ค้นหาข่าว

ฤกษ์งามยามดี เปิดชั้นเรียน “เขียนพู่กันจีน คัดคัมภีร์ธรรม” อย่างเป็นทางการ

2 resize

 

1

มูลเหตุของชั้นเรียน “เขียนพู่กันจีน คัดคัมภีร์ธรรม”

ปีที่ผ่านมา จิตอาสาฉือจี้ ได้แก่ คุณบังอร แซ่เผิง คุณอู๋เหม่ยฮว๋า คุณเหอกุ่ยซิ่ง คุณหลู่กุ้ยหลาน และคุณไต้เหลียงเฟิน พูดคุยปรึกษาหารือในกรุ๊ปไลน์ “พลังใจไร้ขีดจำกัด” หลังจากได้ข้อสรุปร่วมกันแล้ว จึงเริ่มเชิญชวนจิตอาสาฉือจี้และผู้ที่สนใจมาร่วมชั้นเรียน “เขียนพู่กันจีน คัดคัมภีร์ธรรม” ในตอนบ่ายของทุกวันอังคารที่ 2 หลังกิจกรรมจิตอาสานาบุญ ทำความสะอาดสำนักงานมูลนิธิ และฟังธรรมะจากท่านธรรมาจารย์เสร็จสิ้นลง

หลังชั้นเรียนดำเนินไป 19 ครั้ง มีหลายคนเสนอความเห็นว่า ไม่สะดวกมาร่วมชั้นเรียนซึ่งจัดขึ้นในตอนบ่าย ดังนั้น จึงมีการปรับเปลี่ยนเวลาใหม่ โดยหลังจากเปิดชั้นเรียน“เขียนพู่กันจีน คัดคัมภีร์ธรรม”ครั้งแรกในวันที่ 26 มกราคม 2561 อย่างเป็นทางการแล้ว ชั้นเรียนดังกล่าวยังคงจัดไปอย่างต่อเนื่องในช่วงเช้าวันศุกร์ที่ 2 และวันศุกร์ที่ 4 ของทุกเดือน

“ชั้นเรียนเขียนพู่กันจีน คัดคัมภีร์ธรรม” เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการ หลังการนับ 3 2 1 ทุกคนต่าง “ตั้งจิตอยู่กับปัจจุบัน จดจ่ออยู่กับปลายพู่กัน” ในขณะที่เขียนตัวอักษรจีนตามรอยลายมือของท่านธรรมาจารย์ทีละตัวอักษร จนผ่านไปทีละย่อหน้า จากนั้นก็ผ่านไปทีละหน้า จิตใจก็หวนคิดถึงความวิริยะพากเพียร ความปีติในธรรมของท่านธรรมาจารย์เมื่อครั้งแรกเริ่ม อันเป็นคุณประโยชน์ ทำให้ทุกคนมีโอกาสมาร่วมกันคัดคัมภีร์ธรรม “อมิตตาสารัตถสูตร” ในวันนี้

 

2
คัดคัมภีร์ธรรม นำจิตใจสู่ความสงบ

คุณเหลียงจื้อหรง หนึ่งในผู้ร่วมชั้นเรียน บอกเล่ามูลเหตุของการเริ่มคัดคัมภีร์ธรรมของตนว่า พ.ศ. 2557 คุณไต้เหลียงเฟิน ผู้เป็นภรรยา ชี้แนะให้ตนคัดคัมภีร์ธรรมในบท “ปรัชญาปารมิตาสูตร” ซึ่งเป็นพระสูตรอันเป็นหัวใจแห่งปฏิปทาอันยวดยิ่งแห่งความรู้แจ้ง เพื่อตั้งจิตอธิษฐานให้คุณแม่ซึ่งป่วยอยู่ในขณะนั้น คุณเหลียงจื้อหรงจึงเริ่มรู้สึกถึงพลังของ “ความมั่นคง” และ “ความสงบ” ที่เกิดขึ้นขณะคัดคัมภีร์ธรรม

ทว่าด้วยมีสิ่งรบกวนบางอย่างอยู่ในจิตใจ จึงทำให้พลังดังกล่าว หายวับไปเพียงประเดี๋ยว ดั่งดอกราตรีที่บานชั่วแวบเดียว อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ในครั้งนั้น ถือเป็นโอกาสอันดีที่ได้ปลูกเมล็ดพันธุ์อันดีงามลงในจิตใจตน โดยครั้งแรกที่มาร่วมชั้นเรียนคัดคัมภีร์ธรรมในห้องรับรองของสถานธรรมจิ้งซือแห่งนี้ คุณเหลียงจื้อหรงรู้สึกซาบซึ้งใจอย่างไม่สามารถอธิบายได้ แม้ว่าจะมีเสียงรบกวนจากภายนอกห้อง แต่คุณเหลียงจื้อหรงก็สามารถเข้าถึงความสงบได้โดยใช้เวลาเพียงไม่นาน

 

3
มุ่งมั่นตั้งใจ ผลักดันชั้นเรียนคัดคัมภีร์ธรรม

จิตอาสาฉือจี้ คุณไต้เหลียงเฟินและคุณเหลียงจื้อหรง ช่วยกันผลักดันชั้นเรียน “เขียนพู่กันจีน คัดคัมภีร์ธรรม”ด้วยความกระตือรือร้น โดยก่อนวันของชั้นเรียน คุณไต้เหลียงเฟินคัดสรรสมบัติแห่งห้องหนังสือทั้ง 4 อันได้แก่ กระดาษ พู่กัน หมึก จานฝนหมึกด้วยความตั้งใจ รวมทั้งสร้างบรรยากาศภายในชั้นเรียน การเตรียมน้ำชาดับกระหาย และการเชิญชวนผู้คนมาร่วมชั้นเรียน เป็นต้น ทำให้รู้สึกได้ว่า ทุกคนจะได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่ากับทุกครั้งที่มาร่วมชั้นเรียน โดยเฉพาะการแบ่งปันหลังการคัดคัมภีร์ธรรมแล้วเสร็จ ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมชั้นเรียนทุกคนมีโอกาสแบ่งปันความรู้สึกของตน และความมุ่งมั่นจากของการเข้าร่วมชั้นเรียนนั้น ยังทำให้ทุกคนสัมผัสได้ถึงพลังในเชิงบวก และการเจริญปัญญาอย่างไม่หยุดหย่อน

ขอบคุณจิตอาสาฉือจี้ ที่ร่วมแรงร่วมใจผลักดันชั้นเรียน “เขียนพู่กันจีน คัดคัมภีร์ธรรม” ให้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการได้ในที่สุด ทุกคนล้วนถนอมโอกาสอันดี ร่วมใจอำนวยอวยพร ประชาสัมพันธ์ชั้นเรียนให้เป็นที่รู้จักในสังคมไทย และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในขณะที่จรดพู่กันเขียนทีละตัวอักษรนั้น จะทำให้เมล็ดพันธุ์แห่งความดีงามในจิตใจ เติบโตอย่างสง่างามไปพร้อมๆกัน

คุณเหลียงจื้อเหลียง ยังบอกเล่าเรื่องราวเมื่อ 1 ปีก่อนว่า อาจจะเป็นเพราะว่าในตอนนั้นยังไม่มีประสบการณ์มากพอ และไม่มีความพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ การจัดชั้นเรียนคัดภีร์ธรรมเมื่อครั้งแรกเริ่ม จึงไม่ค่อยเป็นระเบียบเรียบร้อยนัก แต่ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจและความยืนหยัดของจิตอาสาฉือจี้ ทำให้ชั้นเรียนคัดคัมภีร์ธรรมในครั้งนี้ เต็มไปด้วยบรรยากาศอันสง่างาม เปี่ยมไปด้วยความปีติในธรรม คุณเหลียงจื้อหรง แบ่งปันว่า “ก่อนหน้านี้ผมมักจะเห็นชั้นเรียนคัดคัมภีร์ธรรมของไต้หวันในทีวีหรือนิตยสารอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ผมรู้สึกประทับใจและคาดฝันไว้ นึกไม่ถึงเลยว่า ฉือจี้ในเมืองไทยจะมีชั้นเรียนคัดคัมภีร์ธรรมเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ทุกคนได้มาร่วมปีติในธรรมจากการคัดพระสูตร “อมิตตาสารัถสูตร” และหวังว่าผู้เรียนทุกท่านจะบอกต่อกิจกรรมดีๆนี้กับญาติสนิท มิตรสหาย ให้มาร่วมคัดคัมภีร์ เรียนรู้ธรรม เจริญสติปัญญาตน ซึ่งเป็นโอกาสที่หาไม่ได้ง่ายนัก  

4
คัดคัมภีร์ธรรม ฝึกบำเพ็ญจิตใจตน

จิตอาสาฉือจี้ คุณไต้เหลียงเฟิน แบ่งปันว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “ทุกคนล้วนสามารถบรรลุอรหันต์ได้ เพราะปุถุชนทั่วไปกับพระพุทธองค์นั้นล้วนเสมอภาค แล้วทำไมต้องบรรลุอรหันต์ เพราะการศึกษาธรรมะก็เพื่อรักษา “พุทธจิต” และความคิดของตนให้บริสุทธิ์ ท่านธรรมจารย์เจิ้งเอี๋ยน ก็คือภิกษุณีรูปหนึ่ง ท่านไม่เพียงสอนธรรมะ หากยังช่วยเหลือผู้คนมากมาย ยกระดับชีวิตครอบครัวผู้ยากไร้นับไม่ถ้วน ทำให้สังคมมีความสงบร่วมเย็นมากขั้น ฉะนั้น เราก็ควรศึกษาธรรมะ เสียสละเพื่อผู้อื่น สรรค์สร้างสังคมให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น”

แล้วความแตกต่างระหว่างจิตของพระพุทธเจ้ากับปุถุชนทั่วไปคืออะไร ปุถุชนทั่วไปมักจะมีกิเลสครอบงำ อันสะสมจากหลายภพหลายชาติ จนไม่สามารถหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้ ธรรมะ คือ การกล่าวถึงหลักของเหตุและผล ด้วยเหตุนี้ การบำเพ็ญตนจึงมิใช่หยุดเพียงในชาตินี้ หากต้องบำเพ็ญตนทุกภาพทุกชาติ และต้องคอยเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ขออย่าได้หลุ่มหลงในความสุขที่เกิดขึ้น เพราะทุกอย่างล้วนเป็นดั่งภาพลวงตา บางครั้งคุณอาจจะสุข บางครั้ง คุณอาจจะทุกข์ ซึ่งล้วนเป็นผลจากการกระทำ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเกิดขึ้นได้เสมอ

ตอนหนึ่งในพระสูตรอมิตตาสารัตถสูตร กล่าวไว้ว่า หากเราสร้างบุญสัมพันธ์อันดีต่อผู้อื่น เราก็จะมีกัลยาณมิตรที่ดี หนทางที่ก้าวเดินไปก็จะราบรื่น ประสบแต่ความสุขความเจริญ จิตใจไม่ถูกพันธนาการจากเรื่องราวในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต แล้วเราได้อะไรจากวลาที่ล่วงเลยผ่านไป ผู้คนทั่วไปอาจจะได้แค่ “ความว่างเปล่า” เพราะขาดการบำเพ็ญตน เช่น เรามักจะพูดเร็วเมื่อเวลาตื่นเต้น พูดเสียงดังเวลาโมโห ไม่พูดจาเวลาอารมณ์ไม่ดีหรือขุ่นเคืองใจ หรือพูดคุยสนทนาในระหว่างรับประทานอาหาร เดินเหินไม่ระมัดระวัง อย่างคนสมัยนี้ที่มักจะเล่นโทรศัพท์ไปในระหว่างเดิน สิ่งเหล่านี้เรียกว่า ใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ซึ่งบางครั้งก็เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ

เพียงแค่เราเตือนตัวเองอยู่ตลอดเวลา อยู่กับชีวิตในปัจจุบัน ดังวาทะจิ้งซือบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “ชีวิตเราขึ้นอยู่กับลมหายใจ ขอให้นำกายใจรวมเป็นหนึ่ง โดยการเรียนรู้ฝึกจิตใจให้ “นิ่งสงบ” การมาร่วมชั้นเรียนเขียนพู่กันจีน คัดคัมภีร์ธรรม จุดประสงค์เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงความสงบจากการคัดตัวอักษรจากพระสูตร สำรวจตนรู้ลมหายใจเข้าออก ฝึกจิตใจใหสงบ ละวางทุกสรรพสิ่ง สู่จิตอันเป็นอิสระ และในระหว่างชั้นเรียนขออย่าได้ฟุ่งซ่าน ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับคนที่อยู่ซ้ายขวา จนทำให้จิตเราไม่สงบ อย่ากังวลว่าจะเขียนสวยหรือไม่ เพราะการคัดคัมภีรธรรม ก็คือ หนึ่งวิธีฝึกจิตใจตน”

 

20180126-001-bylek resize

▲ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่ชั้นเรียน “เขียนพู่กันจีน คัดคัมภีร์ธรรม”

 

20180126-016-bylek resize

▲จิตอาสาฉือจี้ คุณลัดดา เจริญสวัสดิชัย (ซ้าย 1) คุณกวอซิ่วจู (กลาง) และคุณมนทิรา ติยะวัชรพงศ์ (ขวา 1) คัดคัมภีร์ธรรมด้วยความตั้งใจ

 

20180126-024-bylek resize

▲คัดคัมภีร์ธรรมนำจิตใจสู่ความสงบ ฝึกสติรู้ลมหายใจ  จิตตั้งมั่นไม่ฟุ้งซ่าน ปล่อยวางทุกสรรพสิ่ง สู่จิตอันเป็นอิสระ

 

20180126-063-bylek resize

▲จิตอาสาฉือจี้ คุณอู๋เหม่ยฮว๋าเชิญชวนผู้ร่วมชั้นเรียน แบ่งปันความรู้สึกจากการคัดคัมภีร์ธรรมหน้าชั้นเรียน

 

20180126-065-bylek resize

▲ทุกคนสวดมนต์ร่วมกัน หลังสิ้นสุดชั้นเรียนคัดคัมภีร์ธรรม

 

20180126-070-bylek resize

▲สมบัติแห่งห้องหนังสือทั้ง 4 อันได้แก่ กระดาษ พู่กัน หมึก จานฝนหมึก และที่คั่นหนังสือสำหรับใช้ในชั้นเรียน “เขียนพู่กันจีน คัดคัมภีร์ธรรม”

 

เรื่อง คุณเหลียงจื้อหรง คุณไต้เหลียงเฟิน คุณดรรชนี สุระเทพ   ภาพ คุณพิณญ์ธิชา จันทร์สุขศรี