวันอังคารและวันเสาร์ เพื่อขยายความช่วยเหลือไปยังผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากยิ่งขึ้น

“ยาปันรัก” ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 อย่างทันท่วงที

20210815 cover

หลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยดูแลผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว ซึ่งมีอาการไม่รุนแรงหรือไม่แสดงอาการ ให้สามารถเข้าถึงยารักษาโรคได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องออกจากบ้าน บุคลากรทางการแพทย์ ของ “คลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้” และจิตอาสาฉือจี้ จึงได้จัดโครงการ “ชุดยาปันรัก ช่วยผู้ป่วยโควิด-19 (สีเขียว)” ขึ้น


 

จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 เป็นต้นมา ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นกว่า 20,000 คนต่อวัน แต่ละวันก็จะได้ยินข่าวสารจากพื้นที่ต่างๆ ว่าที่ไหนหรือโรงงานไหนบ้างที่เป็นคลัสเตอร์ใหม่หรือมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก พื้นที่การระบาดรุนแรงส่งผลให้ระบบสาธารณสุขแบกรับไม่ไหว เวชภัณฑ์หลายอย่างขาดแคลน ผู้ป่วยหลายรายไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ ถึงขนาดที่มีผู้เสียชีวิตภายในบ้าน หรือแม้กระทั่งเสียชีวิตระหว่างถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล 

 

001

เจ้าหน้าที่และจิตอาสาฉือจี้ช่วยกันบรรจุชุดยาปันรัก

  

เผชิญวิกฤติด้วยสติ ขอความช่วยเหลือจากฉือจี้

จิตอาสาฉือจี้ คุณไช่ชิวหลิง ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับบริษัทก่อสร้าง ที่กำลังดำเนินโครงการอยู่หลายแห่งในหลายพื้นที่ เล่าว่า คืนวันที่ 3 สิงหาคมที่ผ่านมา หนึ่งในผู้จัดการโครงการได้โทรศัพท์มาแจ้งว่า ก่อนหน้านี้มีคนงาน 2 คนรู้สึกไม่สบาย จึงได้ทำเรื่องลาออกและกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดแล้ว ทว่าระหว่างการกักตัวที่บ้านเกิด พวกเขาถูกตรวจพบว่าเขาเป็นหนึ่งใน “ผู้ติดเชื้อโควิด-19”


ซึ่งคนงานดังกล่าว เคยอยู่ในแคมป์ที่กำลังทำการก่อสร้าง ทำให้ตนเองรู้สึกเป็นห่วงคนงานอื่นๆ ที่เหลือ เนื่องจากพวกเขาต่างอาศัยอยู่ภายในแคมป์ใกล้ไซต์ก่อสร้าง ดังนั้น จึงได้รีบดำเนินการจัดหาน้ำยาฆ่าเชื้อ มาฉีดพ่นในไซต์งานและแคมป์ที่พักทันที วันรุ่งขึ้น ซึ่งตรงกับวันที่ 4 สิงหาคม ก็รีบจัดการตรวจคัดกรองให้กับคนงานที่เหลือทั้งหมด 64 คนด้วยชุดตรวจ Antigen test kit


ขอบคุณผู้จัดการไซต์งานและผู้ช่วยอีกสองคนที่สวมชุดป้องกันอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อช่วยทำการตรวจทดสอบให้กับคนงานทีละคนจนครบ และพบว่ามีผู้ติดเชื้อทั้งหมด 4 คน อีก 3 คนเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงสูง โดยก่อนการตรวจคัดกรอง ทางบริษัทได้ใช้ผ้าใบผืนใหญ่ กั้นพื้นที่มุมหนึ่งให้แยกออกจากแคมป์ที่พักคนงาน พร้อมทั้งก่อสร้างห้องพักและห้องน้ำ แยกไว้เตรียมให้กับผู้ป่วยโดยเฉพาะ


ท่ามกลางสถานการณ์ที่หลายอย่างกำลังขาดแคลนในปัจจุบัน คุณไช่ชิวหลิงทราบว่าฉือจี้มีโครงการส่งยารักษาให้กับผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ที่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการไม่มาก ดังนั้นจึงรีบติดต่อไปยังจิตอาสาฉือจี้ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อยื่นเรื่องขอสนับสนุนชุดยาดังกล่าวทันที 

002

เจ้าหน้าที่และจิตอาสาฉือจี้ช่วยกันบรรจุชุดยาปันรัก

 

 003

"ชุดยาปันรัก" ส่งมอบถึงที่พักผู้ป่วยโควิด(กลุ่มสีเขียว) เพื่อช่วยบรรเทาอาการป่วย

 

 

แม้สถานการณ์การระบาดจะยังน่าเป็นห่วง ทว่าทั้งเจ้าหน้าที่และจิตอาสาฉือจี้ทุกคน ยังคงทุ่มเทช่วยกันบรรจุดชุดยาปันรักอย่างขะมักเขม้น วันที่ 5 สิงหาคม คุณไช่ชิวหลิงจึงให้พนักงานมารับชุดยาปันรักที่สำนักงานฉือจี้ เพื่อส่งไปยังแคมป์คนงานโดยทันที เดิมทีบรรดาผู้ป่วยที่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อโควิด-19 ต่างก็รู้สึกวิตกกังวล แต่เมื่อได้รับชุดยาปันรักแล้ว ก็รู้สึกคลายความหวาดหวั่นลงไปอย่างมาก เพราะยาทั้งหมดล้วนเป็นชนิดเดียวกับที่ทางสถานพยาบาลที่มีชื่อเสียง จัดให้กับผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว ที่ไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง

 

 

“ไม่ต้องกังวล ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว กินยาแล้วเดี๋ยวอาการก็จะดีขึ้น

รีบมาเบิกชุดยาปันรักฉือจี้นะ เราจะรีบจัดเตรียมไว้ให้”

 

คุณไช่ชิวหลิงเล่าว่า “ขอบคุณครอบครัวฉือจี้ คุณจางฮุ่ยเจิน ที่ช่วยปลอบโยนฉัน ตอนที่กำลังรู้สึกหวาดกลัวไม่รู้ว่าควรจะต้องทำอย่างไรต่อไป คำพูดนั้นเหมือนเป็นยาคลายเครียดให้กับฉัน เช่นเดียวกัน ฉันก็นำคำพูดของคุณจางฮุ่ยเจินไปบอกกับคนงานว่า ไม่ต้องกังวล กินยาแล้วเดี๋ยวก็หาย เราจะดูแลทุกคนเอง”


วันที่ 7 สิงหาคม ทางบริษัทได้รับแจ้งว่า มีคนงานอีกคนที่คิดว่าตัวเองน่าจะมีอาการของโควิด-19 จึงได้รีบดำเนินการตรวจ Antigen test kit ซ้ำให้อีกครั้งทันที พบว่าได้ผลเป็นบวกจริงๆ และยังมีผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงสูงเพิ่มอีกหนึ่งคน ดังนั้นจึงรีบแยกพวกเขาเพื่อกักตัวและเข้ารับการรักษาต่อ จากนั้น ในวันที่ 9 สิงหาคม ทางบริษัทจึงได้รีบดำเนินการตรวจให้คนงานทั้งหมดเป็นครั้งที่ 2 และพบว่ามีผู้ป่วยใหม่อีก 1 คนและผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอีกหนึ่งคน ด้วยเหตุนี้ จึงประสานขอชุดยาปันรักจากฉือจี้อีกเป็นครั้งที่ 2


หลังจากตรวจคัดกรองด้วย Antigen test kit ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนพบผู้ติดเชื้อ และแยกตัวผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการรักษา คุณไช่ชิวหลิงเล่าว่า ระหว่างนั้น ความรู้สึกก็ขึ้นๆ ลงๆ เต็มไปด้วยความวิตกกังวล โชคดีที่คนงานที่มีผลพบว่าติดเชื้อ ทุกคนล้วนเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว เมื่อกินยาต่อเนื่อง 4-5 วัน อาการก็ค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ 

 

004

เพื่อนร่วมงานช่วยเป็นธุระต้มน้ำสมุนไพรให้กับผู้ป่วยและผู้สัมผัสใกล้ชิดที่มีความเสี่ยงสูง

 

ชุดยาปันรักบรรเทาโรคภัย เพื่อนร่วมงานห่วงใยบรรเทาจิตใจ

เนื่องจากคนงานส่วนใหญ่ ล้วนเป็นพี่น้องชาวอิสาน ทุกคนจึงดูแลกันและกันด้วยความห่วงใย สลับสับเปลี่ยนกันช่วยหุงหาอาหารส่งให้กับเพื่อนๆ ผู้ป่วยและผู้มีความเสี่ยงที่ต้องกักตัว นอกจากนี้ยังต้มน้ำสมุนไพรเพื่อให้ทุกคนดื่มและอาบ เจ้าหน้าที่ของบริษัทก็ยังโทรฯ สอบถาม และทำบันทึกเพื่อคอยติดตามอาการทุกวัน


หลังจากได้รับชุดยาปันรัก หากมีข้อสงสัยประการใด ก็จะมีเจ้าหน้าที่ของคลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้รับเรื่องไว้ปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยและผู้ที่ต้องดูแลผู้ติดเชื้อ รู้สึกอุ่นใจเป็นอย่างมาก ประกอบกับความห่วงใยระหว่างเพื่อนร่วมงาน ของทุกคนในไซต์ก่อสร้าง ก็ทำให้คุณไช่ชิวหลิงยิ่งรู้สึกวางใจ “ในฐานะเถ้าแก่ เราทำได้เพียงช่วยจัดหายาและอุปกรณ์ฆ่าเชื้อที่ดีที่สุดให้ ระหว่างที่ผู้ป่วยและผู้มีความเสี่ยงสูงต้องกักตัว ก็ยังจ่ายค่าจ้างให้ตามปกติ เพื่อให้พวกเขาสามารถพักรักษาตัวได้อย่างไร้กังวล ไม่ต้องห่วงเรื่องภาระค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตค่ะ”


วันที่ 13 สิงหาคม ผู้ป่วยที่รับประทานยาปันรักจากฉือจี้ ล้วนมีอาการที่แทบจะหายเป็นปกติ หลังจากเข้ารับการตรวจด้วย Antigen test kit อีกครั้งก็พบว่ามีผลเป็นลบทั้งหมด หลังจากนี้พวกเขายังต้องกักตัวอีก 14 วัน จึงจะสามารถกลับออกมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ถึงตอนนี้ คุณไช่ชิวหลิงบอกว่าเหมือนยกภูเขาออกจากอก และต้องขอขอบคุณทุกคน ที่ช่วยให้ผ่านช่วงเวลานั้นมาได้

 


   เรื่อง  ไช่ชิวหลิง     (แปลไทย  บุษรา สมบัติ)      ภาพ  ไช่ชิวหลิง, พิณญ์ธิชา จันทร์สุขศรี  

 

Workshop รักษ์โลก เปลี่ยนพลาสติกเป็นเงินทอง

 

20201208recycleworkshopcover

 

 8 ธันวาคม 2563 หน่วยงาน Precious Plastic Bangkok เดินทางมาจัดดำเนิน “กิจกรรมเวิร์คช็อป เปลี่ยนพลาสติกเป็นเงิน ” โดยมีจิตอาสาฉือจี้และประชาชนจำนวน 32 คนเข้าร่วมกิจกรรม ภายใต้กิจกรรมเวิร์คช็อปเล็กๆ แต่อัดแน่นไปด้วยบรรยากาศแห่งความอบอุ่นนี้ ทุกคนต่างร่วมเรียนรู้ด้วยความตั้งใจ ร่วมลองทำชิ้นงานสุดสร้างสรรค์จากการรีไซเคิลฝาขวดพลาสติกด้วยตนเองอย่างสนุกสนาน และยังได้อาศัยโอกาสอันดีนี้ ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับวิทยากรผู้มาให้ความรู้อีกด้วย

ฉือจี้มอบชุดยาปันรัก ช่วยผู้ป่วยโควิด-19

 

cover


ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน จนทำให้โรงพยาบาลต่างๆมีจำนวนเตียงไม่เพียงพอ กระทรวงสาธารณสุขจึงปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษา โดยให้ผู้ป่วยสีเขียวเข้าระบบ Home Isolation ภายใต้การดูแลของคลินิกในชุมชน อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการดังกล่าวได้ ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการทำให้อาการโรครุนแรงขึ้น ดังนั้น มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย จึงจัดโครงการ “ฉือจี้มอบชุดยาปันรัก ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว” หวังเป็นส่วนหนึ่งช่วยเหลือสังคม บรรเทาอาการเจ็บป่วย คลายความทุกข์กังวล และอวยพรให้ผู้ป่วยผ่านพ้นวิกฤตินี้ในเร็ววัน

 


 

ฉือจี้ในเมืองไทยมอบชุดยาปันรัก ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด -19 กลุ่มสีเขียว

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของประเทศไทยในปัจจุบันเลวร้ายขึ้นทุกวัน มียอดผู้ติดเชื้อเกิน 10,000 รายตั้งแต่ 17 กรกฎาคม เป็นต้นมา และอัตราของจำนวนผู้เสียชีวิตก็เพิ่มสูงขึ้นตามจำนวนผู้ติดเชื้อ ทั้งโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลสนามต่างมีจำนวนเตียงไม่เพียงพอต่อการรักษาผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยบางคนอาการหนักมิอาจทนรอจนเสียชีวิตคาบ้าน สร้างความสะเทือนใจต่อผู้ที่รับรู้ข่าวสารยิ่งนัก

 

july covid satatisfics th

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเลวร้ายขึ้นทุกวัน กระทรวงสาธารณสุขจึงปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษา โดยให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวแยกกักตัวรักษาอาการที่บ้าน

 

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขจึงปรับเปลี่ยนแนวทางการให้บริการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยจำแนกผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่มตามระดับอาการป่วย ได้แก่ 1.กลุ่มผู้ป่วยสีเขียว คือ ผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการไม่มาก 2. กลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการปานกลาง 3.กลุ่มผู้ป่วยสีแดง คือ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง โดยดำเนินการให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวแยกกักตัวรักษาอาการที่บ้านหรือในชุมชน เพื่อเพิ่มจำนวนเตียงว่างสำหรับรักษาผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองและสีแดง ลดอัตราการเสียชีวิต ช่วยชีวิตผู้ป่วยให้ได้มากยิ่งขึ้น

 

meeting
จิตอาสาและพนักงานร่วมประชุม เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการให้บริการชุดยาปันรัก


อย่างไรก็ตาม ด้วยจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นในแต่ละวัน อสจทำให้ภาครัฐดูแลผู้ป่วยไม่ทั่วถึง ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวซึ่งแยกกักตัวรักษาอาการป่วยที่บ้าน ยังคงรอคอยความช่วยเหลือด้านการแพทย์อยู่เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ มูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย จึงจัดโครงการ “ฉือจี้มอบชุดยาปันรัก ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว”


โดยอาศัยบุญสัมพันธ์ของ “คลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้” ซึ่งเริ่มจัดตั้งขึ้นในปีนี้ ให้บริการด้านการแพทย์แก่ประชาชนให้มากยิ่งขึ้น คุณจางฮุ่ยเจิน จิตอาสาฉือจี้ ผู้ซึ่งรับหน้าที่ผู้จัดการทั่วไปของฝ่ายกิจการรักษาพยาบาลฟรี แบ่งปันว่า “ปัจจุบันยากที่จะหาเตียงได้ โรงพยาบาลใหญ่ต่างๆ ล้วนไม่สามารถรองรับผู้ป่วยเหล่านี้ได้แล้ว ผู้ป่วยเหล่านี้ซึ่งมีผลตรวจยืนยันการติดเชื้อ ได้แต่รอคอยอย่างเงียบๆ อาจจะนานหนึ่งสัปดาห์ อาจจะสิบวัน ทว่า ด้วยสภาพเช่นนี้ อาจทำให้อาการของผู้ป่วย ยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น คลินิกเวชกรรมของเรา จึงอาศัยโอกาสนี้ เริ่มเตรียมส่งมอบชุดยาปันรัก เพื่อช่วยบรรเทาอาการป่วยของเขาและหวังว่าพวกเขาจะหายป่วยในเร็ววัน”

 


medicine projiect admin
คุณณัฐธยาน์ ธนัทกิตติพงศ์ พนักงานแผนกประชาสัมพันธ์ รับหน้าที่เป็นแอดมินของเฟซบุ๊กและไลน์ของฉือจี้ในเมืองไทย คอยรวบรวมข้อมูลส่งให้บุคลากรทางการแพทย์

 

กลุ่มเป้าหมายของการมอบชุดยาปันรักคือ ผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว โดยไม่แบ่งกั้นเชื้อชาติ ศาสนาหรือจากประเทศใด ทั้งประชาชนคนไทย แรงงานต่างด้าว ผู้ลี้ภัย หรือบริษัทต่างๆที่มีพนักงานติดเชื้อโควิด-19 สามารถติดต่อลงทะเบียนขอรับชุดยาปันรักผ่านเฟซบุ๊ก ไลน์ เบอร์โทรศัพท์ของมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทยได้ โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยบริการให้ข้อมูลและแนะนำขั้นตอนการลงทะเบียนรับชุดยาปันรัก

 


tzuchi medicine th
รายการยาต่างๆของชุดยาปันรักฉือจี้

 

ชุดยาปันรักของฉือจี้อบอวลไปด้วยความรัก อันประกอบไปด้วย ยาพาราเซตามอล ยาขับเสมหะ ฟ้าทะลายโจรชนิดแคปซูล ซึ่งเป็นยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยสีเขียวของกระทรวงสาธารณสุขและโรงพยาบาลทั่วไป อีกทั้งยังเพิ่มยาอมแก้เจ็บคอ เกลือแร่ และวิตามินซี สำหรับบำรุงร่างกายและทำให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยได้ดียิ่งขึ้น คุณมรินทร์ธรณ์ เสมรอด บุคลากรทางการแพทย์คลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้ แบ่งปันว่า “ถ้าผู้ป่วยได้รับยาอันนี้ไป อย่างน้อยในช่วงที่ผู้ป่วยจะต้องรอเตียง อาการผู้ป่วยจะดีขึ้น ในบางกรณีกรณีไหนที่เชื้อลงปอดแล้ว ก็จะสามารถช่วยยืดเวลาไม่เกิดภาวะวิกฤติค่ะ ”

 

marinthorn
คุณมรินทร์ธรณ์ เสมรอ บุคลากรทางการแพทย์ของคลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้ จัดยาให้ผู้ป่วยด้วยความละเอียดรอบคอบ


แม้ว่าชุดยาปันรักของฉือจี้จะมีรายการยาที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนแล้ว ทว่า บุคลากรทางการแพทย์ของคลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้ยังคงจัดยาให้กับผู้ป่วยอย่างละเอียดรอบคอบ โดยพิจารณาจากข้อมูลของผู้ป่วยทีละคน ซึ่งลงทะเบียนและกรอกข้อมูลผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ไว้ เช่น โรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา เป็นต้น จากนั้นเภสัชกรจึงจะดำเนินการจัดยาตามที่แพทย์ปรับเปลี่ยนยาตามความเหมาะสม

 

กำลังคนน้อย แต่ความรักของจิตอาสาฉือจี้ไม่มีจำกัด

ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินและมาตรการเคอร์ฟิว เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้จิตอาสาไม่สามารถรวมตัวกันเป็นจำนวนมากเพื่อร่วมทำกิจกรรมได้ ดังนั้น จึงมีจิตอาสาและพนักงานเพียงเพียงไม่กี่คน ร่วมแรงร่วมใจกันให้บริการจัดส่งชุดยาปันรักให้กับผู้ป่วย

 

medicine kti packing
จิตอาสาและพนักงานช่วยกันจัดเตรียมชุดยาปันรัก


ในชุดยาปันรักนอกจากยาชนิดต่างๆดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีแผ่นพับแนะนำฉือจี้ เพื่อประชาสัมพันธ์ภารกิจต่างๆของมูลนิธิฯ ทั้งยังมีหนังสือวาทะจิ้งซือเล่มเล็ก ซึ่งรวมคติธรรมอันดีจากท่านธรรมาจารย์เจิ้งเอี๋ยน หวังให้ผู้ป่วยเปิดอ่านแล้ว รู้สึกผ่อนคลายความกังวลใจ รวมไปถึงพวงกุญแจ “ผิงอัน” อันมีความหมายว่า “ปลอดภัย” ที่แขวนบนหูหิ้วของถุงยาปันรัก สื่อความหมายถึงคำอวยพรจากใจของจิตอาสาฉือจี้

 

tzuchi culture in medicine kit
นอกจากยาชนิดต่างๆแล้ว ยังมีแผ่นพับแนะนำฉือจี้ หนังสือวาทะจิ้งซือ และพวงกุญแจ “ผิงอัน” อันมีความหมายว่า “ปลอดภัย” สื่อความหมายถึงคำอวยพรจากใจของจิตอาสาฉือจี้


คุณสุกัญญา ริมพนาเวศ ประธานบริหารมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันในประเทศไทย แบ่งปันว่า นี่คือยาที่เราจะส่งให้กับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 เราหวังว่า เมื่อพวกเขาได้รับยานี้แล้ว จะสามารถช่วยบรรเทาอาการ จนสามารถกลับมาแข็งแรงได้ โดยถุงยาที่เราส่งออกไป ด้านบนก็จะมีการแขวนพวงกุญแจ ที่มีความหมายว่า “ปลอดภัย” เพื่ออวยพรให้พวกเขา กลับมามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ทุกอย่างปลอดภัย ไร้กังวล สำหรับในไทยตอนนี้ เราก็หวังว่าสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19 จะผ่านพ้นไปในเร็ววัน เพื่อให้ทุกคนกลับมามีสุขภาพที่แข็งแรง สังคมสงบสุขร่มเย็นค่ะ


packing
คุณพิณญ์ธิชา (ซ้าย) ช่างภาพ และคุณฐิติกร (ขวา) พนักงานแผนกสังคมสงเคราะห์ ช่วยกันนำชุดยาปันรักแพ็คลงในกล่องพัสดุ เพื่อเตรียมจัดส่งให้กับผู้ป่วย

prayong
จัดส่งทุกวัน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างทันท่วงที คุณประยงค์ กรฉ่ำ พนักงานแผนกธุรการ ชุดยาปันรักจัดส่งให้กับผู้ป่วยทุกวันๆ


จิตอาสาจัดส่งชุดยาปันรักทุกวัน เพื่อส่งถึงผู้ป่วยอย่างทันท่วงที ผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ 1.ส่งพัสดุด้วยไปรษณีย์หรือขนส่งเอกชน 2.จัดส่งด้วยมอเตอร์ไซค์ขนส่งหรือแมสเซ็นเจอร์ส่งของ 3.ตัวแทนบริษัทเดินทางมารับชุดยาปันรักที่มูลนิธิฯ จากนั้นนำไปแจกจ่ายให้กับพนักงานที่ติดเชื้อโควิด

 

บริการหลังจัดส่ง ติดตามอาการผู้ป่วยด้วยความห่วงใย


ผู้ป่วยต่างรู้สึกดีใจที่ได้รับชุดยาปันรักจากฉือจี้ แต่อย่างไร้ก็ตาม แม้ว่าชุดยาปันรักจัดส่งถึงมือผู้ป่วยแล้ว แต่จิตอาสายังคงให้บริการหลังการจัดส่ง ติดตามอาการผู้ป่วยด้วยความห่วงใย

หลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รุนแรงขึ้น คลินิกเวชกรรมพุทธฉือจี้จึงปรับเปลี่ยนการให้บริการเป็น “การแพทย์ทางไกล” ผ่านการวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับผู้ป่วยทุกวันเสาร์ จิตอาสาฉือจี้จึงอาศัยโอกาสอันดีนี้ ขอให้แพทย์วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ติดตามอาการผู้ป่วย ที่ได้รับชุดยาปันรักจากฉือจี้ผ่านการวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

 

dr.thanothorn

นพ.ธนธร สรวิภูกุนทร พูดคุยกับตัวแทนบริษัทเพื่อสอบถามถึงอาการป่วยของพนักงานที่ติดเชื้อโควิดผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์

นพ.ธนธร สรวิภูกุนทร ซึ่งเคยร่วมให้บริการรักษาผู้ป่วยโควิดที่โรงพยาบาลสนาม เห็นด้วยกับการมอบชุดยาปันรักของฉือจี้ เพราะไม่เพียงช่วยบรรเทาอาการให้กับผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ในขณะเดียวกันยังเป็นอีกหนึ่งแนวทางช่วยลดภาระงานดูแลผู้ป่วย ทำให้บุคลากรสามารถมุ่งเน้นดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มสีเหลืองและสีแดงได้มากยิ่งขึ้น นพ.ธนธร แบ่งปันว่า “การมอบชุดยาปันรักของฉือจี้ก็ดีนะครับ หนึ่งคือมีคนที่คอยดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวในขณะที่ไม่ได้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล อย่างที่สองคือ ช่วยประหยัดเตียงทางโรงพยาบาล เพราะปัจจุบันทางโรงพยาบาลก็ต้องการใช้เตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีแนวโน้มจะรุนแรงครับ ”

 

send love to taiwan patient
จิตอาสาตั้งใจจัดเตรียมอาหาร ผลไม้ ขนม ชาสมุนไพร ผงธัญพืช และชุดยาปันรัก จัดส่งให้ผู้ป่วยชาวไต้หวัน


ดูแลผู้ป่วยชาวไต้หวัน รักษาตัวในต่างถิ่นอย่างอุ่นใจ คุณเลี่ยวอี้ถิง เดินทางมาประเทศไทยเพื่อสัมภาษณ์วีซ่าเดินทางไปสวีเดน และตรวจพบเชื้อในระหว่างกักตัว เมื่อมูลนิธิพุทธฉือจี้ไต้หวันสำนักงานใหญ่แจ้งข่าวดังกล่าวแล้ว จิตอาสาฉือจี้ในเมืองไทยจึงเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ดูแลเคียงข้างราวเป็นบุตรหลานตน โดยเตรียมอาหาร ผลไม้ ขนม ชาสมุนไพร ผงธัญพืช และชุดยาปันรัก ให้มอเตอร์ไซค์ขนส่งนำไปส่งให้คุณเลี่ยวอี้ถิงอย่างเร่งด่วน หวังให้คุณเลี่ยวอี้ถิงรักษาตัวอยู่ในต่างถิ่นฐานบ้านเกิดได้อย่างอุ่นใจ และให้ญาติพี่น้องที่อยู่ไต้หวันรู้สึกคลายกังวลหายห่วง คุณเลี่ยวอี้ถิง แบ่งปันความรู้สึกว่า “ขอบคุณมากๆนะคะ ที่จิตอาสามาให้ความช่วยเหลือทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ความรู้สึก ฉันรู้สึกซาบซึ้งใจมากๆค่ะ ดีมากๆเลยค่ะที่มีพวกคุณอยู่เคียงข้าง ขอบคุณที่พวกคุณคอยอยู่เคียงข้างค่ะ”


vdocon with taiwan patient
หลังจากตรวจครั้งล่าสุดพบว่าไม่มีเชื้อโควิดแล้ว คุณเลี่ยวอี้ถิงก็จะเดินทางกลับในวันที่ 4 สิงหาคม โดยก่อนวันเดินทาง จิตอาสาพูดคุยสอบถามสารทุกข์สุกดิบพร้อมทั้งอวยพรผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์


เจ้าหน้าที่แผนกวีดีโอและแผนกวารสาร พูดคุยสัมภาษณ์ผู้ได้รับชุดยาปันรักจากฉือจี้ เพื่อจัดทำสื่อสำหรับประชาสัมพันธ์โครงการให้พี่น้องประชาชนเข้าถึงความช่วยเหลือมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งติดตามสอบถามอาการป่วยด้วยความห่วงใยไปในขณะเดียวกัน

คุณกนกชัย (ขอสงวนนามสกุล) เจ้าหน้าที่เก็บขยะมูลฝอย ซึ่งสงสัยว่าตนติดเชื้อโควิดจากการในขณะทำงานเก็บขยะ หลังจากตรวจพบเชื้อแล้ว เขาและภรรยาต่างกักตัวกันอยู่คนละห้องทันที โชคดีที่ภรรยาไม่ได้ติดเชื้อไปด้วย และยังคอยดูแลภายใต้ขอบเขตของระยะห่างระหว่างกักตัว ในช่วงแรกๆคุณกนกชัยประสานหาเตียงตามโรงพยาบาลต่างๆ แต่ล้วนตอบกลับมาว่า “เตียงเต็ม” ทำให้เขาต้องหาซื้อยามารับประทานเอง รักษาตัวที่บ้านต่อไป

ช่วงที่คุณกนกชัยเริ่มมีไข้ ไอและเจ็บคอรุนแรงมากขึ้น ภรรยาก็ได้เห็นข่าวประชาสัมพันธ์ชุดยาปันรักของฉือจี้ จึงติดต่อเข้ามาลงทะเบียนรับยาทันที ไม่กี่วันชุดยาปันรักของฉือจี้ก็ส่งถึงบ้าน คุณกนกชัยรู้สึกดีใจมาก เพราะว่ายาที่ซื้อมารับประทานเองก่อนหน้านี้ใกล้จะหมดแล้ว คุณกนกชัย แบ่งปันความรู้สึกว่า “ในระหว่างกักตัวผมก็ออกไปไหนไม่ได้ หาสั่งซื้อยาก็ลำบาก ทางมูลนิธิฯจัดส่งชุดยาถึงบ้าน เราก็เพียงแค่รอรับได้เลย ซึ่งมันจะช่วยลดเรื่องค่าใช้จ่ายครับ เพราะชุดนึงก็น่าจะหลายบาทอยู่เหมือนกัน ”

คุณกนกชัยยังเล่าอีกว่า ตอนนี้อาการของเขาทุเลาลงมากแล้ว แทบไม่มีอาการป่วยใดๆเลย ทว่า ยังคงกักตัวที่บ้านอีกสักระยะ หลังจากนั้น เขากับภรรยาจึงจะไปตรวจโควิดอีกครั้ง หากไม่พบเชื้อจึงจะกลับไปทำงานตามเดิมต่อไป

 

medicine kit
ชุดยาปันรักเต็มไปด้วยความรักและคำอวยพรของจิตอาสาฉือจี้

 

ชุดยาปันรักของฉือจี้ เริ่มต้นให้บริการตั้งแต่ 24 กรกฎาคม มีผู้ได้รับชุดยาปันรัก (ข้อมูล ณ วันที่ 13 ส.ค.) ในส่วนรายบุคคล 207 คน และในส่วนบริษัท โรงงาน หรือหน่วยงานต่างๆ จำนวน 41 แห่ง จำนวน 2,636 คน รวม 2,843 คน ซึ่งโครงการนี้ยังคงดำเนินการต่อไป โดยคุณจางฮุ่ยเจิน กล่าวทิ้งท้ายว่า “เราเตรียมชุดยาปันรักไว้ 4,000 ชุด แต่หากยังมีคนต้องการความช่วยเหลือเพิ่ม เราก็จะทำต่อไปอีกค่ะ ”

หากผู้ป่วยท่านใดต้องการชุดยาปันรักของฉือจี้ สามารถติดต่อได้ที่
Facebook:Tzuchithailand มูลนิธิฉือจี้
LINE:@tzuchithailand
โทรศัพท์ :02-3281161 ถึง 63 หรือ 061-9565809,061-8471388,094-2577987(中文),080-5585392(English)

 

 


   เรื่อง  ดรรชนี สุระเทพ      ภาพ  รัตนโชติ ประมวลทรัพย์,พิณญ์ธิชา จันทร์สุขศรี,ดรรชนี สุระเทพ

 

 

 

ทุนการศึกษาฉือจี้ ต้นกล้าแห่งความหวัง

20201115 cover

ทุนการศึกษาที่จิตอาสาฉือจี้เป็นสื่อกลางส่งมอบถึงมือน้อยๆ ของเด็กนักเรียนมากกว่าหนึ่งพันคน บรรจุด้วยความรัก ความห่วงใยและคำอวยพรจากผู้คนในสังคม เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย บรรเทาความเดือดร้อนของเหล่าผู้ปกครอง และสานฝันด้านการศึกษาแก่เหล่าต้นกล้าแห่งความหวัง

เนื้อหาอื่นๆ...